เปิดตำรา ESG สำหรับ Startup ไปกับ AIS พลิกโฉมแนวคิดต่ออนาคตธุรกิจความยั่งยืน ที่ไม่เป็นเพียงแค่กระแส | Techsauce

เปิดตำรา ESG สำหรับ Startup ไปกับ AIS พลิกโฉมแนวคิดต่ออนาคตธุรกิจความยั่งยืน ที่ไม่เป็นเพียงแค่กระแส

ESG กลายเป็นหนึ่งใน Buzzword ที่มีคนพูดถึงมากพอๆ กับ AI โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ แค่บริษัทชั้นนำในไทยก็มีผู้บริหารถึง 34% ที่นำแนวทางนี้ไปใช้กับธุรกิจของตนเอง และหากมองถึงภาพใหญ่ในระดับโลก ESG ก็อยู่ในกระแสหลักด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างที่เด่นชัดมากที่สุดคือ Microsoft บริษัทเทคฯที่ผลักดันแนวทางนี้ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินงานของบริษัท จนได้รับคะแนนสูงที่สุดจาก Sustainalytics องค์กรผู้ให้คะแนนบริษัทด้านความยั่งยืนระดับโลก 

แล้วทำไมบริษัทมากมายต้องให้ความสำคัญกับ ESG ? โดยเฉพาะกลุ่ม Startup และผู้ประกอบการ Tech SME ซึ่งบทความนี้ Techsauce ชวนคุยกับ ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS StartUp ผู้จัดโครงการ ESG to Capital for Tech Entrepreneurs โครงการที่ช่วยเสริมแกร่งให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพมีความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หลักการด้าน ESG ในการดำเนินธุรกิจอันเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะได้รับความเชื่อมั่น และพร้อมทางการแข่งขันในตลาดทุน

ความเข้าใจผิดของผู้ประกอบการ Tech SME และ Startup ต่อ ESG 

“สิ่งที่ Stakeholder สนใจ แต่คือความเสี่ยงในการบริหารจัดการองค์กร” - ดร.ศรีหทัย พราหมณี

ความดีคือสิ่งที่ทุกธุรกิจควรมี แต่ประเด็นหลักที่ Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า นักลงทุน รัฐบาล ฯลฯ ให้ความสนใจไม่แพ้กันคือ ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจในทุกด้าน

ดร.ศรีหทัย ชี้ว่าแนวทาง ESG คือการบอกกับ Stakeholder ถึงวิธีการที่ธุรกิจบริหารความเสี่ยงใน 3 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ AIS The StartUp ต้องการทำให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจมากที่สุด เพราะมีความสำคัญต่อการดำเนินการด้าน ESG อย่างมาก

ตัวอย่างเช่น มี 2 ธุรกิจที่อยากเริ่มดำเนินการตามหลัก ESG 

  • ธุรกิจที่ 1 ใช้วิธีการแยกขยะ ตั้งถังขยะหลากสีในสำนักงาน
  • ธุรกิจที่ 2 เลือกกระจายความเสี่ยงใน Supply chain ผลิตสินค้าจากโรงงานหลายพื้นที่ หากพื้นที่ไหนประสบปัญหาจะได้ไม่กระทบธุรกิจมากนัก

หากคุณเป็น Stakeholder คุณมองว่าธุรกิจไหนจะตอบโจทย์คุณได้มากกว่ากัน? ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจที่ 2 ย่อมเป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณมองเห็นวิธีรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรมมากกว่า 

หรือในกรณีของสหรัฐฯ ที่มีการคว่ำบาตรบริษัท 117 แห่งที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ สินค้าที่ผลิตโดยบริษัทเหล่านี้จึงถูกระงับไม่ให้เข้าสู่สหรัฐอเมริกา ทำให้มีมูลค่าความเสียหายกว่า 826 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) จากการบริหารจัดการด้านสังคมได้ไม่ดีเพียงแค่มิติเดียวเท่านั้นจากทั้งหมด 3 มิติ

เห็นได้ชัดว่าความเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อเสถียรภาพและการเงินของธุรกิจ รวมถึงส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจของ Stakeholder ไม่ว่าจะเป็นการ ตัดสินใจลงทุน โอกาสของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจทำธุรกิจร่วมกัน ดังนั้นแนวทาง ESG ในปัจจุบันมันจึงอาจไม่ใช่เพียงแค่สิ่งที่ควรทำ แต่กลายเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องทำ

ทำไมทุกคนล้วนพูดถึง ‘ESG’ แค่กระแสหรืออนาคตของธุรกิจไทย ?

จากตัวอย่างข้างต้นจะพบว่า ESG จะกลายเป็นหนึ่งใน Business Strategy ที่สำคัญต่อธุรกิจไทยในอนาคต เพราะปัจจุบันโลกธุรกิจให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง การลงทุน และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ESG ดังนั้นหากธุรกิจไทยไม่เตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ โอกาสของธุรกิจไทยในเวทีโลกหรือแม้แต่ในไทยเองก็อาจถูกบริษัทต่างชาติเข้ามาแทนที่ได้

ดร.ศรีหทัย ชี้ว่ามี 3 ข้อสำคัญซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ ESG และอาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญหากพวกเขาไม่ได้รับข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่

  1. Funding & Investments: ปัญหาหลักที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการเงิน ได้แก่ ทรัพยากรที่จำกัด (งบประมาณ เวลา และบุคลากร) และขาดกรอบการวัดผลที่ครอบคลุม 
  2. Business Opportunity: โอกาสทางธุรกิจซึ่งต้องการเทคโนโลยีเป็นตัวเร่งที่ช่วยให้เกิดการเติบโตของรายได้และกำไร 
  3. Trend ahead the Trends: แนวโน้มของ ESG จะไม่หยุดอยู่แค่ Sustainability แต่จะไปถึง reGeneration (การฟื้นฟูและต่อยอดให้ดีขึ้น) และต้องตระหนักถึงความต้องการของ Stakeholder เป็นหลัก

ในปัจจุบันธุรกิจที่มีความรู้ความเข้าใจ 3 ข้อนี้ส่วนมากเป็นธุรกิจในระดับ Corporate เพราะเป็นธุรกิจใหญ่ที่มีพร้อมทั้งทรัพยากรเงินและทรัพยากรบุคคล บางบริษัทมีการจัดตั้งแผนกที่ทำเกี่ยวกับเรื่อง ESG โดยเฉพาะเลยด้วยซ้ำ 

แต่ในความจริงแล้วใน Supply chain ไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจใหญ่เท่านั้น ยังมี SME, Startup และผู้ประกอบการมากมายที่ยังไม่มีความเข้าใจและไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และวิธีการเปลี่ยนผ่านสู่ ESG ได้

AIS The StartUp เห็นว่าช่องโหว่เหล่านี้อาจกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ให้กับธุรกิจและเศรษฐกิจไทยในอนาคต จึงต้องการผลักดันและสนับสนุนการทำงานของผู้ประกอบการ Startup และ Tech SMEs ไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดที่สร้างการเติบโตแบบร่วมกันหรือ “Partnership for Inclusive Growth” ซึ่งเป็นแนวทางที่มุ่งนำขีดความสามารถของดิจิทัลโครงข่าย เทคโนโลยีแพลตฟอร์มจาก AIS เข้าไปเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจ

ESG to Capital for Tech Entrepreneurs โครงการอุดรอยรั่วเพื่อธุรกิจยั่งยืน

“เพราะ Next Step ของผู้ประกอบการ Startup ไทยจะต้องก้าวจากการผลิตสินค้าที่ดี ไปสู่การเป็นบริษัทที่ดี” -  ดร.ศรีหทัย พราหมณี

ESG to Capital for Tech Entrepreneurs หรือโครงการที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน ESG ให้แก่ผู้ประกอบการ Startup ไทยสายเทคฯ โดยมีจุดหมายสำคัญคือ สร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจยั่งยืน เสริมศักยภาพในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการลงทุน  และต่อยอดให้ธุรกิจพร้อมแข่งขันและเติบโตในตลาดโลกได้ 

เพราะ AIS The StartUp เชื่อว่าหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการ Startup เติบโตได้อย่างยั่งยืนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินทุนเท่านั้น แต่ทักษะ องค์ความรู้ เครื่องมือด้านดิจิทัล โซลูชัน หรือแม้การเข้าถึงตลาดและฐานลูกค้า ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน 

โดยโครงการนี้จะดำเนินการอย่างเข้มข้นในระยะเวลา 3 เดือนเต็ม ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ ESG รวมถึงได้นำไปลงมือทำโดยมีที่ปรึกษามากประสบการณ์จากโครงการคอยดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้โครงการ ESG to Capital for Tech Entrepreneurs ยังมีอีก 2 จุดเด่นที่สำคัญ ได้แก่

1. Special Speaker ที่มีประสบการณ์จริงจากภาคธุรกิจและรัฐบาล มารวมแบ่งปันองค์ความรู้แขนงต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในประเด็นด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักการ ESG ผ่านการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup Association) 

อาทิ คุณอนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน, ดร.เอื้อมพร ปัญญาใส  CEO บริษัท Pacific Pipe (ดำเนินการด้าน ESG ได้ แม้เป็นบริษัทที่ทำงานกับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน), ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, และท่านอื่นอีกมากมาย

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ทั้งในมุมมองภาพใหญ่ในเชิงนโยบายของภาครัฐด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน, ทิศทางการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุน Startup และการเติบโตขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ 

2. Connetion จากหลายอุตสาหกรรม เพราะโครงการนี้รวมผู้บริหารและบุคลากรจากองค์กรชั้นนำเพื่อมาแบ่งปันและร่วมสะท้อนปัญหาและความสำคัญในการนำ ESG เข้าไปเป็นหนึ่งในกระบวนการทำงานของธุรกิจ ผู้เข้าร่วมโครงการจึงมีโอกาสได้เชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้คนต่างอุตสาหกรรมมากมาย

ด้วยการจัดโครงการนี้ AIS The StartUp คาดหวังว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับธุรกิจไทย และเติบโตไปพร้อมกันหรือ Partnership for Inclusive Growth ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานที่ AIS The StartUp ยึดถือมาโดยตลอด 

แนวทางดังกล่าวจะสามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการมีรากฐานในการดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ด้าน ESG ที่มีจะส่วนสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยง เตรียมความพร้อม และเปิดประตูโอกาสการเข้าสู่ตลาดทุนและขยายขนาดการเติบโตขององค์กร (Scale up) ได้ต่อไป

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุป AI อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย Eric Grimson ศาสตราจารย์จาก MIT

ภายในงาน MIT Bangkok Symposium - Unleashing AI: Transforming Industries, Empowering Futures ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร. Eric Grimson อธิการบดีฝ่ายวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลย...

Responsive image

รู้จักเทรนด์ Brand Chem กลยุทธ์ TikTok 2025 การตลาดที่ต้อง ‘เป็นเพื่อน’ กับผู้บริโภค

สำรวจ TikTok What's Next Report 2025 และแนวคิด Brand Chem ที่เปลี่ยนการตลาดด้วยความร่วมมือระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และชุมชน TikTok พร้อมเทรนด์สำคัญที่ขับเคลื่อนปี 2025...

Responsive image

ชี้เป้า 5 เทรนด์การใช้ AI (Agent) พาธุรกิจโต ในปี 2025 โดย Salesforce

เผยแนวโน้มการใช้ AI เพื่อสร้างการเติบโตด้านรายได้ให้ธุรกิจ และอัปเดตความก้าวหน้าในการพัฒนา AI Agent ให้ทำงานได้อัตโนมัติ (Autonomous) โดย Salesforce...