ทำไม InsurTech จึงสำคัญ? | Techsauce

ทำไม InsurTech จึงสำคัญ?

'ประกัน' เป็นธุรกิจที่อยุ่ในบ้านเรามาอย่างยาวนาน การที่โลกเข้าสู่ยุค Digital Transformation ส่งผลธุรกิจประกันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คนยุคใหม่ หรือที่เราเรียกว่า Millennial มองธุรกิจประกันต่างกันคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ด้วยความต้องการในชีวิต การดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน

เชื่อหรือไม่ว่า วัยรุ่นเกาหลี (Millennial) นั่งคุยกันด้วยประโยคที่ว่า "ประกันตัวนี้มาใหม่ เห็นหรือยัง?" "ประกันตัวนี้น่าสนใจมากนะ" ทำไมเรื่องประกันการเป็น Topic ในวงสนทนาของพวกได้? แล้วคนไทยยุค Millennial นั่งคุยเรื่องอะไรกันอยู่ ทำไมประกันจึงมีความสำคัญ?

รู้จักกับ InsurTech

ช่วงไม่นานนี้ คำหนึ่งที่สร้างความตื่นตัวให้กับวงการประกันทั่วโลกคือคำว่า InsurTech

InsurTech มาจากคำว่า Insurance และ Technology  ซึ่งก็คือการนำเทคโนโลยีมาช่วยในอุตสหกรรมการประกัน ให้สะดวกมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น

ในต่างประเทศ InsurTech ได้รับความสนใจอย่างมากโดยผู้บริโภคในยุค Millenial เป็นผลจากรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งการครอบครองทรัพย์สินขนาดใหญ่อย่างรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่น้อยลง รวมถึงยังเดินทางและดูแลสุขภาพได้มากขึ้น จึงทำให้ประกันภัยรูปแบบเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์ความคุ้มครองของพวกเขาอีกต่อไป ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ดีและเข้าถึงง่ายมากขึ้น จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเงื่อนไขด้านความต้องการที่เปลี่ยน เพื่อให้คนกลุ่ม Millenial ได้รับบริการประกันภัยที่เหมาะสมที่สุด

แล้วประเทศไทย InsurTech เดินไปในทิศทางไหน?

เพื่อให้เห็นภาพความสำคัญชัดเจนมากขึ้น ทาง Techsauce จึงถือโอกาสพูดคุยกับ คุณนาเดีย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center จากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ถึงความจำเป็นที่บ้านเราต้องมี InsurTech เกิดขึ้นกัน

ทิศทางของ InsurTech ในปัจจุบันในประเทศไทยเป็นอย่างไร

คุณนาเดีย: ถ้ามองภาพกว้าง InsurTech จะมี 2 ส่วนหลักๆ คือ InsurTech ที่เกี่ยวข้องกับ 'ประกันภัย' และ InsurTech ที่เกี่ยวข้องกับ 'ประกันชีวิตและสุขภาพ' ในการทำผลิตภัณฑ์ประกันก็ต้องดูเรื่องความคุ้มครองและ Pain Point มาตั้งต้น จากนั้นค่อยเอาเทคโนโลยีมาเสริมว่า ลูกค้าจะเข้าถึงตัวประกันในแบบที่เขาต้องการได้อย่างไรบ้าง และก็สามารถทำให้ความคุ้มครองมันปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการได้อย่างไรบ้าง ถ้าพูดถึงแล้ว InsurTech ในประเทศไทยยังมีน้อยมาก จึงเป็นที่มาให้เมืองไทยประกันชีวิตจัด Hackathon โดยอยากให้กลุ่ม Millennial ที่เป็นผู้ใช้ในอนาคตมาร่วมกันพัฒนาไอเดียต่อไป

ในต่างประเทศมี InsurTech อะไรบ้างที่เป็นตัวอย่างให้เราเห็นภาพชัดเจน

คุณนาเดีย: ในต่างประเทศมี InsurTech เด่นๆ มากมาย อย่างในสหรัฐฯ มี Lemonade บริษัทประกันด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยีลดขั้นตอน ดำเนินการแบบ Paperless หมดเลย มีแอปพลิเคชันคำนวณเบี้ยประกันด้วย AI และ Geometric เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่และลักษณะของคนนั้นๆ เช่นหากคุณอยู่ในรัฐที่มีแผ่นดินไหวบ่อย ระบบก็จะแนะนำประกันทรัพย์สินสำหรับแผ่นดินไหวให้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Zhong An ในประเทศจีน ที่เริ่มจากประกันการเดินทางด้วยขั้นตอนซื้อจนถึงเคลมที่สะดวกกว่า ราคาถูกกว่า และเป็นออนไลน์ทั้งหมด ลูกค้าสามารถซื้อประกันเดินทางพร้อมกับตั๋วเครื่องบินได้เลย หากเครื่องบินเกิดดีเลย์ระบบก็จะส่งเงินชดเชยให้ทันที ทำให้ได้รับความนิยมมากๆ จน Zhong An สามารถขยายธุรกิจไปทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพได้

ทำไม InsurTech จึงมีสำคัญในเวลานี้

คุณนาเดีย: อย่างที่เรียนไปตอนต้นว่า InsurTech มีทั้งสำหรับประกันทรัพย์สินและประกันชีวิตกับสุขภาพ ซึ่งประกันสุขภาพเป็นประกันที่มีความสำคัญอย่างมาก อย่างประกันชีวิตที่พูดกันว่าคนซื้อไม่ได้ใช้ แต่ประกันสุขภาพเนี่ย คนซื้อได้ใช้เองแน่นอน

“การไม่มีประกันสุขภาพเป็นสาเหตุที่ทำให้คนล้มละลายในสหรัฐอเมริกา เพราะค่าใช้จ่ายที่ตามมาหลังรักษาพยาบาลจะสูงมาก และประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุเป็นอันดับที่ 2 รองจากญี่ปุ่นในเร็วๆ นี้ ประกันสุขภาพจะช่วยลดภาระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายและการดูแลต่างๆ ด้วย”

ประกันสุขภาพเป็นที่นิยมมากสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ประเทศเกาหลีใต้ เพราะวิถีชีวิตเขาเปลี่ยนไป เขาเป็นคน Millennial ที่แต่งงานกันน้อยลง มีลูกกันน้อยลง จึงต้องพึ่งตัวเอง และเขารับรู้ว่าประกันสุขภาพช่วยไม่ให้เขาล้มละลายเมื่อป่วยได้

InsurTech จะทำอย่างไรให้คนสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้ง่ายขึ้น Pain Point ที่เห็นตอนนี้ก็คือ เงื่อนไขมันเยอะ แล้วมันยากจนต้องมีคนมาอธิบาย คนรุ่นใหม่เองก็อยากจะทำความเข้าใจด้วยตัวเอง เราก็ควรเปิดโอกาสให้เขาเข้ามาระดมไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง

ด้วยเหตุนี้ เมืองไทยประกันชีวิตจึงอยากชวนชาว Millennial มาช่วยกันแชร์ Pain Point และพัฒนาไอเดียในงาน Hackathon เพื่อให้ทุกคนช่วยพัฒนา InsurTech ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย

MTL Hackathon : Insurance 4 Millennial สร้าง InsurTech เพื่อแก้ปัญหาธุรกิจประกันภัยในยุค Millennial

จากความสำคัญของ InsurTech ที่กล่าวมาทั้งหมด เมืองไทยประกันชีวิตจึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET), Hubba Thailand และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน MTL Hackathon : Insurance 4 Millennial เพื่อเฟ้นหาและสนับสนุนไอเดียด้านเทคโนโลยีประกันภัยหรือ InsurTech ให้เกิดขึ้นเพื่อชาว Millennial ในประเทศไทย

งานนี้เปิดรับสมัครผู้สนใจหลากหลายสาขา ทั้งการเงิน ธุรกิจ นักออกแบบ UX หรือ UI ไปจนถึง Web Developer ที่มีไอเดียนำเสนอประกันภัยที่ตอบโจทย์คนกลุ่ม Millennial ทั้งด้าน Product, Channel และ Engagement ใครที่เสนอไอเดียโดนใจคณะกรรมการจะได้รับรางวัลดังต่อไปนี้

  • รางวัลที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมทริป Startup Ecosystem Tour ที่ประเทศสิงคโปร์
  • รางวัลที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท
  • รางวัลที่ 3 ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับเมืองไทยประกันชีวิต ได้ร่วมพัฒนาโครงการในอนาคตกับ Fuchsia Innovation Centre และได้รับสนับสนุนโครงการจาก Fuchsia VC ด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ โดยติดตามรายละเอียดการสมัครได้ที่ Facebook – MTL Hackathon: Insurance 4 Millennials ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2561

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สื่อสารการตลาดยุคใหม่ต้องทำยังไง ‘ให้ได้ใจคนฟัง’ สรุปเทรนด์ Marketing Communication ในอนาคต

ฟัง Session ‘เทรนด์ Marketing Communication ในอนาคต’ โดยคุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร จาก SCBX และคุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ จาก Dentsu ที่มาแชร์มุมมองและแนวทางการปรับตัวสำหรับแบรนด...

Responsive image

5 เหตุผล ทำไมอินโดนีเซีย ดึงดูดนักลงทุนมากกว่าไทย?

บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึก 5 เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก และพร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...

Responsive image

6 เทคนิคใช้ AI ยกระดับธุรกิจ SME ให้โดดเด่นและติดตลาดไว

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันกันอย่างดุเดือด การสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณ อย่างไรก็ตามป...