3 วิธีที่หัวหน้า จะช่วยให้ทีมเข้าสู่ Flow State ในการทำงาน | Techsauce

3 วิธีที่หัวหน้า จะช่วยให้ทีมเข้าสู่ Flow State ในการทำงาน

แน่นอนว่าเป้าหมายของคนทำงานส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นการทำงานที่ได้รับ 'มอบหมาย' ให้ 'สำเร็จ' ซึ่งหากจะทำเช่นนั้นได้ต้องมีสมาธิ รวมทั้งมีการจดจ่อกับงานที่อยู่ตรงหน้า แต่ในปัจจุบันนั้นสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบริหารจัดการที่ดีเท่านั้น 

Flow State

ดังนั้นภาวะ 'Flow State' จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานในยุคนี้อย่างยิ่ง โดยภาวะ 'Flow State' ในกระบวนการทำงาน ถ้าให้พูดง่าย ๆ คือการที่คุณมีสมาธิจดจ่ออย่างเต็มที่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการทำงาน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลิน จนรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปอย่างรวดเร็วซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะนอกจากจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังถือเป็นอีกหนทางในการฝึกสมาธิท่ามกลาง ‘Hustle Culture’ หรือ ‘วัฒนธรรมแห่งความเร่งรีบ’ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับโลกที่หมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ แต่โดยส่วนใหญ่จะถูกพูดถึงในบริบทของการงานนั่นเอง 

ในบทความนี้จะพาไปรู้จัก 3 วิธีที่ จะทำให้ "หัวหน้า" พาทีมเข้าสู่ภาวะ Flow State ได้

1.เข้าใจว่าทุกคนมีช่วงเวลาที่ผิดพลาดกันได้

ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาดได้ และเมื่อทำพลาดทุกคนก็จะได้เรียนรู้ถึงความผิดพล่กนั้น ๆ แต่ทั้งนี้เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น มันเป็นเรื่องง่านมากที่จะพลาดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ไปด้วย เพราะพวกเขาจะโฟกัสไปที่การแก้ไขความผิดพลาดของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ทุบตีตัวเองเพราะทำสิ่งผิดพลาดตั้งแต่แรก และรู้สึกผิดไปพร้อม ๆ กันด้วย ฉะนั้นเมื่อพวกเขาทำผิดพลาด สิ่งที่ "หัวหน้า" จะสามารถทำได้คือ คำถามที่คุณควรฟีดแบ็กกับเขาไม่ใช่ "คุณทำผิดอะไร" แต่เป็น "คุณเรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดนั้น" 

2.มองเห็นจุดแข็งที่ทีมมี

คำติชม เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ผู้คนสามารถเรียนรู้ได้ในที่ทำงาน แต่บ่อยครั้งความเป็นทางการ เวลา และคำติที่บ่อยเกิดไปกลายเป็นตัวขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ ดังนั้นสิ่งที่ทำให้คนทำงานเรียนรู้และตระหนักถึงความผิดพลาดของตัวเองได้คือ แทนที่จะติอย่างเดียว ลองมองหาสิ่งที่ลูกน้องคุณทำแล้วได้ผลดี รวมถึงการให้คำชมและชี้ถึงจุดแข็งให้พวกเขาได้เห็น และเห็นว่า 'หัวหน้า' ของตัวเองก็มองออกเหมือนกัน เป็นวิธีการที่จะช่วยพัฒนาน้องในทีมอย่างปลอดภัยได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้อย่างลื่นไหลได้อีกด้วย

รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประชุมเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้ข้อเสนอแนะที่คุณให้ไปกลายเป็นส่วนหนึ่งของวาระการประชุมแทนที่จะเป็น "ส่วนเสริม" ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การลดจำนวนวาระการประชุมลง เพื่อสร้างเวลาให้พนักงานได้แบ่งปันความรู้ในช่วงเวลานั้น เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนได้ฝึกฝน การเล่าถึงข้อกังวล หารือเกี่ยวกับความเสี่ยง และเสนอแนวคิดเพื่อการปรับปรุงด้วยวิธีที่ปลอดภัย

3.มีสนาม หรือ พื้นที่ให้ทดลองที่จะผิดพลาดและเรียนรู้ 

การทดลองเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในกระบวนการทำงาน ซึ่งหัวหน้าจะต้องมองหาโอกาสง่าย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนได้ทดลอง ซึ่งพบว่าการใช้เฟรมเวิร์กในการมีพื้นที่ที่ให้ทีมได้ทดสอบ ผิดพลาด และเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนั้นเป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยขยายพื้นที่ในการต่อยอดไอเดีย และเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมไปด้วยกัน

โดยบทบาทของหัวหน้างาน คือ การจัดเตรียมพื้นที่ การเตือน และโอกาส สำหรับสมาชิกในทีมโดยหัวหน้าสามารถเริ่มกระบวนการนี้ได้ผ่าน 3 วิธี เข้าใจข้อผิดพลาด มองเห็นจุดแข็งที่ทีมมี และมีพื้นที่ให้ทดลอง เพื่อให้ทีมเข้าสู่ Flow State ในการทำงานได้

โดยให้พนักงานพิจารณาจากคำถาม 3 ข้อดังนี้

Pitch: แนวคิดใดในการปรับปรุงที่จะสนับสนุนให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์ในไตรมาสนี้ ? 

Prototype: เพื่อให้แนวคิดนั้นเกิดขึ้นและเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด จะต้องเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนแปลงอะไร ?

Pilot: คุณจะทดสอบแนวคิดนั้นอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ?

ทั้งหมดนี้เมื่อทีมคุ้นเคยกับกรอบการทำงานแล้ว พวกเขามักจะเริ่มใช้ในเชิงรุกกับส่วนต่าง ๆ ของการทำงานของตน และจะทำให้การทำงานนั้น Flow ตัวอย่างเช่น สมาชิกในทีมอาจเริ่มพูดกับหัวหน้าของพวกเขาว่า “ฉันสามารถอธิบายไอเดียที่มีแบบสั้นๆ ได้หรือไม่ ? ” เมื่อได้โอกาสตรงจุดนี้ ทีมจะเริ่มมองเห็นโอกาสในการสร้าง Prototype ร่วมกันนั่นเอง

เพราะเมื่อไรที่ทีมไม่พบวิธีเรียนรู้ขณะทำงาน พวกเขาจะจำกัดประสิทธิภาพการทำงานของตัวเอง จนกระทั่งกลายเป็นส่วนสำคัญของการทำงานที่เกิดขึ้น ดังนั้นการผลักดันให้พนักงานหรือทีมมีภาวะ Flow State หรือการตั้งใจ และจดจ่อกับการทำงาน จะทำให้ประสิทธิภาพของงานนั้น ๆ ได้ผลตามต้องการ และทำให้บริษัทฯ เติบโตได้ในที่สุด และนี่คือสิ่งที่ "หัวหน้า" จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ในกระบวนการทำงาน และวิธีการนำไปใช้กับทีมของตัวเองนั่นเอง

อ้างอิง Harvard Business Review  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...