นวัตกรรมกับความบังเอิญ ตอนที่ 1: Post-It | Techsauce

นวัตกรรมกับความบังเอิญ ตอนที่ 1: Post-It


ทุกๆคนคงเคยใช้ Post-it มาบ้างไม่มากก็น้อย แต่คงมีไม่กี่คนที่รู้ว่า post-it เกิดจากความไม่ตั้งใจ และความตั้งใจ

ในปี ค.ศ. 1968 Dr. Spencer Silver นักวิทยาศาสตร์ของ 3M กำลังพยายามค้นคว้าวิจัยหากาวใหม่ที่ติดทน ติดนาน และติดดี เพราะใครๆ ก็คงอยากได้กาวแบบนั้น แต่ด้วยความบังเอิญทำให้เขาประดิษฐ์กาวที่ติดไม่ทน ไม่นาน และสามารถดึงออกได้ง่ายโดยไม่ทำลายพื้นผิว ถ้าเป็นคนทั่วไปคงทิ้งสูตรนี้ไป และไม่ให้ความสำคัญกับมัน เอาเวลาไปหากาวตราช้างดีกว่า แต่เขาคิดว่ามันน่าจะทำอะไรได้ และพยายามเอาเรื่องนี้ไปเล่าในที่ประชุมของ 3M ครั้งแล้วครั้งเล่า เล่าไปเล่ามาเวลาผ่านไป 5 ปีกว่า จนในปี ค.ศ. 1974 นาย Art Fry ซึ่งชอบร้องเพลงในโบสถ์ก็หัวเสียทุกๆ ครั้งเวลาที่คั่นสมุดเพลงมันร่วงหลุดจากที่เวลาที่เขาพลิกสมุดเพลงไปมา Art จึงเอาผลงานของ Spencer มาลองใช้กับที่คั่นหนังสือเขาและได้ผลดี มันไม่หลุดจากที่ แต่เขาสามารถย้ายมันไปมาได้ โดยไม่ทำลายหน้ากระดาษ
Art และ Spencer จึงมานั่งคิดและอาจจะยืนและนอนคิดด้วย จึงเห็นว่าจริงๆ แล้วมันสามารถเอาไปใช้ในการทิ้งโน้ตให้กับเพื่อนร่วมงานหรือคนในครอบครัวเวลาไม่เจอกัน และได้สร้าง post-it ขึ้นมา โดยตอนนั้น Art มีเพียงกระดาษสีเหลืองอยู่ใกล้ตัวจึงจำใจเลือกใช้กระดาษสีเหลืองมาทำเป็น post it ในสีที่เราคุ้นตาอยู่ทุกวันนี้ และนำออกขายในชื่อ press’n peel ในสี่เมืองในปี 1977 แต่ขายไม่ค่อยออก จนปี 1979 3M เปลี่ยนชื่อ และนำไปแจกตามที่ทำงานเมือง Boise ในรัฐ Idaho ซึ่งก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี จนขายไปทั่วโลก และมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ post-it กว่า 600 ผลิตภัณฑ์ 8 ขนาด 25 รูปแบบ และ 62 สี

มีอะไรน่าสนใจเต็มไปหมดในเรื่องนี้ ไม่ว่า
  • post-it ใช้เวลา 11 ปีกว่าที่จะประสบความสำเร็จ หากไม่มีคนคอยพยายามทำให้สำเร็จมันคงเป็นสิ่งที่ล้มเหลวไปนานแล้ว ดังนั้นนวัตกรรมไม่ใช่แต่ไอเดีย มันเป็นกระบวนการตั้งแต่การริเริ่มไอเดีย จนทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ อาศัยความร่วมมือ และความสามารถของคนหลายๆ คน เหมือนอาหารที่อร่อยต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว
  • Art และ Spencer ใช้นโยบายของ 3M ที่ชื่อว่า Permitted bootlegging policy ที่อนุญาตให้พนักงาน (ทุกคนไม่ใช่แค่นักวิจัย) ใช้เวลา 15% ของเวลางานไปทำอะไรที่ตัวเองคิดว่าอาจจะมีประโยชน์ หากไม่มีนโยบายนี้ เราอาจจะไม่ได้เห็น post-it
  • Spencer ค้นพบผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์แต่ไม่มีใครสนใจ ไม่ได้แปลว่าไม่มีใครสนใจจริงๆ แค่ลูกค้าอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร สิ่งสำคัญที่สุดของนวัตกรรมนี้คือการหาตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ไม่ใช่การคิดค้นผลิตภัณฑ์
  • สิ่งที่คนอื่นคิดว่าเป็นการล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ อาจจะเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ก็เป็นได้
    ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า post-it เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่คนยังต้องพูดถึง และมันยังเป็นบ่อเกิดแห่งไอเดียต่างๆ เพราะทุกวันนี้เวลามีไอเดียใหม่ๆ ก็ต้องเขียนไว้บน post-it ถ้าไม่มี post-it design thinking คงน่าจะลำบากเลยทีเดียวนะ
บทความนี้เป็น Guest Post โดย ณัฐ เหลืองนฤมิตชัย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...