โกดังสินค้าแห่งแรกของโลกที่ควบคุมทุกอย่างโดยหุ่นยนต์ ต้นแบบสู่อนาคตของธุรกิจ Logistics | Techsauce

โกดังสินค้าแห่งแรกของโลกที่ควบคุมทุกอย่างโดยหุ่นยนต์ ต้นแบบสู่อนาคตของธุรกิจ Logistics

  • Mujin ผลผลิต Startup จากมหาวิทยาลัยในโตเกียว ได้พัฒนาระบบควบคุมหุ่นยนต์สำหรับโกดังเก็บสินค้าอัตโนมัติ
  • โกดังเก็บสินค้าของ JD.com ที่ซื้อหุ่นยนต์ของ Mujin ไปติดตั้ง กลายเป็นโกดัง e-commerce แห่งแรกของโลกที่เป็นระบบอัตโนมัติทั้งระบบ

Mujin โชว์เทคโนโลยีล่าสุดในกรุงโตเกียว โดยจัดแสดงแขนหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่เอื้อมหยิบและทำการบรรจุสินค้าลงกล่องแทนการใช้แรงงานมนุษย์ ซึ่งเป้าหมายของ Mujin คือการทำให้โรงงานและคลังสินค้าสามารถดำเนินงานได้ตลอดเวลาด้วยระบบอัตโนมัติทั้งระบบ

Rosen Diankov ผู้ร่วมก่อตั้งและ CTO ของ Mujin กล่าวว่า “การยกกล่องสินค้าหนักๆ คืองานยากของธุรกิจ logistics เลยก็ว่าได้ บริษัทหลายแห่งพยายามมองหาระบบรถขนถ่ายสินค้า ซึ่งผมเชื่อว่าบริษัทเราใกล้ออกสู่ตลาดจริงมากที่สุดแล้วในตอนนี้”

Mujin ตั้งเป้าเป็นผู้นำในระบบ logistic แบบอัตโนมัติ โดยได้ผลิตระบบที่ควบคุมแขนหุ่นยนต์และระบบกล้องที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆ โรงงานผลิต ระบบจะถูกป้อนข้อมูลให้จดจำวิธีการหยิบจับสินค้าและคำนวนการเคลื่อนไหวอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องคอยตั้งค่าเอง ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้ามากขึ้นด้วย

ตัวอย่างของโกดังที่ได้เริ่มนำระบบของ Mujin ไปใช้ คือโกดังพื้นที่ขนาด 40,000 ตารางเมตรของ JD.com แพลตฟอร์ม E-Commerce ขนาดยักษ์ของจีน ที่ได้เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ภายในโรงงาน มีการติดตั้งหุ่นยนต์ที่ใช้หยิบของ, ส่งของและบรรจุสินค้าลงกล่องบนสายพานลำเลียง พร้อมระบบควบคุมหุ่นยนต์และกล้องของ Mujin นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ที่บรรทุกสินค้าไปยังจุดโหลดของและรถบรรทุก

การกำหนดมาตรฐานของระบบอัตโนมัติ

Diankov กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการทำให้คลังสินค้าในอเมริกาใช้ระบบอัตโนมัติ แต่เหตุผลที่เรามาเริ่มต้นที่ญี่ปุ่นเพราะยังไม่แน่ใจว่า ตลาดจะให้ความสำคัญกับมันหรือไม่ และจะมีผู้เชี่ยวชาญรองรับเพียงพอไหม”

“การมีระบบหุ่นยนต์ที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นยังไม่พอ แต่เราต้องสร้างสภาพแวดล้อม ทั้งเครื่องมือและระบบต่างๆ โดยรอบตัวหุ่นยนต์ให้เอื้อต่อการทำงานด้วย หากเราสามารถสร้างมาตรฐานที่แข็งแรงสำหรับระบบอัตโนมัติในคลังสินค้าได้ ก็จะทำให้เราสามารถยกระดับการผลิตไปสู่อีกขั้น”

เครื่องควบคุมอัจฉริยะของ Mujin ถูกโปรแกรมให้สามารถทำงานต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยการคาดเดาจากการลองถูกลองผิดแต่อย่างใด ทุกการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์จะถูกติดตามในทุกๆ มิลลิวินาที ทำให้เปอร์เซ็นความผิดพลาดเกิดขึ้นได้น้อยมาก นอกจากนี้ระบบยังถูกติดตั้งด้วย microchip ความเร็วสูงที่สามารถประเมินความเป็นไปได้กว่าหมื่นรูปแบบและสามารถเลือกวิธีที่ดีที่สุดได้ในทันที

ไม่ต้องกลัวหุ่นยนต์แย่งงาน

Diankov เชื่อว่า ความกลัวเรื่องหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่และแย่งงานมนุษย์นั้นไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในที่ทำงาน

“ตั้งแต่เริ่มมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในธุรกิจ ก็มีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่าง Toyota ที่ใช้ทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ ก็สามารถเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้”

Mujin ระดมทุนได้กว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก JAFCO VC จากโตเกียว และมหาวิทยาลัย Tokyo Edge Capital นอกจากนี้ Mujin ยังทำเงินได้จากการร่วมโปรเจคกับ Askul แพลตฟอร์ม e-commerce สำหรับอุปกรณ์ออฟฟิศ และ Paltac บริษัท logistic รวมถึง JD.com ของจีน

อ้างอิงภาพและเนื้อหา CNBC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...