ทำไมสตาร์ทอัพถึงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมสินเชื่อบ้านได้ | Techsauce

ทำไมสตาร์ทอัพถึงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมสินเชื่อบ้านได้

สินเชื่อบ้านคือสิ่งหายากที่บริษัทสินเชื่อออนไลน์ทุกแห่งต่างอยากได้ เพราะมียอดสินเชื่อขนาดใหญ่ มีการคืนเงินอย่างมีวินัยและมียอดค่าธรรมเนียมสูง นอกจากนั้นตลาดยังมีสภาพคล่องมากพอสำหรับสินเชื่อหลักทรัพย์ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและดึงดูดนักลงทุนสิ่งที่ต้องการจะบอกก็คือ บริษัทปล่อยสินเชื่อนั้นไม่ได้มีสิ่งใดที่เป็นนวัตกรรมเลย นั่นหมายความว่ายังมีโอกาสให้เราเข้าไปพัฒนาวงการนี้ได้อีกมากแล้วเพราะเหตุใดสตาร์ทอัพถึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสินเชื่อบ้านได้? หลายคนคงคิดว่า “บริษัทสินเชื่อมันมีเยอะมากเลยนะ” ซึ่งมันก็เยอะมากจริงๆ แต่หากลองเปรียบเทียบแต่ละบริษัทดูแล้ว บริษัทที่ทำได้ดีและได้รับความสนใจก็ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมาก house-loan-ql ตัวอย่างเช่น บริษัท Quicken Loans ที่เป็นบริษัทสินเชื่อขนาดใหญ่ จัดการยกเครื่องกระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่ทั้งหมด ทำให้มีความคล่องตัวและง่ายต่อการใช้งาน แต่ก็ยังต้องประสบปัญหาเพราะจำนวนลูกค้ากลุ่มที่ซื้อบ้านครั้งแรกมีมากเกินไป ทำให้ระบบใหม่รองรับลูกค้าที่ถาโถมเข้ามาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งสถานการณ์นี้ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากโฆษณาใน Super Bowl ออกฉาย ในกรณีนี้ หากเป็นสตาร์ทอัพขนาดเล็กรายใหม่ๆ อาจจะไม่รอดจากปัญหาแบบเดียวกันที่เกิดกับ Quiken Loans ก็เป็นได้ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอีกมากมายที่เริ่มต้นใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมากจากหลายฝ่าย แต่ก็เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับบริษัททั้งหมดที่อยู่ในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย 

เราลองไปดูบริษัททางเทคโนโลยีอื่นๆ ดูบ้าง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าพวกเขาทำได้ดีทีเดียว ถึงแม้ว่าข้อมูลที่เขานำมาแบ่งปันนั้นมีไม่มากแต่ก็น่าจะทำให้เห็นภาพได้พอสมควร - Nick Stamos CEO ของ Sindeo ตั้งเป้าว่าจะระดมทุนให้ได้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2016 - Lenda ปล่อยสินเชื่อได้ 60 ล้านเหรียญฯ ตั้งแต่เปิดบริษัทมาตลอดช่วง Summer 2014 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2015 - จากบทความในนิตยสาร Forbes ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2015 บริษัท SoFi ปล่อยสินเชื่อได้ 50 ล้านเหรียญฯ ต่อเดือน หรือประมาณการเป็น 600 ล้านเหรียญฯ ต่อปี ซึ่งคาดว่าขณะนี้บริษัทน่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ตอนนั้น การขายสินเชื่อบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ควรจะภาคภูมิใจกับความสำเร็จที่ทำได้ แต่ลองหากลองดูข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบกับข้อมูลพนักงานสินเชื่อ 200 อันดับแรกของสหรัฐฯ ประจำปี 2015 แล้วล่ะก็ เราคงจะเห็นภาพความเป็นจริงมากขึ้น

เพราะพนักงานสินเชื่ออันดับแรกสุดสามารถปล่อยสินเชื่อได้เกือบ 645 ล้านเหรียญฯ ซึ่งมากกว่าที่ SoFi ทำได้ทั้งปีเสียอีก ส่วนพนักงานปล่อยสินเชื่ออันดับที่ 64 ของประเทศสามารถปิดยอดได้มากกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถ้าเทียบในเชิงบริษัท บริษัท Lenda ก็จะอยู่ในอันดับที่ 65 และ 40 อันดับจากท้ายนั้น ลำดับที่ 161-200 สามารถปิดยอดได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญฯในปี 2015 ซึ่งมากกว่าที่ Sindeo ตั้งเป้าไว้เสียอีก ผู้เขียนกำลังจะชี้ให้เห็นอีกมุมมองหนึ่งว่า บริษัทที่ยกตัวอย่างมานั้นล้วนเป็นบริษัทที่สร้างระบบการใช้งานใหม่ๆ ซึ่งมอบประสบการณ์อันแสนวิเศษให้กับลูกค้า รวมถึงมีแผนการตลาดที่แข็งแรงและมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วย  แต่คำถามคือทำไมถึงยังไม่สามารถเอาชนะพนักงานขายสินเชื่อเพียงคนเดียวได้ โดยเขาแบ่งผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านออกเป็น 3 ประเภท และแต่ละประเภทก็เผชิญกับปัญหาใหญ่ที่แตกต่างกัน

การเข้าสู่ตลาด 3 รูปแบบ

สินเชื่อบ้านเป็นสินค้าที่ขายยาก และด้วยกฎระเบียบและเกณฑ์การพิจารณาที่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้ขายยากขึ้นไปอีก จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้แบ่งบริษัทสินเชื่อออกเป็น 3 กลุ่ม และพวกเขากำลังขับเคี่ยวกันอย่างเต็มที่เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด

กลุ่มแรก เข้าตลาดโดย “เริ่มจากศูนย์” เหล่าโปรแกรมเมอร์ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่มองเห็นโอกาสบางคนเคยซื้อบ้านและก็สัมผัสได้ถึงความพินาศของระบบการกู้ยืม จึงเกิดแรงบันดาลใจให้พวกเขาลงมือจัดการกับปัญหานี้ด้วยตนเอง แต่ความที่ไม่เคยคลุกคลีกับวงการนี้มาก่อน พวกเขาจึงเข้าตลาดมาด้วยความรู้ด้านสินเชื่อที่เป็นศูนย์จริงๆ

กลุ่มที่สอง เข้าตลาดโดย “การขยายผลิตภัณฑ์” กลุ่มนี้ก็เข้าตลาดโดยเริ่มจากศูนย์เช่นกัน แต่ตนเองก็เคยปล่อยสินเชื่อประเภทอื่น เช่น สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อระหว่างบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคล และอื่นๆ  ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมา รวมถึงแพลตฟอร์มและฐานลูกค้าที่มีพร้อม จึงตัดสินใจเข้ามาในตลาดสินเชื่อบ้าน

กลุ่มที่สาม เข้าตลาดโดย “การปล่อยสินเชื่อบ้านรูปแบบใหม่” บริษัทสินเชื่อบ้านต่างสัมผัสได้ถึงการเเข่งขันอันดุเดือด จึงตระหนักได้ว่าหากไม่คิดค้นนวัตกรรมที่ยั่งยืน เขาอาจจะสูญเสียธุรกิจให้กับผู้เล่นใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมก็เป็นได้ จึงลงมือทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาพื้นที่ของตนเองไว้ ปัญหาคือกลุ่มต่างๆที่กล่าวมา ต่างพลาดสิ่งที่สำคัญมากๆบางอย่างไป house-loan-city

บริษัทสินเชื่อบ้านต่างเจอกับทางตัน

บริษัทสินเชื่อบ้านต่างพบกับความยากลำบากในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ประการแรกเลยคือความยากในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถมากพอที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆให้กับตลาดได้ ประการต่อมาก็คือบริษัทเหล่านี้ไม่ใช่บริษัทประเภทที่จะได้รับเงินร่วมลงทุนในจำนวนมาก เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้เป็นแนวดิ่ง พวกเขาจึงต้องให้ความสำคัญกับการวัดการประเมินซึ่งทำได้หลากหลายวิธี และยังต้องสร้างกระแสเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมด้วย (เช่นเดียวกับการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ)ข้อจำกัดทางด้านการเงินและปริมาณผู้เชี่ยวชาญ ทำให้บริษัทสินเชื่อส่วนมากต่างกระจัดกระจายและไปรวมตัวอยู่บนออนไลน์แพลตฟอร์มผ่านผู้ให้บริการอื่นอีกทีหนึ่ง แล้วพยายามสร้างฟีเจอร์ต่างๆให้ครอบคลุมกับความคาดหวังของผู้กู้ยืมสินเชื่อยุคใหม่ แต่เครื่องมือเหล่านี้ต้องใช้ร่วมกับระบบการปล่อยสินเชื่ออันเก่าแก่ที่พ่วงมาด้วยกัน ทำให้พวกเขาต้องไปทำงานร่วมกับระบบอันซับซ้อน ส่วนผู้ให้บริการนั้นก็จะทำเพียงงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น การอัพโหลดเอกสารหรือการให้กรอกเอกสารการขอสินเชื่อไว้ล่วงหน้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เทคโนโลยีของผู้ให้บริการอื่นนั้นต้องมีบัญชีของตัวเอง มี Dashboard ของตัวเอง รวมถึงกระบวนการดำเนินงานที่ต้องมีระบบยืนยันความปลอดภัย ความยุ่งยากของแพลตฟอร์มก็จะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเริ่มเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไป ซึ่งสิ่งนี้กลับทำให้การใช้งานของลูกค้าลำบากยุ่งยากกว่าเดิม

บริษัทเทคโนโลยีเองก็ถึงทางตันเช่นกัน

กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีที่เหลืออีก 2 กลุ่ม ต่างมีความสามารถและระดมทุนได้ พวกเขาสร้างแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย สร้างประสบการณ์ร่วมให้กับลูกค้า และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นผู้นำด้านการให้บริการลูกค้า จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนมากเกิดการกระบวนการดำเนินงานเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยบริษัทสินเชื่อขนาดใหญ่นั้นควรมีโครงสร้างต่างๆ ดังนี้ 1. บริษัทต้องมีโครงสร้างการเงินที่ดีเพื่อสร้างความสม่ำเสมอในการเข้าถึงเงินทุนและมีกระบวนการระดมทุนที่ไม่ยุ่งยาก 2. บริษัทต้องทำรายงานและมีหลักปฏิบัติที่ดีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่ออย่างเคร่งครัด รวมถึงการสำรองทางการเงินและบุคคลากรที่จะดูแลเรื่องนี้ โดยเฉพาะการรับมือกับผู้สอบบัญชีจากสำนักการเงินคุ้มครองผู้บริโภค 3. บริษัทต้องมีกระบวนการดำเนินงานที่แข็งแรง เนื่องจากบริษัทปล่อยสินเชื่อบ้านนั้นมีความซับซ้อนและต้องอาศัยพนักงานที่เชี่ยวชาญในทุกส่วน ตั้งแต่พนักงานที่มีใบอนุญาตปล่อยสินเชื่อ พนักงานขายสินทรัพย์ ไปจนถึงผู้ค้าในตลาดรอง ซึ่งการที่จะขยายบริษัทให้โตได้ ต้องอาศัยพนักงานที่มีศักยภาพ มีความสม่ำเสมอและมีกระบวนการเรียนรู้จากการทำซ้ำสิ่งเดิม (ซึ่งบริษัท Quicken ทำสำเร็จแล้ว ) house-loan-money ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับบริษัทที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี บริษัทสินเชื่อเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้เช่นกัน นวัตกรรมใหม่นั้นยอดเยี่ยม แต่หากขาดพื้นฐานที่มั่นคง การขยายบริษัทย่อมทำได้ยาก เมื่อต้องเจอกับความเป็นจริงของธุรกิจปล่อยสินเชื่อ บริษัททางเทคโนโลยีก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง แทนที่จะทำแค่ปล่อยสินเชื่อ พวกเขาจะกลายเป็นเซลส์และนักการตลาดที่ออกไปหาลูกค้า จัดการเอกสารต่างๆให้ เสมือนว่าเป็นนายหน้าให้กับบริษัทสินเชื่อเดิม ซึ่งบริษัทสินเชื่อเก่าๆ นั้นก็จะรับหน้าที่ในการทำงานยากๆต่อไป

เราจะทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร ?

ถ้าสามทางเลือกที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีข้อบกพร่อง แล้วอะไรคือคำตอบ ?ผู้เขียนไม่คิดว่าเราต้องกัดฟันทนอาศัยอยู่ในโลกที่มีระบบการเงินเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอันย่ำแย่ แต่เขาคิดว่าเรามีพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่เราต่างเห็นตรงกันว่านี่คือวิธีการที่จะสร้างนวัตกรรมให้กับวงการได้หากคิดให้เป็นระบบในอุดมคติ บริษัทสินเชื่อที่มีนวัตกรรมต้องมีส่วนผสมของทีมผลิตภัณฑ์ที่โฟกัสลูกค้าและให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งาน โดยทำงานร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อบ้าน โดยบริษัทต้องมีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับการทำงานของ Super team เพื่อสร้างความเติบโตให้กับบริษัทได้ รวมถึงต้องมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ นั่นถึงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการสินเชื่อบ้านได้ และวิธีที่จะทำให้สิ่งนี้เป็นจริงคือการลงทุนร่วมหรือการเข้าซื้อกิจการจากผู้ปล่อยสินเชื่อเดิมโดยภาคเอกชน การมีนวัตกรรมที่พลิกโฉมวงการไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย บริษัทสินเชื่อบ้านขนาดเล็ก ดำเนินการโดยผ่าน Call Center ทำธุรกิจโดยไม่ต้องเจอกับลูกค้าโดยตรง ดังนั้นการทำธุรกิจแบบออนไลน์จึงน่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในลำดับถัดไป พวกเขามีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแรงอยู่แล้วและมีความเข้าใจถึงสิ่งจำเป็นต่างๆในการทำธุรกิจ และที่ดีที่สุดคือพวกเขาอาจจะสามารถทำเงินได้ ส่วนทีมผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่ง หากได้รับการสนับสนุนโดยเงินร่วมทุนหรือหุ้นจากเอกชน อาจจะสามารถซื้อผู้ปล่อยสินเชื่อเจ๋งๆ ได้ในราคาที่สมเหตุสมผล (เงินทุนระดับ Series A) และเมื่อเทียบกับมูลค่าที่ได้รับนั้นถือว่าคุ้มกว่าบริษัทเทคโนโลยีที่มีเสียอีก ทันทีที่เริ่มทำงาน พวกเขาอาจจะยกเครื่องระบบพื้นฐานทางเทคโนโลยีของบริษัทใหม่ทั้งหมด โดยจะทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้ารวมถึงเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาเอง เเทนที่จะไปกระตุ้นการบริโภค พวกเขาจะสนใจกับการให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการเป็นผู้ซื้อบ้านที่มีความรับผิดชอบ การออกฟีเจอร์ใหม่บ่อยๆ การให้ความใส่ใจกับลูกค้าและไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นฐานต่างๆ พวกเขาจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างมหาศาลให้กับบริษัทได้ house-loan-team1

สิ่งที่บริษัท FinTech ต้องนำมาพิจารณา

Wall Street เริ่มเข้ามาในวงการร่วมทุนแล้ว โดยลงทุนรอบใหญ่กับบริษัทระดับยูนิคอร์น รวมถึงบริษัท FinTech startup ที่เพิ่งตั้งไข่  ธนาคารรายใหญ่ก็เข้าซื้อ ลงทุนและเป็นพันธมิตรร่วมกับสตาร์ทอัพมากมาย  BBVA นั้นถือว่ามีความกระตือรือร้นมากในวงการ หรือ Santander เองก็เพิ่งจะลงทุนและเป็นพันธมิตรกับบริษัทสินเชื่อขนาดเล็กที่มีชื่อว่า Kabbage ผู้เขียนไม่แปลกใจเลยที่เห็นสิ่งเหล่านี้ค่อยๆเข้ามาในวงการสินเชื่อออนไลน์ กองทุนผสมอย่าง Mithril ก็อาจจะให้ความสนใจกับการลงทุนในลักษณะนี้เพราะสนใจที่จะลงทุนใหญ่และจริงจังกับ “บริษัทจัดตั้งที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองโดยที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี” ซึ่งก็ไม่น่าเเปลกใจอีกเช่นกันที่เห็นผู้เล่นรายใหญ่ในวงการนี้อย่าง SoFi จะมีผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านเดิมเข้ามาทำงานด้วย และมีส่วนช่วยในการพัฒนาการดำเนินงาน เติมเต็มในส่วนที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและกำจัดจุดที่เป็นเนื้อร้ายขององค์กร บริษัทสินเชื่อบ้านไม่ใช่แค่ตลาดเดียวในโลกที่ต้องปวดหัวกับระบบอันคร่ำครึ กฎระเบียบอันซับซ้อน และต้องมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการขยายบริษัท คำถามที่น่าคิดต่อไปก็คือ... หรือว่า “นวัตกรรมด้าน Management & Analysis” จะเป็นสิ่งต่อไปที่จะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้?

ที่มา: TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...