การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ทำให้ HR ต้องเจอความท้าทายในการทำงานกับคนรุ่นใหม่อย่างชาว Millennial หรือ Gen Y ที่มี mindset และวิธีเรียนรู้แตกต่างกับคนยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง ทั้งประเด็นความชอบ ทักษะการเรียนรู้ และสมาธิในการจดจ่อต่อสิ่งหนึ่งในระยะเวลานานๆ HR จึงต้องงัดวิธีการใหม่เพื่อดึงความสนใจและเสริมทักษะแก่พนักงานยุคนี้!
ภายในงาน Thailand HR Tech Conference & Exposition 2018 ได้หยิบยกประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่าง Gen Y และการเรียนรู้แบบ 'Digital Learning' ขึ้นมาถกกันอย่างเข้มข้น โดยมีผู้ร่วมวงสนทนาอย่าง คุณอภิชาต ขันธวิธี Managing Director, QGen หรือเจ้าของเพจ 'HR the NEXT GEN', คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO บริษัท Techsauce Media และ คุณสุภศร รุ่งศรีพัฒนพร People Development Manager บริิษัท dtac ร่วมแชร์ความคิดเห็นถึงความสำคัญของ Digital Learning ต่อพนักงานยุค Millennial
คุณอภิชาต : การแบ่งคนช่วง Millennial คือ คน Gen Y นับตั้งแต่คนที่เกิดปี 1981 หรืออายุ 38 ปีลงมา จึงเป็นกลุ่มที่เริ่มเป็น middle manager ไปจนถึงเฟรชชี่ที่เข้ามาอยู่ในองค์กร
คุณสุภศร : เมื่อพูดถึง Digital Learning หรือ E-Learning จะมีสองส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ 1. เนื้อหาหรือ Content ที่เพิ่มสกิลทางดิจิทัล และ 2. อุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มที่เข้าถึงคนได้เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งหากพูดโดยสรุป Digital Learning ก็คือการนำ content ที่เหมาะกับยุคสมัย นำเสนอผ่านแพลตฟอร์มให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น
คุณอรนุช : ทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้ความรู้อยู่เยอะมาก พวกเนื้อหาบนออนไลน์ทำให้เราเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบของ vdo อย่างในต่างประเทศก็จะมี Udemy, Coursera ที่มีคอร์สเรียนออนไลน์ที่หาเรียนยากในเมืองไทย และเป็นความรู้ที่เราต้องคอยอัพเดทอยู่ตลอดเวลา คอร์สที่น่าสนใจ อย่างเช่นการทำ marketing แบบ Growth Hacking สมัยก่อนบ้านเราก็ยังไม่ค่อยมีคนสอน อย่างตอนนี้เรื่องที่กำลังได้รับความสนใจเช่น Data Science ก็ยังหาคนสอนในไทยไม่ง่ายนัก ข้อดีของมันคือเราสามารถเรียนได้ผ่านออนไลน์ สำหรับรายที่มีงบจำกัด ไม่ต้องบินไปเรียนไกล
คุณอภิชาต : สกิลพวกนี้มาเร็วมาก ซึ่งความรู้ในหนังสือมันไม่ Up-to-date แล้ว พอมันมี E-learning เข้ามาจึงมีผลต่อการเรียนรู้ของคนในบ้านเรามากขึ้น
คุณสุภศร : ด้วยความที่เราต้องการเป็น digital brand เราจะดูว่าพนักงานต้องมีสกิลอะไรบ้าง แล้วเราก็มีการทำลิสต์แนะนำให้พนักงานว่า ควรไปดูหรือศึกษาอะไร และสามารถหาได้จากที่ไหน นอกจากนี้เราก็มีเนื้อหาจาก Telenor Group มาลงในแอปพลิเคชันของบริษัทเพื่อให้พนักงานเรียนรู้ได้แบบง่ายๆ อีกวิธีคือเราไป partner กับที่ที่มีหลักสูตรเหมาะกับเรา
คุณอรนุช : จริงๆ แล้วบริษัทใหญ่ๆ ก็มีการปรับตัวในเรื่องนี้มาก จากที่เราเห็นคือเขาอยากจะเข้าใจ Startup มาก จนไปเข้าเรียนโปรแกรมเดียวกับ Startup และมาถ่ายทอดให้กับทีมงานในบริษัท เพื่อให้สามารถคุยภาษาเดียวกันกับ Startup ได้
คุณอภิชาต :
ตอนเข้าไปทำงานแรกๆ 10 กว่าปีที่แล้ว เรียนเทรนนิ่งในห้องเรียนธรรมดา เนื้อหายาวเป็นชั่วโมง แต่ปัจจุบันมี digital platform ที่เข้ามาเป็นตัวช่วย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือตัว content ที่บริษัทนำเสนอ ซึ่งเนื้อหามันสามารถวางไว้ได้ในหลายแพลตฟอร์ม เราต้องดูว่า Gen ไหนเหมาะกับแพลตฟอร์มไหน แน่นอนว่า Millennial ก็ต้องเหมาะกับแพลตฟอร์มดิจิทัล ด้วยความที่มีสมาธิสั้นลง เนื้อหาต้องเร็ว สั้น กระชับ รูปแบบต้องมีจุดแทรกเล็กๆ แบ่งเป็นตอนๆ มี agenda ชัดเจนว่าดู 3 นาทีนี้แล้วจะได้อะไร millennial มีความเอาแต่ใจตัวเองอยู่พอสมควร และต้องการความสนุกสนานในการเรียนรู้ ถ้าบริษัททำได้ ก็จะช่วยให้เกิดความต้องการเรียนรู้โดยอัตโนมัติ
คุณสุภศร : แต่ก่อน HR จะเป็นคนวางให้ว่าพนักงานจะต้องเรียนอะไรบ้าง แต่ตอนนี้เราให้พนักงานเลือกเองว่าอยากเรียนอะไรบ้าง เพียงขอความร่วมมือให้เรียนออนไลน์ 40 ชั่วโมง พอพนักงานสามารถเลือกเองได้เขาก็จะมี commitment และอยากเรียน และรู้สึกว่าเขาเรียนเพื่อตัวเอง ไม่ใช่เพื่อบริษัทอย่างเดียว
คุณอรนุช : นอกจากการเรียนแบบ one-way ตอนนี้เทรนด์คือจะมีการสื่อสารสองทางมากขึ้น อย่างที่ออฟฟิศเราก็นำ Workplace by Facebook มาใช้ เป็นกรุ๊ปแยกในเรื่องทำงานไม่ปนกับของส่วนตัว แยกหมวด Knowledge sharing ได้ โดยจะมีทีมที่คอยแชร์ว่า สัปดาห์นี้เราจะแชร์เรื่องอะไร ทุกๆ ความรู้เราจะมีการเก็บบันทึกเอาไว้ สำหรับหยิบใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ถือเป็นเครื่องมือแบบง่ายๆ ที่เอามาใช้ในบริษัท
คุณอรนุช :
วัฒนธรรมองค์กรเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด รวมถึงพนักงานก็อยากจะเห็น career path ที่ชัดเจน สิ่งที่สำคัญคือเรื่องความยืดหยุ่นเรื่องเวลาการมาทำงาน เราไม่ได้ตรวจเช็คเวลาอะไรขนาดนั้น แต่เน้นที่ output ของงาน
เราให้ความสำคัญกับ 'คำถามและคำตอบ' โดยจะพยายามหาโอกาสพบเจอกับน้องๆ ในทีม เพื่อพูดคุย และฟังสิ่งที่เขาพูดให้มากที่สุด ไม่เน้นว่าเราอยากให้เขาทำอะไร แต่จะฟังว่าในอีก 4-5 ปี เขาอยากทำอะไร การที่พนักงานมาทำงานกับบริษัทเราก็เหมือนเป็น partner กัน เขาอยากทำงานที่นี่เพราะอยากพัฒนาทักษะ เราเปิดกว้างให้เขาถามและพร้อมที่จะตอบ แต่ที่ทำได้เพราะยังเป็นองค์กรขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่อาจจะทำไม่ได้ขนาดนี้ที่เราจะไปนั่งคุยกับทุกคนได้หมด ซึ่งก็ต้องมีทีม Middle Management ที่ถ่ายทอดแนวคิดและวัฒนธรรมตรงนี้ให้กับพวกเขาได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อพูดคุยกับพนักงานที่เป็นน้องๆ รุ่นใหม่ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวัฒนธรรมองค์กร ที่หลอมรวมระหว่างหัวหน้าและน้องๆ ในทีม
คุณสุภศร : เราต้องมีตรงกลางก่อนว่า เป้าหมายของบริษัทคืออะไร อย่างในส่วนของคน non-tech ก็จะต้องปูความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดิจิทัลสักหน่อย และเพิ่มในส่วนของ soft skill เช่น collaboration skill การทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือ critical thinking ที่เหมาะกับการทำงานในยุคดิจิทัล ขณะที่ฝั่งคนที่เป็น tech อยู่แล้ว เราก็ให้เรียนออนไลน์และปรึกษากับเขาเพื่ออัพเดทเทรนด์ต่างๆ พร้อมเสริมเรื่องของ Soft skill ด้วย
คุณอภิชาต : สิ่งนี้จะแสดงผลจริงๆ เมื่อมี action เกิดขึ้น การทำงานร่วมกันและทำโปรเจคร่วมกัน คือการเอาความรู้ที่มีมาใช้จริง พอมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ soft skill มันไม่ได้สอนกันง่ายๆ ซึ่งสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับคาแรกเตอร์ของแต่ละคน สำหรับบางคนเราอาจจะต้องคอยช่วยเสริมและดึงความสามารถออกมา สำหรับบางคนสามารถทำได้เอง เพราะฉะนั้น soft skill จะต้องมีคนคอยแนะนำ เราจึงไม่สามารถยกทุกอย่างลงไปอยู่ในแพลตฟอร์มดิจิทัลได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด