สร้างโครงการฝึกงาน (Internship program) ยังไงให้สำเร็จ ได้ประโยชน์ทั้งบริษัทและเด็กฝึกงาน | Techsauce

สร้างโครงการฝึกงาน (Internship program) ยังไงให้สำเร็จ ได้ประโยชน์ทั้งบริษัทและเด็กฝึกงาน

การสร้างโปรแกรมการฝึกงาน (Internship program) ที่ดี ไม่ได้มีประโยชน์แค่กับนักศึกษาฝึกงาน แต่ยังเป็นผลดีกับองค์กร เพราะบริษัทที่มีระบบการฝึกงานดี สวัสดิการการฝึกงานดี ย่อมดึงดูดนักศึกษาฝึกงานที่มีคุณภาพเข้ามา แล้วเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาวได้ และนี่คือ 5 วิธีที่บริษัทควรทำ เพื่อสร้างโปรแกรมฝึกงานให้ได้ประโยชน์ที่สุด 

จ่ายค่าจ้างเด็กฝึกงานเป็นเรื่องดีและควรทำ

การฝึกงานโดยมีค่าตอบแทนให้ (Paid Internship) สำคัญต่อการพัฒนาแนวคิด DEI ซึ่งเป็นแนวคิดที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยเน้นความหลากหลายและความเท่าเทียมของบุคลากร

นอกจากนี้ การให้ค่าตอบแทนยังบ่งบอกถึงการให้คุณค่าแก่นักศึกษาฝึกงาน เพราะมันหมายถึงบริษัทชื่นชมผลงานพวกเขาและเน้นย้ําว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมจริง ๆ  อีกทั้งยังเป็นการผลักดันให้ผู้จัดการมอบหมายงานและปฏิบัติแก่นักศึกษาฝึกงานให้เท่าเทียมเหมือนกับพนักงาน full-time การจ่ายค่าจ้างให้นักศึกษาฝึกงานจึงเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ

สร้างระบบเมนเทอร์ดี วินวินทั้งคู่ 

หลายบริษัทพนักงานกับนักศึกษาฝึกงานขาดการเชื่อมต่อและเข้าถึงกัน ทำให้บริษัทก็ไม่ได้ดึงศักยภาพของนักศึกษาฝึกงานออกมาเต็มที่ และพวกเขาที่ตั้งใจมาหาความรู้และประสบการณ์ก็ไม่ได้รับมันเท่าที่ควร

วิธีสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาฝึกงานกับพนักงานที่ดีที่สุดคือ การสร้างวัฒนธรรมพี่เลี้ยง หากนักศึกษาฝึกงานนั่งเบียดกันอยู่ที่มุมห้องห่างไกลผู้คน นั่นแปลว่าองค์กรกําลังแบ่งแยกพวกเขาออกจากทีมทำงานโดยไม่รู้ตัว

สิ่งที่ควรทำคือ เตรียมโต๊ะทำงานให้นักศึกษาฝึกงานเหมือนกับพนักงานคนอื่น ๆ รวมถึงมอบหมายพี่เลี้ยงฝึกงานไว้คอยช่วยเหลือแนะนําตลอดระยะเวลาที่ฝึกงานในออฟฟิศ

ก่อนที่จะเริ่มการฝึกงาน องค์กรอาจให้นักศึกษาฝึกงานทุกคนรวมถึงพี่เลี้ยงทำแบบทดสอบประเมินบุคลิก ภูมิหลัง และความสนใจ เพื่อจับคู่นักศึกษาฝึกงานกับพี่เลี้ยงที่มีผลทดสอบคล้ายคลึงกัน เช่น หากนักศึกษาฝึกงานต้องการพัฒนาทักษะการเขียน ก็จับคู่กับพนักงานที่เป็นนักเขียนดีเด่นของออฟฟิศ

การให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาฝึกงานจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการทํางานที่สร้างสรรค์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพนักงานทุกคนไม่ว่าจะทำงานมานานแค่ไหนก็ตาม

ให้ทำงานที่แสดงศักยภาพ

การจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการฝึกงานนั้น องค์กรต้องมอบหมายให้นักศึกษาฝึกงานได้ทำงานจริง ๆ ไม่ใช่งานธุรการหรืองานเดินเอกสาร ชงกาแฟ ที่ตัดกำลังใจการทำงานและไม่สามารถสร้างผลผลิตที่ดีได้ องค์กรอาจมอบหมายโปรเจคทีมที่ให้นักศึกษาฝึกงานมีส่วนร่วมและสร้างผลงานออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สร้าง Feedback loop

สิ่งที่บริษัทจะได้จากการโปรแกรมการฝึกงานคือความกระตือรือร้น และมุมมองใหม่ ๆ จากนักศึกษาฝึกงาน การจะสร้างผลประโยชน์สูงสุดได้จึงต้องคอยให้ฟีดแบคกับงานที่พวกเขาทำ

นักศึกษาฝึกงานคือสะพานเชื่อมทางวัฒนธรรมที่ดีให้องค์กรได้เรียนรู้มุมมองและเทรนด์ใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ดังนั้นหากมีการประชุมระดมสมอง (Brainstroming) ภายในทีมก็ให้เชิญนักศึกษาฝึกงานมาร่วมด้วย ซึ่งองค์กรสามารถใช้ประโยชน์ตรงนี้ในการถามความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากพวกเขา

ผู้บริหารควรพบปะกับนักศึกษาฝึกงานเป็นประจํา แม้พวกเขาไม่ได้เป็นพนักงาน การสนทนาแบบตัวต่อตัว (One-on-One) เป็นโอกาสที่ดีสําหรับผู้บริหาร ที่จะได้รับฟังข้อมูลแบบจริงใจ ทั้งเรื่องดีและไม่ดีในบริษัทจากปากของพวกเขา เพราะไม่ได้เป็นพนักงาน ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการคอมเมนต์เรื่องที่เกิดขึ้นในออฟฟิศ

การให้ฟีดแบคที่มีประสิทธิภาพคือ การให้ฟีดแบคที่สร้างสรรค์ สะท้อนผลประโยชน์กลับไปยังผู้ฝึกงาน แล้วจะได้เห็นว่านักศึกษาฝึกงานสามารถสะสมความรู้และเสนอแนวคิดได้มากมายแค่ไหนในเวลาเพียงไม่กี่เดือน องค์กรที่มีสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานดีย่อมทำให้ผู้ฝึกงานกล้าที่จะแชร์ความรู้สึกและมูลเชิงลึก

เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ระยะยาว

บริษัทมักใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการคัดเลือกผู้สมัครฝึกงานที่มีศักยภาพ และผู้ผ่านการคัดเลือกก็ใช้เวลาอีกหลายเดือนในการฝึกงานและเรียนรู้อยู่ที่บริษัท ดังนั้นแล้ว องค์กรไม่ควรปล่อยให้บุคคลที่มีศักยภาพนี้เดินออกจากบริษัทไปเปล่า ๆ เมื่อการฝึกงานสิ้นสุดลง

องค์กรควรลงทุนสร้างเครือข่ายที่เหมือนกับ LinkedIn เพื่อให้นักศึกษาฝึกงานเก่ากับนักศึกษาที่ฝึกอยู่ในปัจจุบันสามารถติดต่อกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ โปรแกรมการฝึกงานของบริษัทมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นสําหรับผู้ที่สนใจจะสมัครในอนาคต และยังเป็นการสร้าง Echo chamber (พื้นที่แชร์ความคิดและข่าวสารจากคนกลุ่มเดียวกัน) ที่มีประโยชน์กับองค์กรในอนาคตอีกด้วย โดยสามารถช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งเครือข่ายนี้จะช่วยดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่สนใจในตัวบริษัทได้

การฝึกงานไม่ใช่การมีส่วนร่วมในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่มันคือการลงทุนระยะยาวสำหรับองค์กร

อ้างอิง : Forbes 

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีมงานคุณภาพ เขาทำงานกันยังไง ? เผย 5 สูตรลับที่พนักงานเก่งใช้ในออฟฟิศ

ทีมงานคุณภาพทำงานแตกต่างจากทีมอื่นยังไง บทความนี้จะมาแชร์ 5 ข้อที่ทีมประสิทธิภาพสูงทำในที่ทำงาน...

Responsive image

ระวังหัวหน้าแย่เงียบ เช็ก 3 ลักษณะผู้นำ ‘ยอดแย่’

เช็กด่วนมีคนแบบนี้เป็นหัวหน้าอยู่หรือเปล่า! เจาะ 3 ลักษณะหัวหน้าแย่เงียบ ที่ไม่สังเกตอาจดูไม่ออกและส่งผลร้ายแรงต่อการทำงานของคุณแบบไม่รู้ตัว...

Responsive image

งานไม่เคยจบในที่ทำงาน ตามกลับมาบ้านด้วยเสมอ ปัญหาของชาว Hybrid Working ต้องแก้ยังไง?

บทความนี้ Techsauce จึงได้รวบรวม How to ทิ้งงานไว้ที่ออฟฟิศ และทวงคืนชีวิตที่มีคุณภาพของชาว Hybrid Working...