Google เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่ขึ้นชื่อเรื่องการมีวัฒนธรรมการทำงานที่ดี เพราะ Google มุ่งเน้นสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าที่อื่น หรือการมีสวัสดิการที่น่าดึงดูดใจ แต่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทำให้ภาพลักษณ์ของ Google เริ่มดูแตกต่างไปจากเดิม หรือ Google กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมองค์กร?
ในขณะที่ Google กำลังจะให้พนักงานกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ บริษัทก็ต้องเผชิญกับการที่พนักงานไม่มีความสุขมากขึ้นกว่าเดิมในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ค่าตอบแทนและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายในอาชีพ
การสำรวจพนักงานประจำปีของ Google ที่มีชื่อเรียกว่า ‘Googlegeist’ ชี้ให้เห็นว่าพนักงานหลายคนมองว่าค่าตอบแทนที่ได้ไม่ยุติธรรม เมื่อเทียบกับตำแหน่งที่ทำอยู่ในบริษัทอื่น ๆ อีกทั้งยังตั้งคำถามถึงความสามารถในการบริหารงานด้วย โดยผลสำรวจนี้เกิดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมาและมีการเผยแพร่ให้กับพนักงาน พบว่าคะแนนที่ต่ำคือสุดคือ ค่าตอบแทนและการบริหารงาน ส่วนคะแนนสูงสุดคือภารกิจและค่านิยมของ Google
มีพนักงานเพียง 46% เท่านั้นที่รู้สึกว่าค่าตอบแทนของตัวเองสามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นในตำแหน่งคล้ายกันได้ ซึ่งลดลงจากปีที่แล้ว 12 จุด 56% บอกว่าเงินเดือนที่ได้มีความยุติธรรม ลดลง 8 จุดจากปีที่แล้ว และ 64% เห็นว่าผลงานที่ทำสะท้อนออกมาในรูปแบบการจ่ายเงินที่เหมาะสม ลดลง 3 จุด
ปัจจุบันการรักษาพนักงานและความพึงพอใจของพนักงานมีความสำคัญกับทุกบริษัทมากกว่าที่เคยเป็นมา เพราะผู้คนในสหรัฐฯจำนวนมากกำลังลาออกจากงาน เพื่อไปหาโอกาสใหม่ ๆ ที่ดึงดูดใจกว่า
ตอนนี้ Google ก็กำลังจะให้พนักงานกลับไปทำงานที่ออฟฟิศอีกครั้งในวันที่ 4 เมษายน โดยพนักงานจะต้องเข้าออฟฟิศอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หลังจากที่ทำงานทางไกลมาเป็นระยะเวลา 2 ปีเนื่องจากการระบาดของ COVID-19
พนักงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจกลับแผนการกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ อ้างอิงจากการแสดงความคิดเห็นบน Blind ซึ่งเป็นบริการที่พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานและนายจ้างโดยไม่เปิดเผยตัวตน พบว่า 62% ของพนักงาน Google ไม่พอใจกับการที่บริษัทกำลังจะเปิดออฟฟิศ และ 2 ใน 3 ของพนักงานก็ไม่พอใจกับการที่บริษัทบังคับให้เข้าออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ 34% ยังอ้างว่ากำลังวางแผนหางานใหม่
“เราคิดว่าบริษัทควรให้อิสระแก่พนักงานในการเลือกว่าจะเข้าหรือไม่เข้าออฟฟิศ ไม่ใช่มาบังคับกันในจำนวนวันที่เจาะจงแบบนี้” พนักงาน Google นิรนามท่านหนึ่งโพสต์บน Blind
จะเห็นได้ว่าหลัก ๆ ตอนนี้ที่พนักงาน Google ไม่พอใจมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ รู้สึกว่าได้รับค่าตอบแทนที่ไม่ยุติธรรมเมื่อเทียบกับที่อื่น ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือ ไม่พอใจกับการถูกบังคับให้กลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ เนื่องจากเทรนด์ความพึงพอใจของพนักงานเปลี่ยนไปแล้ว
จากการสำรวจ 10,000 คนทั่วโลก ในด้านการเงิน เทคโนโลยี และพลังงานโดย Advanced Workplace Associates พบว่า มีพนักงานเพียง 3% เท่านั้นที่ต้องการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์ อีกทั้งยังมีการเตือนว่าพนักงานจะลาออกหากบริษัทบังคับให้กลับไปทำงานเต็มเวลา
และพนักงาน 86% ต้องการทำงานจากที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน โดยพนักงานส่วนใหญ่ต้องการเดินทางเข้าเมืองในวันอังคาร พุธ และพฤหัสบดี หากองค์กรใดไม่ปรับตัวตามความต้องการของพนักงานก็จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีการลาออกสูงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้
นอกจากนี้ Gartner ยังเผย เทรนด์การทำงานที่ผู้นำธุรกิจควรรู้ในปี 2022 ว่า ความเป็นธรรมและความเสมอภาคจะเป็นประเด็นสำคัญในองค์กร ในปีนี้ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงวิธีจัดการความเป็นธรรมและความเท่าเทียมเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของพนักงานให้หลากหลายขึ้น เช่น เรื่องการทำงานที่ยืดหยุ่นใครสามารถทำได้บ้าง องค์กรควรปรับค่าตอบแทนพนักงานมั้ย หรือข้อเสนออื่น ๆ เช่น เมื่อมีเงินสนับสนุนพนักงานที่มีบุตร แล้วพนักงานคนอื่นควรได้รับสิ่งใดบ้าง
อีกทั้งบางบริษัทก็มีแนวโน้มว่าจะลดเวลาการทำงานลงแทนการเพิ่มค่าจ้าง เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถ จากการวิจัยโดย Gartner พบว่า เงินเดือนในสหรัฐฯ ปี 2021 เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 4% เมื่อเทียบกับอดีต แต่เมื่อพิจารณาเรื่องเงินเฟ้อด้วย ค่าจ้างจริง ๆ ก็ลดลง ดังนั้นแทนที่จะแข่งขันกับบริษัทอื่นด้วยค่าจ้างที่สูง นายจ้างบางคนจึงจะลดชั่วโมงการทำงานแทน เพื่อรักษาค่าตอบแทนให้คงที่ และทำให้มีโอกาสในการแข่งขันที่ดีกว่าบริษัทที่ให้ค่าตอบแทนสูง แต่ไม่ลดจำนวนชั่วโมงทำงาน
รู้หรือไม่ว่า ผู้บริหารรุ่นเก่าๆ ชอบบังคับให้พนักงานเข้าออฟฟิศ? สามารถเห็นตัวอย่างได้จาก James Gorman ซีอีโอของ Morgan Stanley ที่ได้กล่าวไว้เมื่อปีที่แล้วว่า “ถ้าปกติคุณไปทานข้าวที่นิวยอร์กซิตี้ได้ คุณก็ต้องเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศได้เช่นกัน และพวกเราต้องการให้คุณเข้าออฟฟิศ” เหตุผลที่ผู้บริหารบางคนอ้างว่าต้องการให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศมีด้วยกัน 3 อย่างหลักๆ คือ
การทำงานจากที่บ้านมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นเพราะไม่มีสิ่งรบกวน มีความยืดหยุ่น มีอิสระ และมี Work-life balance ซึ่งจะทำให้มีวิถีชีวิตที่สุขภาพดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลด Carbon footprint ได้ด้วย แต่ก็อาจจะมีข้อเสียในเรื่องการสูญเสียวัฒนธรรมองค์กร โอกาสในการก้าวหน้า และขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
แต่นายจ้างสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยการคงความยืดหยุ่นและเปิดกว้างให้พนักงานเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการพนักงานให้มากที่สุด ไม่เช่นนั้นองค์กรก็อาจสูญเสียพนักงานผู้มีความสามารถไปได้เช่นกัน
แม้พนักงานจะมองว่าปัจจุบัน Google ให้ค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับที่อื่น แต่สวัสดิการ Google ก็เยอะไม่แพ้ใคร แล้วการมีสวัสดิการเยอะดีจริงไหมในสายตาพนักงาน? Ken Waks อดีตพนักงาน Google ออกมาพูดถึงสวัสดิการบริษัทเทคว่า อดีตนายจ้างของเขา ทั้ง Google และ Yelp เสนอสวัสดิการที่ทำให้พนักงานต้องทำงานมากขึ้น แต่ได้รับค่าตอบแทนน้อยลง
Waks อธิบายว่า สวัสดิการต่าง ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อให้พนักงานอยู่ในออฟฟิศได้นานที่สุด โดยพนักงานสามารถทานอาหารฟรีที่ Google ได้สามมื้อ แต่อาหารเย็นจะให้บริการแค่ตอน 18.00-18.30 น. ดังนั้นจึงต้องเลิกงานสายเพื่อให้ได้ทานข้าวเย็น
อีกทั้งรถรับส่งพนักงานไป-กลับออฟฟิศก็ให้บริการช่วงเวลา 6.00-22.00 น. ทำให้เริ่มงานเร็วและเลิกงานเลทได้ ซึ่งรถรับส่งตรงนี้ก็มี Wi-Fi เพื่อให้พนักงานทำงานต่อได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถพาสัตว์ไปที่ออฟฟิศได้ นั่นหมายความว่าพนักงานไม่จำเป็นต้องออกจากออฟฟิศเพื่อไปดูแลสัตว์เลี้ยง
อย่างไรก็ตาม การยกตัวอย่างของ Waks อาจจะดูมองโลกในแง่ร้ายไปหน่อย แต่สิ่งที่ Waks อยากจะสื่อออกมาในคำพูดนี้คือ สิ่งที่เขาอยากได้จาก Google จริง ๆ คือ เงินเดือนที่สูงขึ้น ไม่ใช่สวัสดิการอะไรที่มากมายขนาดนั้น แต่ผลสุดท้ายแล้วผู้จัดการของเขาก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้
โดยสรุป จากการสำรวจพนักงานที่มีชื่อว่า Googlegeist ทำให้เห็นว่าพนักงานเริ่มมีความพึงพอใจในค่าตอบแทนลดน้อยลง ซึ่งอดีตพนักงานก็ออกมาพูดเองว่า Google เป็นบริษัทที่ให้สวัสดิการเยอะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะต้องการสวัสดิการเหล่านั้น และอีกปัญหาหนึ่งที่พนักงานไม่พอใจคือ การถูกบังคับให้กลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ โดยเหตุผลที่ผู้บริหารหลายคนมองว่าควรเข้าออฟฟิศเป็นเพราะถ้าไม่เห็นหน้ากันนาน ๆ จะเป็นการทำลายวัฒนธรรมองค์กร ลดโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ อีกทั้งยังขาดการปฏิสัมพันธ์กันทำให้สร้างความไว้วางใจยาก
แต่ปัจจุบันโลกก็พัฒนามาไกล เทคโนโลยีก็ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน และความต้องการของพนักงานเองก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นทางบริษัทเอง (ที่ไม่ใช่แค่ Google) ควรมีวิธีรับมือปัญหาด้วยการคงความยืดหยุ่นไว้ เพราะปัจจุบันพนักงานกลายเป็นผู้กุมอำนาจและมีสิทธิเลือกนายจ้างมากขึ้น ทางที่ดีควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับพนักงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานให้ตรงจุด จะได้ไม่เสียพนักงานผู้มีความสามารถไปแบบไม่มีวันหวนคืน
อ้างอิง : CNBC, bizjournals, inc.com, Gartner, newsweek
ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย
.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด