GC กับการก้าวข้ามความท้าทายสู่ความก้าวหน้า ด้วยการผลักดัน Corporate Innovation ในองค์กร | Techsauce

GC กับการก้าวข้ามความท้าทายสู่ความก้าวหน้า ด้วยการผลักดัน Corporate Innovation ในองค์กร

การที่องค์กรจะสามารถก้าวข้ามความท้าทายใหม่ ๆ ไปได้ องค์กรจะต้องรู้ว่าจะควบคุมเทคโนโลยีอย่างไร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มี ‘พนักงาน’ เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อรับมือกับ Disruption อย่างยั่งยืน คุณนัทพล จงจรูญเกียรติ จาก PTT Global Chemical (GC) ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์การขับเคลื่อนนวัตกรรมขององค์กร ในหัวข้อ “Break the Challenge: The Experiment of Corporate Innovation” งาน Techsauce Global Summit 2022

กลยุทธ์ผลักดันการสร้าง Digital Transformation

ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า Disruption เป็นความท้าทายและโจทย์สำคัญที่ทุกองค์กรจะต้องรับมือ ซึ่งสิ่งสำคัญในการรับมือกับปัญหานี้คือการปรับตัวและเปลี่ยนโฉมธุรกิจใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่สร้างความพร้อมในเรื่องนี้ และได้จัดตั้งทีม Digital Transformation ขึ้นมา โดยทีมทำงานภายใต้รูปแบบ Triple Transformation เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ดังนี้

  • People Transformation สร้างการทำงานรูปแบบใหม่ โดยการนำแนวคิด Agile มาปรับใช้ เตรียมความพร้อมให้พนักงานมี Growth Mindset เพื่อเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาแบบมีการคิดเชิงวิพากษ์ สร้างความสามารถใหม่ให้คนทั้งองค์กรในการสร้างยูสเคส Data Citizen รวมถึงส่งเสริมวัฒนธรรม Digital Innovation ผ่านกิจกรรมขององค์กรและสร้างการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
  • Business Transformation ปรับใช้ Digital Use Case ร่วมกับ Business ผ่านเป้าหมาย 4Smarts โดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งแบ่งเป็นสองด้าน โดยด้านแรกคือ Smart operation ประกอบด้วย Smart plant และ Smart sales & marketing และอีกด้านคือ Smart Office ประกอบด้วย Smart work process และ Smart workplace
  • Technology Transformation ปรับโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยให้พร้อม และสร้าง Data Platform เพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในมืออย่างเหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต้องเริ่มจาก ‘คน’ 

การจะผลักดัน Digital Transformation ให้มีความยั่งยืนจะต้องเริ่มจากคน ทาง GC จึงมองว่าพนักงานเป็นหัวใจสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายนี้ และมีการพัฒนาพนักงานในองค์กรทั้งด้านทักษะ (Skill) และความคิด (Mindset)

GC ได้สร้างทีมใหม่ขึ้นสองทีม ได้แก่ ทีม Digital Academy คือทีมที่สร้างขึ้นมาเพื่อเน้นเรื่อง Skillset โดยเฉพาะ สิ่งที่ทีมนี้ทำคือการสำรวจเรื่องดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงสร้างหลักสูตรและทำแอปพลิเคชั่นให้กับพนักงานภายในองค์กร

ส่วนอีกทีมหนึ่งคือ ทีม Digital Curator ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่เรื่องการสื่อสาร แต่เป็นทีมที่ต้องทำให้ผู้ใช้ตระหนักว่าอะไรกำลังจะเปลี่ยนไปและเข้าใจจริง ๆ ว่าเราจะเปลี่ยนมันอย่างไร โดยทาง GC จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน เนื่องจากต้องการให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมกับสิ่งใหม่ ๆ อย่างถูกต้องและยั่งยืนมากขึ้น GC ตั้งเป้าหมายไว้ว่าพนักงานจะต้องเป็นคนที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และเข้าใจแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ ๆ นอกจากนี้ GC ยังจะสร้างความเป็นผู้นำทางดิจิทัลให้กับแต่ละหน่วยธุรกิจหรือแต่ละฝ่าย 

Incubation ตัวช่วยสำคัญของการสร้าง Digital Transformation

Incubation หรือการบ่มเพาะธุรกิจ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรภายใน เนื่องจาก Incubation เป็นเหมือนการค้นหาและพัฒนาด้วยการจัดตั้งโครงการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ ซึ่ง Incubation จะช่วยให้คนเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ความล้มเหลว อีกทั้งทางองค์กรที่เป็น Incubator ก็จะสามารถเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้ 

“Learn to unlearn การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ถูกต้องคือการพยายามปรับวิธีคิดใหม่”

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา GC ได้ดำเนินการ Incubation มาหลายวิธี โดยในช่วงแรก ๆ เริ่มจาก Internal Incubation คือ GC ขอแนวคิดจากคนภายในแล้วจึงจัดหาพนักงานให้กับหน่วยงานภายนอก หลังจากนั้นให้หน่วยงานภายนอกช่วยแชร์ความรู้หรือไอเดียกลับมาให้ทีมงานภายในดำเนินการเอง ทำให้วิธีการนี้ไม่ได้ผลเนื่องจากต้องใช้เวลาพอสมควรในการสร้างอะไรบางอย่างจากแนวคิดเพื่อมาเป็น Prototype หรือ MVP

หลังจากนั้น GC จึงเปลี่ยนมาใช้วิธี Hybrid Incubation คือ การทำงานร่วมกันระหว่างภายในกับภายนอก เช่น การดึงผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความคิดใหม่ ๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีเป้าหมายในการดำเนินการแบบเดียวกัน 

การสร้าง Corporate Innovation จะต้องหาเส้นทางที่เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด เมื่อเห็นว่าองค์กรอื่นใช้วิธีไหนแล้วสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถก๊อปปี้และนำไปใช้กับองค์กรของตัวเองได้เลยทันที แต่จะต้องทำการทดลองด้วยตัวเอง ซึ่ง GC ก็ยังคงมีการทดลองอยู่ทุกปีผ่านการเปิดให้เสนอแนวคิด เช่น การจัดงาน Hackathon 

“ความสำเร็จของ Corporate Innovation มาจากการที่เราออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมกับพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร”

ก้าวต่อไปของ GC

กุญแจสำคัญของการผลักดัน Corporate Innovation คือ จะต้องหา Use Case ที่มีคุณค่าต่อองค์กร ในระยะต่อไป GC จะยังคงดำเนินการ Incubation Program ต่อไป และพยายามหาแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อขยายสู่ต่างประเทศและเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ GC จะเริ่มสร้าง Startup Ecosystem และกำลังมองหาสตาร์ทอัพที่จะเติบโตไปสู่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวันข้างหน้า

สิ่งที่ทำให้ GC เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับฟีดแบ็กที่มีค่าจากพนักงานและจากคนภายนอกที่ต้องการช่วยให้ GC เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและพัฒนาโปรแกรมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจควรให้ความสำคัญคือการรวบรวมข้อเสนอแนะจากบุคคลเหล่านี้ เพื่อนำมาใช้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้เหมาะสมกับองค์กรตนเอง เพื่อให้ก้าวข้ามความท้าทายสู่ความก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...