Generous listening ทักษะการ ‘ฟัง’ ที่ ‘ผู้นำ’ ต้องมี | Techsauce

Generous listening ทักษะการ ‘ฟัง’ ที่ ‘ผู้นำ’ ต้องมี

สิ่งสำคัญอย่างนึงที่เราได้เรียนรู้จากกระแส ‘การลาออกระลอกใหญ่’ (Great Resignation) หรือแม้แต่กระแสล่าสุดอย่าง ‘การทำงานเท่าที่จำเป็น’ (Quiet Quitting) คือการที่เราในฐานะผู้นำนั้น บกพร่องต่อการเปิดใจรับฟังพนักงานหรือคนในทีม ซึ่งหมายความว่า ‘เรามองไม่เห็นปัญหาที่กำลังสะสมอยู่นั่นเอง’ ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับ ทักษะอย่าง 'Generous listening' ที่ไม่ใช่แค่ One-Way Communication แต่ถือเป็นทักษะการรับฟังอย่างเปิดกว้าง และนับเป็น Soft Skill อันดับต้น ๆ ที่คนเป็น ‘ผู้นำ’ ต้องมี 

Generous listening

                        ทักษะ 'Generous listening' เป็นอย่างไร ?  

ทำไมเราต้องฟังพนักงาน ?

เส้นทางหนึ่งที่เราสามารถทำได้และควรทำ นั่นคือ การรับฟังพนักงานของเราใจกว้าง  เพื่อแสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วม ความทุ่มเท และความมุ่งมั่นในการทำงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเพื่อนร่วมงานและผู้นำสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและจริงใจเท่านั้น จะช่วยสร้างความไว้ใจต่อกัน และเชื่อมสัมพันธ์ที่ดี ทำให้คนทำงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริง

 Generous listening หรือการรับฟังอย่างเปิดใจ คืออะไร ? ขยายความง่าย ๆ คือ เป็นทักษะในการฟังเสียงตัวเรา เสียงคนอื่น และเสียงรอบข้าง ด้วยความใจกว้าง

เรานิยามแบบกว้างๆ ว่า เป็นการรับฟังให้มากกว่าแค่คำพูด แต่รับฟังไปถึงแก่นและจิตใจของผู้พูด โดยความใจกว้างมีรากฐานมาจากความเข้าใจในความเป็นอยู่ของกันและกันในระดับปัจเจกบุคคล โดยความใจกว้างบ่งบอกถึง ความเปิดใจ ความกล้าหาญ ความสงสัย ความกระตือรือร้น ทั้งนี้จุดประสงค์ของการรับฟังอย่างเปิดใจ หรือ ใจกว้างจะประกอบด้วย ความเข้าใจ การเอาใจใส่ ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมกันดีขึ้น และเกิดความเชื่อมโยงอย่างแท้จริงนั่นเอง

The purposes of generous listening include understanding, empathy, better collaboration and genuine connectedness. Image: Vuslat Foundation


การฟังอย่างใจกว้างในที่ทำงาน 

การตั้งใจฟังในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องง่าย โดยคนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับรูปแบบความเป็นผู้นำที่สื่อสารในทิศทางตรง ผ่านคำพูดและการแสดงออกที่ชัดเจน มากกว่ารูปแบบที่ยกระดับการฟัง ที่กระตุ้นให้เกิดการรวมเป็นหนึ่ง และมีความเห็นตรงกันหรือไปในแนวทางเดียวกัน

ซึ่งตอนนี้ถือได้ว่าอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้น ท่ามกลางการทำงานหลังยุคโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งผู้นำมีโอกาสสำคัญในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมขององค์กร

นั่นคือโอกาสที่จะเลือกที่จะยกระดับการฟังอย่างใจกว้าง หรือเปิดใจ พร้อมกับสร้างระบบที่ครอบคลุม เพื่อส่งเสริมความคิดที่หลากหลาย ทั้งหมดนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และสามารถเติมเต็มศักยภาพของตนได้

จากงานวิจัย พบว่า การตอบสนองของผู้ฟัง และการให้ความสำคัญกับการฟัง หรือ การสนทนา จะเพิ่มปริมาณของข้อมูลที่แสดงออก และขอบเขตที่ผู้ฟังเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้พูด 

นอกจากนี้ การฟังยังส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของผู้พูดด้วย รวมถึงการตระหนักรู้ของตนเองในที่ทำงาน หมายความว่า การเปิดใจรับฟัง ของผู้นำไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพงานและความรู้ของพนักงานเท่านั้น แต่ยังปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยทางจิตใจ ด้วยการลดความเหนื่อยหน่าย ความอ่อนล้าทางอารมณ์ และความเครียด การสร้างความรู้สึกให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและมีคุณค่าจะสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงและปลูกฝังความรู้สึกไว้วางใจและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้ในที่สุด

อยู่กับผู้พูด / ให้ความสนใจกับผู้ที่อยู่ตรงหน้า อย่างเต็มที่ 

‘เมื่อเราต้องฟังผู้อื่น’ ขั้นแรกให้พยายามทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่อีกฝ่ายจะพูด อย่าพยายามกำหนดคำตอบในขณะที่พวกเขาพูด หรือการทำอะไรบางอย่างไปพร้อม ๆ กันขณะฟัง และปล่อยให้ความคิดของคุณล่องลอย โดยคุณจะต้องอยู่กับปัจจุบันและเอาใจใส่ พร้อมกับขจัดสิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟังอย่างเปิดกว้าง รวมทั้งวางโทรศัพท์ไว้ไกลตัว และหากคุณอยู่ที่โต๊ะทำงาน ให้ปิดแล็ปท็อปหรือหันเก้าอี้ไปทางบุคคลที่คุณกำลังฟัง

ละทิ้งความอคติ และความลำเอียง

การฟังอย่างใจกว้าง ถือเป็นการฝึกฝนความเห็นอกเห็นใจด้วยเช่นกัน และด้วยสิ่งนี้เมื่อคุณฟังอย่างใจกว้าง แสดงว่าคุณพยายามมองโลกผ่านมุมมองของผู้อื่น และเข้าใจความคิดและความรู้สึกของพวกเขา สิ่งนี้จะไม่มีทางเป็นไปได้อย่างเต็มที่หากคุณใช้วิจารณญาณหรือนำอคติส่วนตัวมาตัดสิน เพราะไม่เช่นนั้นการสนทนาเช่นนี้มีแนวโน้มที่จะเจอทางตันนั่นเอง 

ฟังเพื่อเรียนรู้

เราทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งตรงจุดนี้เราสามารถนำประสบการณ์ที่แตกต่างมาใช้ในที่ทำงานได้ เนื่องจากแต่ละคนมีการศึกษา และความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าคุณจะได้อะไรจากการฟังใครสักคน แต่เมื่อคุณพบใครสักคน พยายามคิดว่าการฟังเป็นโอกาสในการเรียนรู้ที่ถือเป็น ‘ของฟรี’  รวมทั้งการมีส่วนร่วมในหัวข้อที่สนทนากับบุคคลนั้นจะช่วยให้คุณสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

อย่าขัดจังหวะ

คนที่เป็น ‘ผู้นำ’ ต้องรู้จักเคารพเพื่อนร่วมงาน และให้ความสนใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับสิ่งที่เขาแบ่งปัน แทนที่จะขัดจังหวะการสนทนา และทำลายความสัมพันธ์ของสมาชิกในทีม ดังนั้นผู้นำควรพยายามเอาใจใส่ทีม พร้อมกับรับฟังอย่างใจกว้างมากกว่าการให้แค่ ‘คำพูด’ เพราะการทำเช่นนี้ถือเป็นต้นแบบให้ทีมสามารถนำไปเป็นตัวอย่างที่ดีได้ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นรากฐานในการปลูกฝังวัฒนธรรมการฟังที่เปิดกว้างมากขึ้นในที่ทำงาน 

ดังนั้นจึงถือได้ว่า ‘Generous listening’ ไม่ได้เป็นแค่ One-way communication แต่เป็น Soft Skill การฟังอย่างเปิดกว้าง ที่ทั้งผู้นำ และพนักงานเองต่างก็ต้องมีทักษะนี้ เพื่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้อย่างครบถ้วน

ซึ่งการฟังอย่างตั้งใจแบบนี้จะทำให้เราเข้าใจคุณค่าและจุดประสงค์ของบทสนทนามากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแบ่งปันความคิดเห็นกันในทีม หากหัวหน้าและองค์กรฟังพนักงานอย่างตั้งใจก็จะช่วยสร้างความไว้ใจต่อกัน คนทำงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริง

อ้างอิง World Economic Forum

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...

Responsive image

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

วิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล...