‘Youtube’ กับ ‘ทีวี’ กำลังส่งเสริมกันจริงหรือ? | Techsauce

‘Youtube’ กับ ‘ทีวี’ กำลังส่งเสริมกันจริงหรือ?

หลายคนอาจบอกว่า YouTube รวมถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ ทางออนไลน์ กำลังมาแทนที่ช่องทางสื่อเดิมๆ โดยเฉพาะทีวีดิจิทัล ด้วยความสามารถในการดูได้ทุกที่ทุกเวลา (ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต) และนี่คือสิ่งที่คนทำทีวีอาจกำลังกลัว ว่าจะนำพาธุรกิจที่ครั้งหนึ่งที่นำพาความยิ่งใหญ่มาให้ กำลังจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยน ในขณะเดียวกัน Youtube กลับมาบอกว่า Youtube ไม่ได้มาแข่งกับทีวี แต่คือการเข้ามา “ส่งเสริมกัน” มากกว่า อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดผู้ชมทางโทรทัศน์ ซึ่งจากผลวิจัยได้ระบุว่า คนไทย 9 ใน 10 คน หรือ 84% ต้องการให้มีเนื้อหาของรายการทีวี บน YouTube ในขณะที่คนทำทีวีบอกว่า Youtube อาจทำให้เนื้อหาต้นทุนสูงกลายเป็นเนื้อหาราคาถูก

ณ งานแถลงข่าวกลุ่มย่อยในหัวข้อ “YouTube สำหรับผู้ประกอบการโทรทัศน์” Google ได้เผยงานวิจัยชิ้นใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการชมเนื้อหารายการโทรทัศน์บน YouTube ของผู้ใช้งาน YouTube ในไทย ผู้คนทั่วโลกรับชมเนื้อหาต่างๆ บน YouTube เป็นเวลากว่า 1,000 ล้านชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่มียอดเวลาชมบน YouTube  มากที่สุดในโลก นอกจากวิดีโอที่สร้างสรรค์โดยเหล่าครีเอเตอร์บน YouTube แล้ว วิดีโอที่เป็นเนื้อหาจากรายการโทรทัศน์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ชมชื่นชอบ แต่พวกเขามีพฤติกรรมในการชมเนื้อหารายการโทรทัศน์อย่างไร?

พฤติกรรมการรับชม Youtube ของคนไทย

งานวิจัยในหัวข้อ “YouTube Audience Insights Thailand 2017” โดยความร่วมมือระหว่าง Google และ TNS อธิบายถึงพฤติกรรมการชมเนื้อหารายการโทรทัศน์บน YouTube ของผู้ใช้งาน YouTube ในไทย โดยได้สัมภาษณ์ผู้ที่ใช้งาน YouTube จำนวน 1,000 คน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงในอายุระหว่าง 16-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ที่รับชมรายการโทรทัศน์ที่ระบุในการวิจัยผ่านทางโทรทัศน์หรือ YouTube ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ผลการวิจัยที่ค้นพบมีดังนี้:

  • คนไทย 9 ใน 10 เข้าชม YouTube ทุกวัน และ 7 ใน 9  เช้าชม YouTube วันละหลายๆ ครั้ง
  • มีจำนวนคน 62% เข้าชม YouTube มากกว่าชม TV
  • ผลจากการวิจัยคนทั่วไปให้ความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงแค่ 8 วินาที (จากปี2015)
  • จำนวนคน 81% ที่ชม YouTube แต่ยังต้องการชมสดจาก TV

  • คนไทยเข้าYouTube เพื่อรับชมเนื้อหาที่มีคุณภาพ: 83% ของผู้ชมระบุว่า YouTube เป็นตัวเลือกอันดับเเรกของพวกเขาในการรับชมรายการโทรทัศน์ ถึงแม้ว่าจะมีช่องทางมากมายสำหรับรับชมรายการโทรทัศน์ที่พวกเขาชื่นชอบก็ตาม
  • จำนวนคน 84% ที่ชม YouTube ต้องการให้มีคอนเทนต์เพิ่มขึ้น

  • แฟนรายการโทรทัศน์ในไทยมีความคาดหวังและความชื่นชอบที่ชัดเจน: ถึงแม้ว่าผู้ชมจะพลาดรายการที่พวกเขาชื่นชอบตอนออกอากาศทางโทรทัศน์ แต่ 85% ของผู้ชมชอบที่จะดูรายการย้อนหลังผ่านทาง YouTube ที่ผู้ผลิตรายการอัพโหลดลง YouTube ภายในวันเดียวกันกับการออกอากาศทางโทรทัศน์
  • ความอิสระเป็นปัจจัยสำคัญ: คนไทยกว่า 86% เห็นว่าการรับชมรายการโทรทัศน์ทางYouTube ทำให้พวกเขามีอิสระมากขึ้น เพราะพวกเขาสามารถเลือกสิ่งที่ต้องการรับชมได้ตามใจชอบ และสามารถรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • YouTube ช่วยเพิ่มยอดผู้ชมทางโทรทัศน์: 88% ของรายการทางโทรทัศน์ที่ถูกทดสอบในการวิจัย มียอดผู้ชมทางโทรทัศน์เพิ่มขึ้น โดยจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากผู้ที่รับชมรายการบน YouTube ทั้งนี้ พบว่ารายการกีฬาและรายการวาไรตี้ได้รับประโยชน์จาก YouTube มากที่สุด

ผลการวิจัยข้างต้นมีความหมายต่อผู้ประกอบการโทรทัศน์อย่างไร:

Youtube ยังบอกว่า เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ประกอบการโทรทัศน์จะเผยแพร่สิ่งที่ผู้ชมมองหา แฟนรายการโทรทัศน์จะต้องสามารถรับชมเนื้อหาที่พวกเขาต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้ประกอบการโทรทัศน์จะต้องดึงดูดผู้ชมโดยใช้ประโยชน์จาก YouTube และควรจะเป็นมากกว่าผู้ประกอบการโทรทัศน์ทั่วๆ ไป โดยมีปฏิสัมพันธ์และสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับแฟนๆ ที่รับชมรายการผ่านทาง YouTube ผู้ประกอบการโทรทัศน์จะต้อง “ปราดเปรื่องฉับไว” หมายความว่าผู้ให้บริการเนื้อหาจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ชมเพื่อที่จะเข้าถึงพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะกลยุทธ์เดิมๆ ที่เคยใช้อาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมในปัจจุบันได้อีกต่อไป

Youtube มองว่า เมื่อผู้ประกอบการทีวีนำเนื้อหาของทีวีลง Youtube จะทำให้เกิดการส่งเสริมกันและกันแง่ของเรตติ้ง ในขณะที่พฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไป เมื่อพลาดหรือไม่ได้รับชมเนื้อหาจากรายการทีวี ก็สามารถมาติดตามเนื้อหานั้นๆ ได้จาก Youtube และในที่สุดผู้ชมก็จะวกกลับมากดดูทีวีแทน นี่คือการส่งเสริมที่ Youtube กำลังบอก แต่ในมุมของผู้ประกอบการทีวีอาจมองต่าง

คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด ผู้ถือใบอนุญาติช่องข่าวทีวีดิจิทัล Nation TV ช่อง 22 ได้แชร์ข้อความที่ หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้กล่าวใน Facebook  พร้อมระบุว่า โดยระบุว่า "หากทุก Content ถูกนำลง Youtube จะทำให้รายการต้นทุนสูง กลายเป็นเนื้อหาราคาถูกจนไม่มีมูลค่าเหลือ เพราะจะถูกเข้าไปอยู่ในกลไกของ Youtube ไม่สามารถเพิ่มราคาขายได้แบบที่ควรจะเป็น"

ผู้ประกอบการเลือกที่จะถอนเนื้อหาตัวเองออกจาก Youtube กันหมดครับ ด้วยเหตุว่า Youtube ถึงจะช่วยให้มีเรตติ้งได้จริง แต่ไม่มีผลต่อการสร้างรายได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

แต่ส่วนที่มีนัยยะสำคัญคือ Youtube ทำให้สิทธิ์ของเนื้อหามีราคาถูกลงจนไม่มีมูลค่าเหลืออีก เมื่อสื่อทีวีลงทุนสูงกว่าสามารถนำสิทธิ์มาสร้างรายได้ในช่องทางหลากหลายได้ แต่เมื่อลง Youtube แล้วนั่นหมายความว่าจะต้องอยู่ในกลไกการขายของ Youtube เท่านั้น จึงทำให้คนทำสื่อถูกมัดมือชกและไม่สามารถเพิ่มราคาขายได้อย่างที่ควรเป็น

ถ้าทุกคนทำสื่อลงแต่ Youtube กับ Facebook แล้ว ....อนาคตวงการสื่อไทยจะล่มแน่นอนครับ ทั้งสอง Platform มีประโยชน์ แต่ต้องรู้จักใช้อย่างระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นมันจะไม่ช่วยในการขายแต่กลับเป็นตัวลดมูลค่าสื่อแทนครับ สื่อบางประเภทไม่มีควรนำลงสื่อแบบนี้ พวกหนัง ละคร พวกนี้ไม่ควรลงครับ ส่วนข่าว รายการเกมโชว์ ส่วนเล็กๆ จากรายการทีวีสามารถนำขึ้นได้หากรู้ว่าจะขายมันอย่างไรครับ

ต้องอย่าผู้เล่นคนใดชนะขาดนะครับ

อีกทั้งคุณอดิศักดิ์ยังระบุว่า “เห็นด้วยกับคุณชายอดัม อยากให้ Content Provider หลักๆในประเทศไทยปิดห้องเปิดอกคุยกันหาวิธีรับมือกับ Youtube เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ผลิตคอนเทนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทีวีดิจิทัลต่างๆ”

ไม่ว่าที่สุดแล้ว TV กับ Youtube จะส่งเสริมกันและกันในด้านฐานผู้ชมหรือไม่ แล้วจำนวนผู้ชมดังกล่าวจะสร้างกำไรที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการโทรทัศน์จริงหรือไม่ ผู้ที่ตัดสินใจก็คงเป็นผู้ชม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...