'ทิม พิธา' กับบทบาทใหม่ หน้าที่การสร้าง 'ประชารัฐ' ในประเทศไทย | Techsauce

'ทิม พิธา' กับบทบาทใหม่ หน้าที่การสร้าง 'ประชารัฐ' ในประเทศไทย

ในปีที่แล้ว Techsauce ได้รายงานข่าวหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้อ่านจำนวนมาก นั่นคือข่าวการก้าวสู่ผู้บริหาร Grab ประเทศไทยของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือ ทิม และสำหรับบทความนี้ เราได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์แบบ Exclusive กับคุณทิม พิธา กับบทบาทใหม่ Executive Director ของ Grab ประเทศไทย เพื่อตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้เกี่ยวกับการมาร่วมงานกับ Grab

ก่อนหน้านี้ทำอะไรบ้างแล้วมาร่วมงานกับ Grab ได้อย่างไร?

คุณทิม : ย้อนไปเมื่อช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลกเช่นทุกวันนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ทุกคนเห็นคือการขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาก็สามารถเปลี่ยนโลกเราเป็นโลกใบใหม่ได้แค่ภายใน 10 ปี ทำให้ผมได้เปิดโลกทัศน์ ได้เห็นการทำงานหรือการพัฒนาประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องไปด้วยกันได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งคำนั้นคือคำว่า “ประชารัฐ” ซึ่งประเทศไทยจะต้องมี 2 อย่างคือ High Tech และ High Touch จึงจะมีการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

พอเรียนจากอเมริกาจบมาก็เริ่มต้นด้วย High Touch ก่อน ผมก็มารับธุรกิจที่บ้านเกี่ยวกับธุรกิจเกษตร แต่พอเวลาผ่านมาคำว่า High tech มันมาเปลี่ยนโลกเรา การที่มันเป็นคลื่นสึนามิดิจิทัลเนี่ย มันเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราของสังคมเราเนี่ยมันมีความน่าสนใจอยู่

“ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีจะทำให้โลกนี้ดีขึ้น คำว่า Technology for equality หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม น่าจะเป็นสิ่งที่สังคมพึงกระทำ”

เราอยากจะรู้จัก High tech ว่าอะไรคือ Artificial Intelligence, Machine Learning, Big Data หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่มาลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยได้ ผมก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประเทศด้วย เป็นภารกิจหลักที่เข้ามารับตำแหน่งในครั้งนี้

เทคโนโลยีจะเข้ามาสร้างความเท่าเทียมได้อย่างไร?

คุณทิม: ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้พิการทางสายตา และผู้สูงอายุ เพราะในสมัยก่อนการเดินทางยังไม่สะดวกเท่าทุกวันนี้ ไม่ปลอดภัย การจะเรียก Taxi สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากถนนนั้นทำได้ยาก เมื่อมี Grab Taxi มันเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ นี่เป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ เรื่องที่สองคือเรื่องของระบบทุนนิยม

Grab ช่วยให้คนขับแท็กซี่เข้าสู่ระบบทุนนิยมได้อย่างไร?

คุณทิม: คนขับ Taxi ไม่ว่าจะทำงานได้เงินเท่าไหร่ แต่เขาไม่ได้เข้าสู่ระบบเงินเดือน ไม่มี Statement รายได้ การกู้เงินธนาคาร เขาต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่าคนที่เป็นพนักงานประจำ เราจึงต้องนำเขาเข้าสู่ระบบ

Grab Taxi: คนที่มีอาชีพขับ Grab ไม่ต้องเสี่ยงว่าออกจากบ้านแล้วจะไม่มีผู้โดยสาร เราเห็นงาน เงิน รายได้แต่ละเดือน มีการบันทึกรายได้ต่อวันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มีการอบรมเรื่องกฎระเบียบการขนส่งทางบก มียูนิฟอร์มที่เป็นภาพลักษณ์ของประเทศ และเป็นภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย

คุณทิม : ในมุมมองของเรา เราคิดว่าเป็นการพัฒนาความเป็นมืออาชีพให้กับเขา พอผ่านไป 6 เดือน ระบบใน Grab จะมีระบบบันทึกรายรับที่เขาได้ ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานที่นำเขาเข้าไปสู่ระบบทุนนิยมได้หรือ Financial Inclusion

มีระบบบันทึกรายได้ที่สามารถดูย้อนหลังได้ เป็นการเปลี่ยนจากระบบเงินสดเป็นระบบที่มีหลักฐานซึ่งสอดคล้องกับสังคมไร้เงินสดหรือ cashless society ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามจะผลักดัน

"ผมเข้าใจว่านี่คือความตั้งใจของโครงการประชารัฐ, สังคมไร้เงินสด, พร้อมเพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผมก็พร้อมที่จะตอบรับและพาไปเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมๆ กัน ไม่มีใครตามอยู่ข้างหลัง เราพร้อมที่จะไปด้วยกันทุกๆคน"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

ทำไม CATL ถึงเป็นแบตรถ EV ที่ทั่วโลกต้องใช้

CATL จากผู้ที่เคยบอกว่าสร้างแบต EV ไม่ได้ สู่ราชาแบตเตอรี่ EV เบอร์ 1 ของโลก แถมยังเป็นแบตเตอรี่ที่ Tesla, BMW, Mercedes-Benz เลือกใช้ พวกเขาทำได้อย่างไร ?...

Responsive image

นวัตกรรมที่เริ่มจาก ‘การให้โอกาส’ เผยกลยุทธ์สร้างคนฉบับ BANPU

‘การให้โอกาส’ เผยกลยุทธ์สร้างคนฉบับ BANPU...