"Founder Mode" วิถีแห่งผู้นำยุคใหม่หรือแค่ One-Man Show ที่กำลังจะล้าสมัย? | Techsauce

"Founder Mode" วิถีแห่งผู้นำยุคใหม่หรือแค่ One-Man Show ที่กำลังจะล้าสมัย?

Silicon Valley ดินแดนแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ซึ่งไอเดียใหม่ๆ ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่ท่ามกลางกระแสแห่งความคิดสร้างสรรค์นี้เอง กลับมีคำศัพท์ใหม่ที่จุดประกายความขัดแย้งขึ้น นั่นคือ "Founder Mode" แนวคิดการบริหารแบบ 'ลงมือทำเองทุกอย่าง' ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรงในหมู่ Startup และ Tech Company

Founder Mode

จุดเริ่มต้นของ Founder Mode: เมื่อ CEO คือทุกสิ่ง

เรื่องราวเริ่มต้นจาก Paul Graham ผู้ร่วมก่อตั้ง Y Combinator อินคิวเบเตอร์ชื่อดัง ได้เขียนบทความเปรียบเทียบรูปแบบการบริหารแบบ "Founder Mode" กับ "Manager Mode" โดยชี้ว่า Founder Mode คือการที่ CEO เข้าไปควบคุมทุกกระบวนการทำงานด้วยตัวเอง ต่างจาก Manager Mode ที่เน้นการกระจายอำนาจและมอบหมายงานให้ทีมงาน

Paul ยกตัวอย่าง Brian Chesky แห่ง Airbnb ที่เคยเผชิญกับความล้มเหลวจากการบริหารแบบเดิมๆ จนกระทั่งได้แรงบันดาลใจจาก Steve Jobs ตำนานแห่ง Apple ที่ขึ้นชื่อเรื่องการควบคุมทุกขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด Chesky นำแนวคิดนี้มาปรับใช้ จน Airbnb กลายเป็น Startup ระดับ Unicorn ที่มีอัตรากระแสเงินสดอิสระสูงติดอันดับต้นๆ ของ Silicon Valley  (แม้ราคาหุ้นจะร่วงกว่า 15% ในปีนี้ก็ตาม) เหมือนเป็นการตอกย้ำว่า Founder Mode คือสูตรสำเร็จของธุรกิจยุคใหม่

เบื้องหลัง 'ความสำเร็จ' : Founder Mode กับเงาของผู้นำเผด็จการ

แม้ Graham จะไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนของ Founder Mode แต่เราสามารถเห็นภาพได้จากบุคคลสำคัญในวงการ Tech เช่น

  • Steve Jobs (Apple): อัจฉริยะผู้พลิกโฉมวงการเทคโนโลยี แต่ก็ขึ้นชื่อเรื่องความ perfetionist และการกดดันลูกน้องอย่างหนัก
  • Jeff Bezos (Amazon): มหาเศรษฐีผู้ครอบครองอาณาจักร E-commerce ขึ้นชื่อเรื่องการบริหารแบบ "Micro-manage"
  • Elon Musk (Tesla, SpaceX): เจ้าพ่อแห่งวงการ Tech ผู้ควบตำแหน่ง CEO ถึง 6 บริษัท แต่ก็มักสร้างปัญหาจากการทวีตข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและมีข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติ
  • Jensen Huang (Nvidia): ผู้นำบริษัทผู้ผลิตชิป ที่มีลูกน้องรายงานตรงกว่า 60 คน! และเคยพูดว่าชอบ "เค้นศักยภาพ" พนักงานที่ทำงานแย่ มากกว่าจะไล่ออก

Founder Mode กับด้านมืดที่ถูกซ่อนไว้

อย่างไรก็ตาม Founder Mode ก็มีข้อจำกัด ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาแสดงความกังวล เช่น

Rich Hagberg นักจิตวิทยาชี้ว่า Founder ที่ไม่ยอมปล่อยวางการควบคุม มักเผชิญปัญหาในการขยายธุรกิจ เสี่ยงต่อการหมดไฟ และกลายเป็น 'คอขวด' ที่ฉุดรั้งองค์กร

ด้าน Ashley Herd ผู้ก่อตั้ง Manager Method มองว่า Founder Mode อาจสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานในระยะสั้น แต่ไม่ยั่งยืน และอาจเป็นสาเหตุให้พนักงานลาออก 

ความสมดุลคือกุญแจสำคัญ

Jessica Lessin ผู้ก่อตั้งเว็บข่าว The Information สรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า "ผู้ก่อตั้งควรเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ แต่พวกเขามักเป็นเจ้านายที่น่ารำคาญ"

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ต้องรู้จักสร้างทีมผู้บริหารที่แข็งแกร่ง เช่นเดียวกับที่ Steve Jobs มี Tim Cook คอยสนับสนุน

Founder Mode อาจเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่การนำไปใช้ต้องคำนึงถึงความสมดุล และความยั่งยืนในระยะยาว ไม่ใช่แค่การลอกเลียนแบบความสำเร็จของคนบางกลุ่ม

เพราะสุดท้ายแล้ว การบริหารแบบ "เผด็จการ" แม้จะมาในคราบของ "วิสัยทัศน์" ก็อาจนำพาองค์กรไปสู่หายนะได้เช่นกัน

อ้างอิง CNN

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 วิธีเสริมแกร่งองค์กร เตรียมพร้อมสู่ยุคคนทำงานร่วมกับ AI สร้างสรรค์นวัตกรรมและเติบโตอย่างยั่งยืน

การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างเหมาะสม ด้วย 4 ว...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...