สัมภาษณ์พิเศษ ‘ZONE’ Startup ผู้ปิดทองหลังพระ พื้นที่ให้ทุกข้อมูลการเข้าถวายสักการะพระบรมศพฯ | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ ‘ZONE’ Startup ผู้ปิดทองหลังพระ พื้นที่ให้ทุกข้อมูลการเข้าถวายสักการะพระบรมศพฯ

ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา เราได้เห็นน้ำใจคนไทยมากมายที่ร่วมเป็นจิตอาสาบริเวณพื้นที่สนามหลวง และมี Startup อย่างแอปพลิเคชัน ZONE ร่วมเป็นจิตอาสารวบรวมข้อมูลในช่วงเข้าสักการะพระบรมศพฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น ขณะนี้มีผู้เข้าคิวรอสักการะพระบรมศพฯ ถึงบริเวณใด จะต้องไปเข้าคิวบริเวณจุดใด

ซึ่ง ZONE นับเป็นอีกช่องทางที่ช่วยความสะดวกกับประชาชนที่ต้องการเข้าถวายสักการะพระบรมศพฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยทีมงานดำเนินงานจิตอาสาต่อเนื่องมา 1 ปีกว่าแล้ว โดยลงทุนและลงแรงด้วยทีมงานเพียงไม่กี่คน

เรื่องราวของแอปพลิเคชัน ZONE มีที่มาที่ไป และเบื้องหลังการทำงานจิตอาสาเป็นอย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์นี้

จุดเริ่มต้นของ สังคมที่คนร่วมแชร์สิ่งดีๆ

แอป ZONE เป็น Product ของบริษัท Enegist ซึ่งก่อตั้งมาได้ 3-4 ปีแล้ว โดยทีมงานเล่าว่าเจ้าของบริษัทมีความตั้งใจอยากสร้างให้ ZONE เป็นแอปที่เชื่อมคนในพื้นที่หนึ่งเข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน ยกตัวอย่างเช่น ตัวเราอยู่ย่านอโศกได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นมา เราและคนในย่านอโศกก็สามารถถามคนในย่านอโศกผ่านแอป ZONE ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

จุดพลิกผัน จากแอปที่เพิ่งเริ่มต้น มาเป็นจิตอาสาอำนวยความสะดวกด้านการให้ข้อมูล

ทีมงาน ZONE เล่าว่าจุดผลิกผันของเราเกิดจากมีพี่ในทีม Marketing ไปร่วมพิธีเคลื่อนพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จากโรงพยาบาลศิริราชมายังพระบรมมหาราชวัง วันที่ 14 ตุลาคม 2559 โดยในวันนั้นเกิดความสับสนในการรับรู้ข้อมูล เพราะไม่สามารถถามข้อมูลใครได้เลย จากนั้นพระรูปหนึ่งก็มาถามพี่เขาว่าอยากรู้ข้อมูลว่าเราจะขึ้นรถได้ที่ไหน พี่เขาก็ไม่ทราบเหมือนกัน พระรูปนั้นจึงต้องเดินไปขึ้นรถไกลมากใช้เวลาเดินเป็นชั่วโมง

จากจุดนี้ทีมงาน ZONE จึงรู้สึกว่าอยากจะนำแอปเข้ามาเป็นตัวกลางที่จะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ เราจึงเข้ามาเป็นจิตอาสาในด้านการให้ข้อมูลครั้งนี้

จริงๆ แอปเรายังไม่เสร็จเรียบร้อยดี พัฒนาได้ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ แต่เราก็เห็นว่าแอปเราสามารถเป็นตัวกลางให้คนพูดคุย-สอบถามข้อมูลกันที่สนามหลวงได้ เราจึงเริ่มเข้าไปเป็นจิตอาสาในด้านการเข้าไปช่วยให้ข้อมูลตั้งวันแรกที่สำนักพระราชวังเปิดให้เข้าถวายสักการะพระบรมศพฯ เลย

รูปแบบของแอปพลิเคชั่นและการทำจิตอาสา

ZONE: หลักๆ เราเริ่มจากแอปที่สามารถแจ้งและแลกเปลี่ยนข้อมูลในจุดที่เราไปได้ เช่น เราไปสนามหลวง เราก็กดเข้าไปที่คำว่า "สนามหลวง" จากนั้นเราก็สอบถาม-พูดคุยกับคนที่อยู่ลานพระราชวังดุสิตได้ด้วย ต่อมาหลังจากนั้นเราก็มี Facebook Page เพื่อแจ้งข้อมูลอีกช่องทางหนึ่ง โดยข้อมูล infographic ที่บอกความยาวแถวและปลายแถวเข้าสักการะพระบรมศพฯ ในแอป ZONE จะอัปเดททุกชั่วโมง ส่วนใน Facebook Page จะอัพ infographic 1-2 ครั้งต่อวัน

ในช่วงแรกของการเปิดให้สักการะพระบรมศพฯ เราตั้งบูธที่สนามหลวง หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ มีพนักงานที่เราจ้างมาประจำอยู่ตรงนั้น มาเดินดูคิว คอยตอบคำถามคนที่เดินผ่านไปผ่านมา เหมือนเราทำจิตอาสาเต็มตัว โดยประสานงานเพื่อทำงานร่วมกับทางศูนย์ประสานงานอาสาสมัคร Volunteers for Dad ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันถึงแม้พระบรมมหาราชวังจะปิดการให้เข้าถวายสักการะพระบรมศพฯ แล้ว แต่แอปและ Facebook Page ZONE ก็ยังมีการอัพเดทข้อมูลของพระราชพิธีพระบรมศพฯ อย่างต่อเนื่อง

ลงทุนในการฟอร์มทีมเพิ่มเพื่ออำนวยความสะดวก

ทีมงาน ZONE ระบุว่าเดิมทีมพัฒนาแอปมีอยู่ 10-15 คน แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทีม Developer และทีม Marketing พอถึงช่วงที่เริ่มไปประจำที่สนามหลวงก็จะมีการจ้างพนักงานประจำดูคิว จะให้เป็นจิตอาสาก็ไม่ได้ เพราะเขาต้องมาทุกวัน ทีมงานจึงต้องจ้างให้มาเป็นพนักงานของบริษัท โดยจ้างพนักงาน 3-4 คนโดยสลับกันไปประจำที่สนามหลวงวันละ 2 คน รวมไปถึงการจ้างพนักงานที่ทำ infographic บอกความยาวแถวและปลายแถวขึ้นแอปและ Facebook Page ทุกวันด้วย

ก้าวต่อไปของ ZONE

ZONE ระบุว่าในช่วงวันที่ 26 ที่มีการถวายดอกไม้จันทน์ฯ จะเพิ่มข้อมูลจุดที่มีพระเมรุมาศจำลองและซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ทั่วประเทศไทยราว 800-900 จุดลงในแอปเวอร์ชันใหม่ รวมไปถึงสามารถคุยกันในพื้นที่นั้น ๆ ได้เหมือนในสนามหลวง แต่เป็นในระดับที่ย่อยลงไป

โดยหลังจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เสร็จสิ้นแล้ว ทีมงาน ZONE เปิดเผยกับ Techsauce ว่ามีแผนขยายพื้นที่ออกไปให้กว้างขึ้น ไม่ใช่แค่ที่สนามหลวง พระเมรุมาศจำลอง หรือซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ เพื่อทำให้คนแชร์ข้อมูลกันได้ทุก ๆ ที่ โดยจะเริ่มจากพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลก่อน แล้วทำให้ครอบคลุมทั่วประเทศในภายหลัง

ความรู้สึกจากใจแอป ZONE

ZONE: รู้สึกภูมิใจที่ได้ลงมาช่วยเป็นตัวกลาง ตอนแรกเราก็ไม่ได้คิดว่าคนให้ความสนใจมากขนาดนี้ เราก็คิดว่าเราเป็นแอปเล็ก ๆ แบบโนเนม แต่เรามาช่วยให้คนที่จะเดินทางมาเพื่อสักการะพระบรมศมฯ ได้รู้ข้อมูลก่อนที่จะเขาจะเดินทางมาได้แล้วมันเป็นประโยชน์ แบบมันไม่ใช่แค่เราให้ข้อมูล แต่มันทำให้คนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันได้มาแชร์ข้อมูลกัน แล้วมันเกิดประโยชน์จริง

จากปี 1 ที่ผ่านมา มันทำให้เห็นว่านี่คือสังคมแบบที่เราต้องการ มันเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ สังคมที่เราอยากให้มันเป็นแบบนี้ คุณอยู่ตรงนั้น คุณรู้อะไร คุณก็แชร์ข้อมูลให้คนที่กำลังจะมารู้ อยากให้คนในสังคมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ตอนนี้ทีมงานแทบไม่ตอบคำถามเองเลยด้วยซ้ำ เดี๋ยวนี้คนที่อยู่ที่นั่นแชร์ข้อมูลกันเองในแอปบางทีทีมงานก็รู้ข้อมูลนะ แต่ทีมงานก็ไม่ต้องตอบเพราะทุกคนช่วยกันตอบเองหมดแล้ว นี่คือภาพที่เราอยากเห็น สังคมออนไลน์ที่เรามุ่งหวังอยากให้มันเกิดขึ้นได้แล้วจริง ๆ

เราเลยอยากเชิญชวนผู้อ่านที่ยังไม่เคยลองใช้แอป  ZONE อยากให้เขามาลองใช้กันเยอะ ๆ คุณสามารถร่วมให้ข้อมูลง่าย ๆ ที่คุณรู้ในจากพื้นที่นั้น ๆ เพราะข้อมูลที่คุณให้มันจะอาจจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น ๆ อย่างมากเลยก็ได้ เพราะเราก็เห็นมาแล้วว่าการช่วยเหลือแบ่งปันข้อมูลที่เกิดขึ้นที่สนามหลวง มันเกิดขึ้นได้จริง อยากให้ทุกคนทั่วประเทศไทย มาร่วมส่งต่อข้อมูลดี ๆ หรือสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมกัน ส่วนคนที่ใช้แอป ZONE อยู่แล้วก็อยากให้ร่วมส่งต่อข้อมูลดี ๆ กันต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...