อะไรคือสิ่งที่ Tech Ecosystem ไทยต้องการอย่างแท้จริง? | Techsauce

อะไรคือสิ่งที่ Tech Ecosystem ไทยต้องการอย่างแท้จริง?

ในทุกวงการมีองค์ประกอบที่ถูกรวมกันเรียกว่า Ecosystem หรือระบบนิเวศ ยกตัวอย่าง Ecosystem ที่เห็นเป็นรูปร่างได้ชัดเจนอย่าง วงการภาพยนตร์ ที่ประกอบไปด้วย นักแสดง ผู้กำกับ ค่ายหนัง ผู้จัดจำหน่าย โรงภาพยนตร์ สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ แม้กระทั่งงานประกาศรางวัลสำหรับภาพยนตร์ ในส่วนของวงการเทคโนโลยีเอง แน่นอนว่าย่อมต้องมี Tech Ecosystem แล้ว Ecosystem ที่ว่านี้ประกอบไปด้วยอะไร ใครมีบทบาทอย่างไร Tech Ecosystem ในประเทศไทยเป็นอย่างไร แล้วอะไรที่เรายังขาดอยู่?

Tech Ecosystem กับการเปิดใจและเปิดรับความร่วมมือ

ปัญหาของทุก Ecosystem ที่เห็นได้ชัดเจนคือ แต่ละส่วน แต่ละหน่วยงาน แม้จะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการช่วยเหลือผลักดันให้ Startup เติบโต แต่หลายครั้งยังสังเกตเห็นได้ว่า ต่างฝ่ายยังแยกกันทำงาน ขาดการเชื่อมโยง ขาดการส่งเสริมซึ่งกันและกัน หรือแม้กระทั่งยังทำงานที่ทับซ้อนกันอยู่ เมื่อเกิดช่องว่างขนาดใหญ่เช่นนี้ สิ่งที่ทุก Ecosystem ต้องการคือ Ecosystem Builder ที่รู้ว่าตนเองถนัดอะไร และทำหน้าที่ที่ตนเองถนัดอย่างแท้จริง เปิดใจและพร้อมเปิดรับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับศักยภาพของทั้งคอมมูนิตี้ให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

ในขณะที่ธุรกิจ Startup เราทราบดีว่า Startup ไม่สามารถที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ การที่จะทำให้ผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีนั้นเติบโตอยู่รอดได้ต้องการปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง ได้แก่ ความรู้ เงินทุน เครือข่ายพาร์ทเนอร์ เพื่อขยายตลาด

และยิ่งในบางอุตสาหกรรม Startup เองต้องขอสิทธิการสนับสนุนจากภาครัฐฯ​ โดยตรง ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น  FinTech บางหมวด มีเรื่องของการต้องตกลงกับผู้ออกกฏระเบียบ ถึงจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ ต้องเข้าไปทดสอบใน Regulatory Sandbox เป็นต้น   หรืออุตสหกรรมเฉพาะทาง อาทิ Health, Agriculture, Food ก็ต้องการห้อง Lab หรือศูนย์วิจัย ที่ให้ผู้ประกอบการเข้าไปทดสอบในสภาพแวดล้อมนั้นๆ เลยต้องพึ่งพาองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมดังกล่าว เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย Tech Ecosystem นั้นตื่นตัวมาสักพักใหญ่ๆ ประมาณ 6-7 ปี มีทั้ง Co-working space โครงการบ่มเพาะและให้ความรู้อยู่หลายแห่งตั้งแต่ระดับ Seed จนกระทั่ง Scale มี Ecosystem Builder หลายส่วนที่เกิดขึ้นมาตลอด 6-7 ปีนี้ แต่จะดีกว่ามากถ้าทุกส่วนทุกฝ่ายยอมร่วมมือกันผลักดันเพื่อให้ไปทิศทางเดียวกัน ลดการแบ่งสีแบ่งฝ่าย

ทำความรู้จักกับหน้าที่ของ Tech Ecosystem Builder

Tech Ecosystem Builder คือหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนและวางโครงสร้างพื้นฐานให้สังคมและคอมมูนิตี้สายเทคโนโลยีให้เติบโตอย่างแข็งแรงมากขึ้น และการสนับสนุนยังต้องสอดคล้องกับ Journey ของ Tech Startup ในแต่ละช่วงอีกด้วย ลองมาดูตัวอย่าง หน้าที่และบทบาทของ Ecosystem Builder

  • Incubator/ Accelerator : โครงการทั้งบ่มเพาะ และช่วยสนับสนุน Startup ในการดำเนินธุรกิจ
  • Venture Capital (นักลงทุน) : ช่วยเหลือด้านเงินทุน ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละ Stage ของ Startup ก็จะได้รับเงินลงทุนสนับสนุนในจำนวนที่แตกต่างกัน
  • Partnership : บริษัทใหญ่ซึ่งมีเครือข่ายและ Partner จำนวนมากรวมทั้งมีฐานลูกค้า และช่องทางการเข้าถึงตลาด จุดนี้จะสามารถช่วยให้ Startup Scale ได้อย่างก้าวกระโดด
  • Media (สื่อ) : สื่อต่างๆ ที่จะนำเสนอเรื่องราวทั้งแรงบันดาลใจ และถ่ายทอดข่าวสารให้วงการได้รับรู้ความเคลื่อนไหว
  • Coworking space  : พื้นที่ในการทำงานสำหรับธุรกิจ Startup และโอกาสที่จะได้พบเจอพาร์ทเนอร์จากกิจกรรมต่างๆ ที่ Coworking space จัดขึ้น
  • Government : รัฐบาลมีส่วนช่วยเรื่องของการกำกับดูแล และการออกกฏระเบียบที่เอื้อให้การทำธุรกิจ Tech Startup นั้นง่ายขึ้น
  • University/Academy : เน้นการให้ความรู้ทั้งความเป็นผู้ประกอบการ และการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Tech Startup

ตัวอย่าง Tech Ecosystem Builder ในต่างประเทศ

หนึ่งในตัวอย่างของ Ecosystem Builder ถ้าจะยกของที่สหรัฐฯ หลายคนอาจจะเริ่มเบื่อกันแล้ว คราวนี้เราพาไปทำความรู้จักจากฟากยุโรปกันบ้างดีกว่า กับ Station F ที่ให้นิยามไว้ว่า ‘ The World's Biggest Startup Campus ’

Station F ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็น Startup Hub หนึ่งที่สำคัญของภูมิภาคยุโรป ด้วยพื้นที่กว่า 34,000 ตารางเมตร ในพื้นที่ดังกล่าวประกอบไปด้วย โต๊ะทำงานกว่า 3000 โต๊ะ , Private offices , 60 ห้องประชุม และพื้นที่การจัด Event 8 จุด , ร้านอาหาร คาเฟ่ , ห้องอาบน้ำ เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

โดย Startup สามารถมาเช่าพื้นที่ในการทำงานได้ และมีโครงการสำหรับ Startup ถึง 26 โครงการที่อยู่ที่นี่ นำโดยบริษัทใหญ่ๆ เช่น Facebook ที่ได้มาตั้งโครงการที่ชื่อ Startup Garage Paris อย่างเป็นทางการที่นี่ โดยเน้นสนับสนุน Startup ที่เน้นสายการวิเคราะห์เดต้า เข้ามาบ่มเพาะที่นี่ภายในระยะเวลา 6 เดือน  นอกนั้นก็มีบริษัทอื่นๆเช่น Naver, Microsoft, L’Oréal เป็นต้น

ซึ่งนอกจากจะมานั่งทำงานในพื้นที่นี้และมีทรัพยากร เครื่องมือครบครันแล้ว สิ่งสำคัญคือโอกาสในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพราะได้อยู่ท่ามกลางผู้ประกอบการ และนักลงทุน ซึ่งนอกจาก Startup แล้วยัง มีนักลงทุนเข้ามาเปิดออฟฟิศอยู่ใน Station F ด้วย

Tech Ecosystem Builder ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในไทย

อย่างที่เราทราบว่าในประเทศไทย เราตื่นตัวในเรื่องของ Ecosystem กันมาหลายปี เราได้เห็นการเกิดขึ้นของ Incubutor, Accelerator ต่างๆ และ Corporate Venture Capital (นักลงทุนที่มาจากองค์กร) เป็นจำนวนมากที่ไม่ได้มาจากสายของธุรกิจด้านเทคโนโลยีโดยตรงอีกด้วย สำหรับใครที่คลุกคลีอยู่ในวงการน่าจะพอทราบกันแล้วว่าจะมีโครงการยักษ์ใหญ่เกิดขึ้นในกรุงเทพอย่าง True Digital Park ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยมีจุดยืนคือการเปิดรับความร่วมมือกับทุกฝ่ายแบบไม่แบ่งสี

ต้องจับตาดูกันว่าจะสร้าง Impact ใน Tech Ecosystem ของไทยได้อย่างไร และจะทำให้บ้านเราไปปักหมุดในเวทีโลกให้เป็นที่รู้จักมากน้อยแค่ไหน โดยในตอนนี้มีการเผยโฉมเว็บไซต์ออกมาให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างกันบ้างแล้ว คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.truedigitalpark.com

อ้างอิง

https://www.kauffman.org/entrepreneurial-ecosystem-building-playbook/ii-what-are-entrepreneurial-ecosystems#ecosystembuilders

http://www.truedigitalpark.com

https://stationf.co/

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...