ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วย AI การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและนวัตกรรม การพัฒนาความเข้าใจขีดความสามารถของ AI รวมกับเข้าใจจุดที่ทักษะของมนุษย์สามารถเติมเต็มได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะเป็นสิ่งที่สร้างความก้าวหน้าที่ยั่งยืน โดยภายในปี 2030 AI สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้สูงถึง 15.7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 542.91 ล้านล้านบาท จากการลดภาระในงานที่ซับซ้อนและเสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์
อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างเหมาะสม ด้วย 4 วิธีการสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ดังต่อไปนี้
หัวใจสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI คือการทำความเข้าใจว่างานใดที่ดึงศักยภาพที่ดีที่สุดของทั้งคนและ AI ออกมาได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจว่า AI และมนุษย์สามารถทำงานในบทบาทใดได้ดีที่สุดนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
AI มีความสามารถในการจัดการงานที่ต้องทำซ้ำหรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก ในขณะที่มนุษย์มีจุดเด่นในด้านความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ และการใช้วิจารณญาณ
การประเมินทักษะทั้งของมนุษย์และ AI อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มนุษย์มุ่งเน้นที่งานที่มีมูลค่าสูง การวัดผลทักษะยังช่วยรักษาความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพของ AI และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์
หากองค์กรพึ่งพา AI มากเกินไป หรือใช้งานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ AI ในงานที่ต้องการอารมณ์และความเห็นอกเห็นใจ จุดอ่อนนี้อาจนำไปสู่ปัญหาทั้งในด้านประสิทธิภาพและจริยธรรม องค์กรไม่ควรประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปในงานที่ซับซ้อน เช่น งานบริการลูกค้าที่ต้องการความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งไปมองข้ามทักษะที่มนุษย์มี เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ หรือความสามารถในการปรับตัว เป็นต้น
AI มีขีดจำกัดในด้านการเข้าใจบริบทเชิงวัฒนธรรม ความตระหนักในสถานการณ์ และความสามารถในการแสดงความเห็นอกเห็นใจ การประเมินจุดแข็ง-จุดอ่อนของมนุษย์ควบคู่ไปกับการประเมิน AI จะช่วยให้องค์กรสามารถออกแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โลกของการทำงานเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นเดียวกับบทบาทของมนุษย์และ AI ที่ต้องทำงานร่วมกัน เมื่อ AI เข้ามาช่วยงานอัตโนมัติในงานที่ซ้ำซากและจำเจ ความต้องการทักษะใหม่ของมนุษย์จึงเพิ่มขึ้น ทักษะอย่างความสามารถในการปรับตัว ความยืดหยุ่น การสื่อสาร และความรู้เกี่ยวกับ AI ไม่ใช่แค่สิ่งที่ "ควรมี" แต่เป็นสิ่งที่ "ต้องมี" เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในอนาคต
หนึ่งในทักษะสำคัญที่กำลังเป็นที่ต้องการคือ การออกแบบคำสั่ง (Prompt Engineering) ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างคำสั่งที่ชัดเจนและแม่นยำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์จาก AI
รายงาน ETS 2025 Human Progress Report ยังระบุว่า 76% ของพนักงานเชื่อว่า AI จะสร้างทักษะใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน การวัดและพัฒนาทักษะเหล่านี้อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้องค์กรและพนักงานพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงานที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
การใช้ AI อย่างไม่มีจริยธรรมอาจสร้างการมีอคติ หรือการละเมิดความเป็นส่วนตัวได้ จากการศึกษาของ ETS Research Institute พบว่า การใช้ AI ในการตรวจคะแนนเรียงความทำให้ผลลัพธ์มีความคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะกับนักเรียนชาวเอเชียอเมริกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาของอคติใน AI หากไม่ระมัดระวัง
เพื่อแก้ปัญหานี้ AI ต้องมีความโปร่งใสและใช้ข้อมูลการฝึกอบรมที่หลากหลาย การใช้ข้อมูลที่หลากหลายและเป็นธรรมในการฝึกฝน AI จะช่วยลดอคติที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความมั่นใจว่า AI จะสามารถให้บริการทุกคนได้อย่างเท่าเทียม การเปิดเผยที่มาของข้อมูลและกระบวนการทำงานของ AI จะช่วยสร้างความไว้วางใจ และทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่า AI ทำงานอย่างไร การนำหลักจริยธรรมมาประกอบในการพัฒนา AI จะช่วยให้เทคโนโลยีไม่เพียงแต่ทำงานได้ดี แต่ยังส่งเสริมความยุติธรรมและสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใช้ได้
AI ที่มีความรับผิดชอบไม่ใช่แค่การทำงานตามเกณฑ์ชี้วัด แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นเทคโนโลยีตอบสนองต่อคุณค่าและความต้องการของมนุษย์อย่างแท้จริง
ในอนาคตการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือก แต่เป็นความจำเป็นในการขับเคลื่อนอนาคต เราต้องเตรียมพร้อมทั้งทักษะของมนุษย์และพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสร้างโลกที่เทคโนโลยีและมนุษย์เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน การวัดทักษะและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือรากฐานสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ที่ประสบความสำเร็จ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านนี้ การผสานพลังของ AI เข้ากับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ คือโอกาสครั้งสำคัญที่เราต้องร่วมกันสร้างสรรค์อนาคตที่เป็นประโยชน์กับทุกคน
อ้างอิง: weforum.org
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด