Deep Tech สร้างความแตกต่างต่อโลก ต้องมองมากกว่าแค่เทคโนโลยี | Techsauce

Deep Tech สร้างความแตกต่างต่อโลก ต้องมองมากกว่าแค่เทคโนโลยี

ส่วนหนึ่งของ Session ในวันแรก (26 สิงหาคม 2565) ของงาน Techsauce Global Summit 2022 ที่คุณ Ernest Xue Managing Director ของ Hello Tomorrow ประจำภูมิภาค Asia-pacific ได้พูดถึงในห้อง Vertical 2

Hello Tomorrow ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน เพื่อปลดล็อกศักยภาพของ Deep Tech ในการแก้ปัญหาความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดย Deep Tech ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมาจากทั้งความก้าวหน้าและปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป ผ่านการตั้งสำนักงานในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อเชื่อมโยงความรู้และสร้าง Community ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา

Deep Tech คลื่นลูกที่ 4 แห่งความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม

คุณ Ernest เล่าถึงคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม (Waves of Innovation) ทั้ง 4 ลูกไว้ดังนี้

  • ลูกที่ 1 คือการปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • ลูกที่ 2 คือ Corporate Lab & Startup
  • ลูกที่ 3 คือ Startups & VCs
  • ลูกที่ 4 คือ Deep Tech ที่มุ่งเน้นการสร้างสิ่งประเิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

การลงทุนและร่วมทุน ส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน Deep Tech 

การลงทุนใน Deep Tech เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนั้นจำเป็นต้องมีทุนในการทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้นและนำไปใช้ได้

การลงทุนใน Deep Tech เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา 

  • ในปี 2016 ที่มูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ในปี 2017 ที่มูลค่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ในปี 2018 ที่มูลค่า 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ในปี 2019 ที่มูลค่า 5,600 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • และในปี 2020 มีมูลค่ามากกว่า 6,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

Deep Tech Ventures มีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการคือ

  1. มุ่งแก้ไขปัญหาพื้นฐาน เช่น การสร้างรถยนต์ไร้คนขับที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง
  2. การเลือกวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา จากวิธีการแก้ไขปัญหาและเทคโนโลยีที่หลากหลาย
  3. Startups ด้าน Deep Tech จะมีองค์ประกอบทางกายภาพหรือผสมผสาร
  4. Startups จะมองจัดวางตัวเองตรงกลางของระบบนิเวศ โดยการทำความเข้าใจ Stakeholder ในระบบนิเวศ ทั้งหน่วยงภาครัฐและเอกชน เพื่อให้รู้ว่าตัวเองจะอยู่ตรงไหนของระบบนิเวศ

โดยการพัฒนานวัตกรรมของ Deep Tech Startup จะผสมผสานระหว่าง

  1. เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Science) ที่จะเป็นการนำเอาความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาในทางที่ดีกว่าเดิม
  2. วิศวกรรม (Engineering) จะคำนึงถึงการนำสิ่งที่คิดค้นออกมาใช้งานในตลาดให้ได้ในราคาที่เหมาะสม
  3. การออกแบบ (Design) การเลือกอุปสรรคหรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา

คำถามที่ต้องถาม เพื่อให้นวัตกรรมได้นำไปใช้จริง

นอกจากนี้ Startups ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยง 2 ด้านคือ

  1. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Tech Risk) ที่ต้องคำนึงว่าจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ หรือเราจะต้องคิดค้นเทคโนโลยีที่ยังไม่มีใครค้นพบ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
  2. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ที่ต้องคิดว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของเราหรือไม่ และตลาดต้องการสินค้านี้จริง ๆ หรือไม่

โดยได้ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงทั้ง 2 ด้านเอาไว้ดังนี้

  • สินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงทั้งเทคโนโลยีและตลาดที่ต่ำ
  • BioTech (เทคโนโลยีชีวภาพ) มีความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสูง แต่เสี่ยงต่อตลาดต่ำ (เพราะตลาดต้องการสูง)
  • Internet of Things มีความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีต่ำ (เพราะเรามีเทคโนโลยีที่รองรับแล้ว) แต่มีความเสี่ยงด้านตลาดสูง (เพราะยังไม่แน่ใจว่าตลาดหรือผู้บริโภคต้องการซื้อจริงหรือไม่)
  • Deep Tech มีความเสี่ยงทั้ง 2 ด้านที่สูง

ดังนั้นนอกจากที่เราจะคิดว่า “จะทำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาอย่างไร ?” เรายังต้องคิดถึงตลาดด้วย เพราะ Solution หรือนวัตกรรมต้องการตลาดเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ และผู้บริโภคสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริงอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Techsauce ประกาศความร่วมมือ Outcome เปิดตัว Innovation Accounting Service เพื่อช่วยองค์กรวัดผลด้าน Innovation อย่างมีประสิทธิภาพ

Techsauce ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Outcome ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม เพื่อนำเสนอบริการ Innovation Accounting Service ภายใต้ชื่อ SATORI...

Responsive image

Thrive Among Uncertainties: เปิดแนวคิดผู้นำองค์กรแห่งอนาคตกับ Michelle Bligh

ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ผู้นำจะพาองค์กรอยู่รอดได้อย่างไร? Michelle C. Bligh ผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัย Claremont ได้มาร่วมแบ่งปันแนวคิดสำคัญสำหรับผู้นำอ...

Responsive image

รู้จัก THaLLE (ทะเล) โมเดลภาษาขนาดใหญ่ ที่เชี่ยวชาญภาษาไทยและการเงิน พัฒนาโดย KBTG หวังพลิกโฉมวงการ AI ไทย

KBTG เปิดตัว THaLLE (ทะเล) หรือ Text Hyperlocally Augmented Large Language Extension โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ที่ถูกออกแบบมาให้มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและการเงินโดยเฉพาะ...