จากงาน Techsauce Global Summit ในวันแรก (26 สิงหาคม 2565) ที่ผ่านมา Erin Meyer ผู้เขียนหนังสือ The Culture Map: Breaking Through the Invisible Boundaries of Global Business ได้มาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารที่แตกต่างกันของคนในแต่ละชาติ ในห้อง Main Stage ในหัวข้อ The Culture Map: Decoding How People Communicate, Lead, and Get Things Done Around the World
ในแต่ละประเทศมีระดับของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน Erin Meyer ได้รวบรวมความแตกต่างของวัฒนธรรม (Culture) ของแต่ละประเทศ เพื่อหาคำตอบว่า ทำไมการสื่อสารกับคนแต่ละประเทศ ถึงให้ความหมายที่แตกต่างกัน และจะต้องสื่อสารอย่างไร ? ให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้
ในการสื่อสารของมนุษย์ นอกจากจะคำพูดที่เราพูดออกไปจะกำหนดความหมายแล้ว บริบท (Context) ในสถานการณ์นั้นนั้นยังกำหนดความหมายของสิ่งที่เราพูดอีกด้วย
จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ทำให้คนในประเทศใส่ใจต่อบริบทที่แตกต่างกัน โดย Erin ได้จัดกลุ่มของประเทศที่สื่อสารโดยแบ่งเป็น
ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ตอน Erin ทำงานกับคนญี่ปุ่น Erin เคยถามคนญี่ปุ่นว่า หากใครมีคำถามให้ถามเธอได้เลย แต่กลับไม่มีใครยกมือถาม หลายคนยังไม่มองมาที่เธอด้วยซ้ำ
เพื่อนของเธอที่เป็นคนญี่ปุ่นจึงหันมาบอกเธอว่า เดี๋ยวเขาถามให้เอง คนญี่ปุ่นยืนขึ้นโดยไม่ได้พูดอะไร หันมองไปที่ผู้เข้าร่วมทีละคน จนไปหยุดที่ผู้ชายคนนึงและถามว่า คุณอยากจะถามอะไร ชายคนนั้นขอบคุณเขา และถามคำถามที่น่าสนใจมากออกมา
ในภายหลัง Erin ถามเพื่อนของเธอ และได้คำตอบว่า ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น หากเขามีคำถามเขาจะมองหน้าผู้พูด และรอให้ผู้พูดถามกับเขาตรง ๆ เขาจึงจะถาม นี่คือตัวอย่างของความแตกต่างของการแสดงออกที่มีนัย
Erin ยกตัวอย่างการให้ความเห็น (Feedback) ที่แตกต่างกันของคน 3 ชาติที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การแก้ไขสัญญา
คนเนเธอร์แลนด์ให้ความเห็นต่อสัญญาว่า “สัญญาที่ทำนั้นยังอ่อนไป (Weak) แต่สามารถปรับปรุงได้” สิ่งนี้ทำให้คนอังกฤษรู้สึกว่าเป็น Feedback ที่โจมตีที่ตัวเขามากกว่าสัญญา
ส่วนคนอังกฤษ จะให้ความเห็นต่อสัญญาว่า “สัญญานี้ ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลย มันดีมากแล้ว แต่อยากแนะนำ (Suggest) สักเล็กน้อยที่สามารถทำให้สัญญารัดกุมขึ้นได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย” Feedback นี้ ทำให้คนเนเธอร์แลนด์แก้สัญญาไปเพียงเล็กน้อย และทำให้คนอังกฤษไม่พอใจ
ส่วนคนสหรัฐอเมริกาให้ความเห็นต่อสัญญาด้วยการชื่นชม พูดถึงแง่บวกของสัญญาเพื่อแสดงความเคารพ แล้วจึงพูดถึงสิ่งที่อยากปรับปรุงในสัญญา ซึ่งก็อาจทำให้คนที่มาจากอีกวัฒนธรรมคิดว่างานของเขาดีแล้ว และไม่ต้องปรับปรุงอีกได้
ทั้งหมดนี้ เกิดจากวัฒนธรรมในการ Feedback ของแต่ละชาติที่เราต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้สามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง
จุดสังเกตสุดท้ายในการสื่อสารคือ ความเงียบ ที่เป็นสื่อสารแบบหนึ่ง โดย Erin สังเกตว่าคนสหรัฐอเมริกาสามารถรู้สึกอึดอัดเมื่อคู่สนทนาเงียบไปเพียง 2 วินาที แต่คนญี่ปุ่นอาจจะเริ่มอึดอัดเมื่อคู่สนทนาเงียบเกิน 12 วินาที
เพราะคนญี่ปุ่น (และคนในกลุ่มภาษาเอเชีย) จะสบายใจกับความเงียบมากกว่าและอึดอัดที่จะต้องพูด ในทางตรงกันข้ามคนกลุ่มภาษาแองโกล-แซกซันจะสบายใจกับการพูดออกมามากกว่าและอึดอัดกับความเงียบ
เช่นในตัวอย่างของอรุณ ที่ได้รับเลือกจากบริษัทให้เดินทางไปประชุมร่วมกับทีมในสาขาออสเตรเลีย เขาเตรียมการและข้อมูลมากมายที่เพื่อไปพูดในการประชุม แต่สุดท้ายในการประชุมไม่มีคนเรียกให้อรุณพูด เขาจึงไม่ได้พูดในการประชุมเลย จนกระทั่งเดินทางกลับไทย และสาขาในออสเตรเลียส่งข้อมูลให้บริษัทในไทยว่าอรุณไม่ได้มีส่วนร่วมกับการประชุมเลย นั่นเป็นเพราะวัฒนธรรมของไทย ที่เลือกที่จะเงียบมากกว่าการแสดงตนเพื่อพูด
Erin ได้ให้คำแนะนำว่า เราอาจตีความสิ่งที่คู่สนทนาเราพูดด้วยจากความเคยชินของเราเอง และทำให้เข้าใจผิดไปได้ สิ่งที่ดีที่สุดอาจเป็นการถามเพิ่มเติมจากสิ่งที่เขาพูด เพื่อทำให้เราแน่ใจมากขึ้น
รวมทั้ง การเข้าใจต่อระดับความใส่ใจต่อทั้ง (1) บริบท (2) วิธีการให้ความเห็น (3) ความหมายของความเงียบ ที่แตกต่างกันของคนในแต่ละชาติ จะทำให้เราเข้าใจและตีความการสื่อสารของคนจากหลากหลายชาติที่เราต้องทำงานร่วมกันได้ตรงความหมายมากขึ้น
ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย
.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด