‘xplORe’ แอปพลิเคชันที่ Orbit Digital พัฒนาให้ OR ก้าวสำคัญเพื่อคนไทยใช้ชีวิตนอกบ้านสะดวกกว่าที่เคย | Techsauce

‘xplORe’ แอปพลิเคชันที่ Orbit Digital พัฒนาให้ OR ก้าวสำคัญเพื่อคนไทยใช้ชีวิตนอกบ้านสะดวกกว่าที่เคย

ชวนสำรวจแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ ว่าใช้งานเป็นประจำกี่แอป มีแอปที่ไม่ได้ใช้เยอะไหม แล้วถ้ามีแอปพลิเคชันที่รวมทุกความต้องการสำหรับ ‘การใช้ชีวิตนอกบ้าน’ อยู่ในแอปเดียว นั่นคือ xplORe (เอ็กซ์พลอร์) ที่จะเข้ามาทำให้คุณใช้ชีวิตสะดวกขึ้นและเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ ผ่านแอปได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของ ซื้อดีลส่วนลดกาแฟ ร้านอาหารชั้นนำต่างๆ หรือ หาร้านอาหารที่อยู่ใกล้ หาปั๊มน้ำมัน ค้นหาสิทธิพิเศษ สะสมคะแนน แลกคะแนนรับส่วนลด - ชีวิตจะดีและใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นแค่ไหน

xplore

xplORe คืออะไร

ด้วยความที่ xplORe เป็นแอปพลิเคชันน้องใหม่ที่ ออร์บิท ดิจิทัล พัฒนาให้ โออาร์ เทคซอสจึงเข้าไปพูดคุยกับ คุณปกรณ์ เจียมสกุลทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออร์บิท ดิจิทัล จำกัด (Orbit Digital) และ คุณวาฐิณี บุญสิทธิ์ ผู้อำนวยการโครงการ All in One App บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เพื่อเข้าใจถึงที่มาที่ไป การทำงานและความท้าทายทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของการพัฒนาแอป และความสำคัญของแอปที่มีต่อธุรกิจในอนาคต

xplORe คือ แอปที่รวมความสะดวกสบายในเรื่องของการใช้ชีวิตนอกบ้านให้อยู่ในแอปเดียว สมัยก่อน OR มีแอปพลิเคชันที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอป Blue Card ที่มีฐานสมาชิกอยู่กว่า 8 ล้านรายหรือ Blue CONNECT กระเป๋าเงินดิจิทัล หรือว่าแอปที่ใช้ในเรื่องของการค้นหาสถานีบริการน้ำมัน เช็กราคาน้ำมัน เราอินทิเกรตแอปต่างๆ มารวมอยู่ภายใต้ xplORe แล้วเราก็พยายามที่จะขยายบริการ ขยายฟีเจอร์ให้ครอบคลุมและหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ xplORe Wallet ในการซื้อของ การขาย Deal ส่วนลดราคาพิเศษ เพื่อนำไปใช้ในร้านค้าเครือ OR และพันธมิตร รวมถึงเรื่องของการจองตั๋วคอนเสิรต์และกิจกรรมต่างๆ” คุณวาฐิณีอธิบายเบื้องต้นว่า xplORe คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง 

ตามมาด้วยการเล่าถึงฟีเจอร์หลักบน xplORe ที่บริษัทหมายมั่นปั้นแอปให้เป็นไลฟ์สไตล์แอปพลิเคชันของ OR ได้แก่ Deal คูปองส่วนลดราคาพิเศษจากร้านค้าแบรนด์ OR และพันธมิตร, Pass ตั๋วกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ, Partner การจองตั๋วคอนเสิร์ต จองคิวร้านอาหาร จองบริการความงาม จากคู่ค้าพันธมิตร เช่น ThaiTicketMajor, Hungry Hub, GoWabi, Searching สำหรับการค้นหาสถานีบริการ PTT Station พร้อมการแจ้งเตือนราคานํ้ามันเมื่อมีการปรับราคาขึ้น-ลง, Mission ภารกิจหลากหลายที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าร่วมเพื่อรับคะแนนหรือรางวัลพิเศษได้, xplORe Wallet กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้จ่ายเงินได้ทั้งร้านค้าในเครือ OR และร้านพันธมิตรที่รองรับการชําระเงินในรูปแบบ Thai QR และ Reward ระบบสะสมคะแนน blueplus+ ที่มาพร้อมกับการเพิ่มระดับสมาชิก สามารถใช้คะแนนแลกสิทธิพิเศษสุด exclusive จากร้านค้าชั้นนําตามระดับสมาชิก โอนคะแนน ลุ้นรางวัล แลกคะแนนร่วมกิจกรรม หรือแลกรับของรางวัลได้

 xplOReในขณะที่แอปพลิเคชันอื่นๆ เน้นตอบโจทย์การใช้ชีวิตในบ้านให้ง่ายขึ้น xplORe สร้างจุดต่างด้วยการเป็นแอปแรกๆ ที่ออกมาพูดเรื่อง ‘แอปของการใช้ชีวิตนอกบ้าน’ ขณะเดียวกันก็มุ่งมั่นที่จะเป็นไลฟ์สไตล์แอปพลิเคชันที่ได้อยู่ในโทรศัพท์มือถือคนไทย และเป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยคิดถึงทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน

“เรามีจุดประสงค์ให้ xplORe เป็น ‘Main Digital Platform ของ OR’ ที่สร้าง O2O Experience ให้แก่ลูกค้า และสร้างทราฟิกจากการใช้งานออนไลน์ไปสู่ร้านค้าออฟไลน์ด้วยการ Utilize Asset ที่เป็นจุดแข็งของ OR  ได้แก่ สถานีบริการ PTT Station กว่า 2,000 สาขา  Café Amazon กว่า 4,000 สาขา โดยธุรกิจของ OR มี OfflineTraffic เฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 ล้านต่อวัน กับการที่ OR มีสมาชิก blueplus+ 8 ล้านราย ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้รับ จะไม่ได้เกิดที่ OR เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นการกระจายรายได้ ให้แก่ Dealer และ Franchisee ซึ่งมีสัดส่วนสาขาถึง 80% ของธุรกิจ OR และทั้งหมดนี้ OR หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะทำให้เกิดการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน หรือ Inclusive Growth ตามแนวทางที่ OR วางไว้” คุณวาฐิณีอธิบายเพิ่มถึงการสร้างประสบการณ์ O2O (Online to Offline) ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมุ่งให้ทุกการใช้งานผ่านโลกดิจิทัลดึงผู้ใช้งานมาใช้บริการบนโลกทางกายภาพมากขึ้น รายได้ก็จะกระจายไปยังพันธมิตรและคู่ค้าโดยรอบ

จากนั้น คุณวาฐิณีกล่าวเสริมถึงเทรนด์ที่เกิดขึ้นและความจำเป็นในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลว่า คนไทยมีโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยต่อคนเกิน 1 เครื่อง ทั้งยังใช้เวลาเล่นมือถือต่อวันนานกว่า 5 ชั่วโมง OR เล็งเห็นความสำคัญของการสร้าง ‘ประตูบ้านบานใหม่’ บนโลกดิจิทัล โดยมอบโจทย์ให้ Orbit Digital สร้างแพลตฟอร์ม xplORe ในลักษณะของ Hub เชื่อมโยงฐานข้อมูลลูกค้าของ OR พาร์ตเนอร์ คู่ค้า และลูกค้า ที่สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ ตลอดจนรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นคราวละมากๆ และที่สำคัญ สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว 

และเนื่องจากฐานลูกค้าหลักของ OR เป็นกลุ่ม Gen X บริษัทจึงต้องการแอปที่รองรับการเปลี่ยนผ่าน (Transition) ระหว่าง Generation และต้องการดึงดูดลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้บริการที่หน้าร้าน (Physical Store) ของ OR ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า Gen Z หรือผู้ใช้งานที่อยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งอาจไม่เคยหรือไม่ได้ใช้บริการของ OR เช่น ไม่เคยเติมน้ำมันที่ PTT Station ไม่เคยซื้อกาแฟ Café Amazon ซึ่งการร่วมงานกับ Orbit Digital ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน xplORe นี้ เป็นการใช้จุดแข็งของ Orbit ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และส่งมอบสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์และตรงกับความต้องการ โดยเฉพาะ Gen Z ที่จะกลายเป็นผู้บริโภคหลักในอนาคต 

ความยากในการพัฒนาแอปที่รองรับการใช้งานหลักล้านและต้องยืดหยุ่นได้

ด้านศักยภาพของ xplORe ในการเป็นแอปพลิเคชันที่เชื่อมร้อยธุรกิจและบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน คุณปกรณ์จาก Orbit Digital เกริ่นถึงโจทย์ที่ได้รับว่า OR ต้องการให้พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการใช้ชีวิตนอกบ้านที่สะดวกสบาย โดยเชื่อมบริการของ OR เข้ามาในแพลตฟอร์ม และนำแพลตฟอร์มของพันธมิตรคู่ค้ามาเชื่อมต่อการใช้งานเข้าด้วยกัน ทีม Orbit Digital จึงวางโครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบเอาไว้เป็นอย่างดีเพื่อรองรับ ฟีเจอร์ และระบบของพาร์ตเนอร์ต่างๆ ที่ถูกออกแบบให้มาเชื่อมต่อกันบนแอป ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่าย ซื้อของ จองตั๋ว ไปจนถึงตัวช่วยการเดินทาง เพื่อให้ทุกก้าวหรือทุกการเดินทางของผู้คนที่ต้องออกนอกบ้าน ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น 

 xplORe

“เราวางโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่พิสูจน์การใช้งานจริงในอุตสาหกรรมมาแล้ว และมีการใช้กันในหลาย platform เช่น ตัวโครงสร้างบริการขนาดเล็ก (Micro Service Architecture) ที่มีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน หรือ แม้กระทั่งโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์ (Cloud Infrastructure) ที่รองรับการขยายตัวหรือขยายออกได้ จึงทําให้ยืดหยุ่นไปกับความเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด เพราะอย่างที่บอกว่า โจทย์ของแอปพลิเคชัน เราไม่มีทางรู้เลยว่าวันพรุ่งนี้ลูกค้าอยากได้หรือต้องการอะไร แต่วันที่เราลองจนรู้ได้แล้วว่า ลูกค้าต้องการสิ่งนี้ เราต้องปรับให้เร็วที่สุด พูดง่ายๆ คือ เราต้องวางเสาเข็มที่แข็งแรง เพื่อให้ทางฝ่ายธุรกิจสามารถต่อเติมได้ในวันข้างหน้าได้อย่างคล่องตัวที่สุด เช่น ถ้าจะเอาชั้นนี้ออก เอาชั้นนั้นเข้ามาแทน ต้องทําได้เร็วที่สุด” คุณปกรณ์เปรียบเทียบงานพัฒนาแอปกับการสร้างอาคารเพื่อให้เข้าใจง่าย

ตามมาด้วยการเล่าถึงแนวคิดเรื่อง การออกแบบที่ให้ผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) ที่ส่งผลต่อการสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้งาน (UX : User Experience) และส่วนต่อประสานเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ (UI : User Interface) 

“เราทำเรื่อง User-Centered Design โดยออกไปคุยกับ User และทำ User Interview เพื่อดูว่า ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีบุคลิกลักษณะ (Persona) อย่างไร ต้องการอะไร เพราะเวลาคนออกนอกบ้าน ไปทํากิจกรรมอะไรบ้างนั้น ไม่ใช่ว่าคนกลุ่มเดียวกันจะไปทํากิจกรรมเหมือนๆ กัน”

เนื่องจาก Journey ของลูกค้ามีความแตกต่างและหลากหลาย หากมองผ่านแว่นตาของฝั่งธุรกิจจะเริ่มพิจารณาก่อนว่า ลูกค้าออกจากบ้านแล้วต้องการใช้บริการใดบ้าง เดินทางอย่างไร ไปทํากิจกรรมอะไร 

ระหว่างทาง เขาจะน่าจะไปใช้เซอร์วิสอะไร ตรงนี้เป็น Journey ที่ xplORe พยายามจับออกมาให้ได้ เพื่อพัฒนาฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตนอกบ้าน ยกตัวอย่างเคสที่ Extreme คน Extrovert ออกไปทำกิจกรรมผาดโผน ไปเดินป่า ปีนเขา เขาจะทำกิจกรรมอะไรระหว่างทางบ้าง หรือบางคนแค่ออกไปนอกบ้าน เช่น ออกไปนั่งร้านกาแฟ แล้วก็กลับ สิ่งที่เราทําต่อก็คือ นำ Persona ต่างๆ มาวิเคราะห์ แล้วดูว่า Journey ระหว่างทางตั้งแต่ออกนอกบ้านจนกลับเข้าบ้าน เขาทําอะไรต่างกันอย่างไร แล้วทำให้แอปพลิเคชันซัพพอร์ตความต้องการที่แตกต่างของผู้ใช้งานให้ได้

แต่หากมองผ่านแว่นของฝั่งเทคนิค สมมุติว่า OR เปิดให้ลูกค้าซื้อดีลพิเศษจากพาร์ตเนอร์ที่เปิดขายบนแอปเพียง 3 วัน ฝั่งเทคนิคก็ต้องออกแบบ Journey ของระบบที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจได้ว่า ดีลนั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการอย่างไร สามารถใช้ดีลได้ที่ไหนบ้าง วิธีเข้าถึงดีลได้เร็วที่สุด รวมทั้งวิธีกดสั่งซื้อที่ทำได้โดยไม่สะดุดกลางคัน 

นอกเหนือจากนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนแอปยังสามารถรวบรวมเพื่อนำมาวิเคราะห์ (Data Analytics) ได้ต่อ เช่น ใช้ออกแบบฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะบุคคล (Personalization) ในอนาคต 

OR และ Orbit Digital เผชิญความท้าทายเรื่องใดบ้าง

xplore

เพราะฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาจไม่ใช่ฟีเจอร์ที่ถูกใจผู้ใช้งานในอนาคต การเพิ่มลูกเล่น และทำให้ฟีเจอร์บน xplORe ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด พร้อมที่จะปรับขนาดได้รวดเร็วและทันกับที่ OR ต้องการ จึงนำมาสู่ 3 ความท้าทายของ Orbit Digital ได้แก่ เรื่องระบบ เรื่องคน และ เรื่องกระบวนการ

“เรื่องแรก คือ เรื่องการวางระบบ สําคัญที่สุดเพราะเป็นเครื่องยนต์ (Engine) ตัวหลักที่จะทําให้ประสบการณ์การใช้งานฟีเจอร์นั้นๆ ราบรื่น โดยยึด User เป็นศูนย์กลาง ดูว่าเขาไปทำอะไร จะทำบ่อยแค่ไหน พฤติกรรมของเขาน่าจะเป็นอย่างไรต่อ แล้วค่อยวางระบบ ซึ่งเราใช้ Tech Stack ที่ทันสมัยและเป็นที่ยอมรับกันในอุตสาหกรรม เรื่องที่สองคือ เรื่องคน ที่เราต้องรวบรวม Tech Talent ที่สนใจมาร่วมกันสร้างผลกระทบทางบวกให้เกิดขึ้นกับประเทศเรา และ สุดท้ายคือ เรื่องกระบวนการ ที่เราเข้ามาร่วมกับ OR ในการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ด้วยกัน และต้องสื่อสารและปรับจูนกันตลอด เพราะว่าการทำ xplORe เป็น Product Base มันเป็นสิ่งที่ทำไปเรื่อยๆ ต้องปรับไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ Project Base ที่ทําจบโปรเจกต์แล้วจบไป” คุณปกรณ์กล่าว

Orbit Digital จึงเลือกคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือเป็น Talent ที่มีประสบการณ์ในการสร้างแพลตฟอร์มขนาดใหญ่มาร่วมทีม โดยรวมพลคน Gen Y และ Gen Z มาลุยงานตั้งแต่การรับฟังความต้องการ (Requirement) จาก OR การวางโครงสร้างแพลตฟอร์ม ออกแบบฟีเจอร์ อาทิ ระบบล็อกอิน ที่ต้องรองรับการใช้งานพร้อมกันได้ในหลักล้านบัญชี ซึ่งถือเป็นการใช้งานขนาดใหญ่ และ Orbit Digital ก็ซีเรียสเรื่องของการวางสถาปัตยกรรมแพลตฟอร์มเป็นอย่างมาก

 xplORe“เวลาเป็นแอปพลิเคชัน โจทย์มันเหมือนเราต้องเปิดเคาน์เตอร์ที่รองรับคนหมื่นคนมาเข้าคิวเพื่อรอการทำรายการพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบตั้งแต่แรก มันเป็นเรื่องที่ต้องคาดการณ์ ไว้ล่วงหน้า แล้วนำมาประเมินการออกแบบระบบว่า ควรสร้างยังไงให้แข็งแรง ต่อเติมได้ และปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว โดยยังคงไว้ซึ่งค่าบำรุงรักษาที่ต่ำที่สุด เหมือนกับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่หลายๆ ระบบในตลาด ขณะเดียวกันเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องประสบการณ์ผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน โดยสะท้อนผ่านเรื่องการออกแบบ UX/UI ให้ใช้งานได้สะดวก

“นอกจากนี้ ต้องบอกว่า OR มีความแข็งแรงในเรื่องของการสร้างและขยายแพลตฟอร์มทางธุรกิจอยู่ก่อนแล้วเป็นทุนเดิม จึงมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจหลายรายที่จะต้องเข้ามาเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มนี้ ซึ่งความท้าทายอย่างหนึ่งคือการหาแนวทางทํางานร่วมกันระหว่างแพลตฟอร์มของพาร์ตเนอร์และ OR เช่น พาร์ตเนอร์บางรายอาจยังไม่เคยเข้ามาเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่อย่าง xplORe ที่จำเป็นต้องรองรับทราฟิกปริมาณมาก ดังนั้นความท้าทายคือเราจะทํายังไงให้ทั้งองคาพยพมันไปด้วยกันได้ อาทิ แพลตฟอร์มของพาร์ตเนอร์ต้องสามารถรองรับการซื้อสินค้าได้ 1,000 คนต่อวินาที โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการซื้อดีลจํานวนมาก รวมถึงการวางโครงสร้างของแพลตฟอร์มเพื่อให้สามารถขยายและไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ของ OR ได้ในอนาคต” คุณปกรณ์ขยายความ 

มาที่ฝั่งผู้บริหาร OR เปิดเผยว่า การแข่งขันสูงในตลาดแอปพลิเคชัน พฤติกรรมที่ไม่เคยหยุดนิ่งของผู้ใช้งาน และเวลาที่ใช้พัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองความต้องการได้ทันเวลา ล้วนเป็นบททดสอบและความท้าทายของบริษัท แต่สำหรับความท้าทายของทีม OR เป็นเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยแนวคิด Agile Methodology ที่ต้องทำได้เร็ว ทีมต้องทำงานโดยใช้ทักษะที่ค่อนข้างใหม่ และยังต้องเป็น Product Owner ที่สามารถส่งต่องานแต่ละส่วนได้ทันเวลา ทํางานภายใต้ความยืดหยุ่นสูง ลำดับความสำคัญที่บริษัทต้องการ (Requirement) ได้ และยังต้องปรับเปลี่ยนแผนงานให้ทันต่อสถานการณ์ได้

Orbit Digital จึงเข้ามาซัพพอร์ตเรื่องการเพิ่มทักษะดิจิทัลตามความต้องการให้แก่ทีม OR และหลังจากนี้ OR จะร่วมกับ Orbit Digital ผลักดันให้บริการ ทราฟิก และความถี่ของการใช้งานแอปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากการพัฒนาแพลตฟอร์มให้แข็งแกร่ง นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์คาดการณ์ได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ OR จะทำคือ เพิ่มแรงจูงใจในการใช้งานแอปจากพฤติกรรมของคนไทยที่ชื่นชอบดีล นิยมซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้ส่วนลด โดยจะทำการตลาดแบบ Up-Sell และ Cross-Sell บนแอป xplORe เพื่อส่งเสริมให้ยอดขายที่หน้าร้าน (Physical Store) เพิ่มขึ้นและถี่ขึ้น

ในด้าน Key Success ที่ทำให้ OR และ Orbit Digital ทำงานร่วมกันได้ เห็นทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน คือ การสื่อสารกันให้บ่อยและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เวลาเกิดความเปลี่ยนแปลง หรือต้องปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ใดๆ ทั้งสองทีมก็สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผย เข้าใจตรงกัน ส่งผลให้การปรับเปลี่ยนอะไรๆ ทำได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

Fact & Data ที่น่าจับตาของ xplORe 

  • xplORe คือ แอปพลิเคชันเรือธงที่ บริษัท ออร์บิท ดิจิทัล จำกัด รับโจทย์การพัฒนาจาก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) มาแล้วประมาณ 1 ปี

  • หลังจากเปิดให้ดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 มียอด Download มากกว่า 1.3 ล้านครั้ง

  • เซ็กเมนต์หลักๆ ของผู้ใช้งานแอปแบ่งออกเป็น Mobility หรือกลุ่มผู้ใช้รถ และ Lifestyle ซึ่งแยกย่อยได้อีกหลายกลุ่ม เช่น Café Amazon Lover คนที่รักในการดื่มกาแฟ, Deal Hunter คนที่ชอบโปรโมชัน

  • ร้านค้าพันธมิตรที่เข้าร่วมในแอป xplORe มีมากกว่า 130 แบรนด์ รวมกว่า 30,000 สาขา 

  • หมวดที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดบนแอปคือ Deal และ Reward
     
  • xplORe มีการพัฒนาฟีเจอร์ให้ครอบคลุมไปยังแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยในระยะเริ่มต้น มุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่ OR ดำเนินการอยู่ได้แก่ Mobility และ Lifestyle และในอนาคตจะขยายต่อไป คือ Tourism และ Health & Wellness สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจของ OR ไปยังแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต 

xplore

“เราอยากให้ xplORe เป็นแอปที่เวลาคนออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านแล้วนึกถึงเราเป็นแอปแรก เวลาที่เห็นดีลที่ขายบนแอป xplORe แล้วทำให้รู้สึกว่าอยากออกไปทานที่ร้านอาหาร หรือใช้แอปเวลาที่ออกไปท่องเที่ยว หรือเดินทาง เพราะฉะนั้น สิ่งที่คนไทยจะได้รับจากการใช้ xplORe คือ แอปที่ใช้งานง่าย และเป็นแอปที่จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตนอกบ้านได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น และอาจได้ความสนุกมากขึ้นจากการใช้งานแอปพลิเคชันด้วย” คุณวาฐิณีฝากทิ้งท้าย

นอกเหนือจากการที่ Orbit Digital เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด ที่ถือหุ้น 100% โดย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสองบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและน่าสนใจในยุคนี้ การเข้ามาสร้างแอป xplORe เพื่อให้ OR มีดิจิทัลแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่ง รองรับความต้องการได้ในปัจจุบันและอนาคต และยังคอยซัพพอร์ตเรื่องต่างๆ ในขาดิจิทัล 

เท่ากับว่า Orbit Digital มีศักยภาพและความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวงโคจรรอบๆ OR และเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้แก่ OR ได้ และยิ่ง OR มีพันธมิตร คู่ค้า และผู้ใช้งานแอปเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่จะเติบโตของ Orbit Digital ก็จะมากขึ้นตาม 

นี่คือเส้นทางที่ OR ปักหมุดไว้แล้วว่า แอปพลิเคชัน xplORe ที่ Orbit Digital สร้างขึ้น จะพาไปสู่ ‘การสร้างธุรกิจใหม่บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม’ และส่งผลให้ธุรกิจที่อยู่ในระบบนิเวศเดียวกันนี้เติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...