3 กลยุทธ์พลิกโฉมธุรกิจ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส | Techsauce

3 กลยุทธ์พลิกโฉมธุรกิจ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

หลายคนเชื่อว่าโลกหลังโควิดจะไม่เหมือนเดิมแน่ๆ แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าหน้าตา New Normal จะเป็นอย่างไร ว่าจริงหรือเปล่าที่คนจะไม่ไปทานอาหารที่ร้านกันแล้ว คนจะเลือกเรียนทางออนไลน์อย่างเดียว เพราะทุกคน ทุกอุตสาหกรรมยังไม่เคยเจอสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ เมื่อวันนี้เรายังไม่รู้ แม้เราสามารถคาดการณ์บางอย่างได้ แต่ไม่มีใครมีคำตอบแน่ชัด เราต้องโอบกอดความไม่แน่นอน แล้วอยู่กับมันให้ได้

อริญญา เถลิงศรี Chief Capability Officer & Managing Director – SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า แน่นอนว่า ทุกเหตุการณ์ใหญ่ของชีวิตคน สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมใหม่ แต่พฤติกรรมจะเป็นอย่างไร วันนี้ไม่มีใครรู้ ทุกอย่างที่เราอ่านมาคือความไม่รู้ แต่ถึงแม้เราไม่รู้ เราก็ต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และเรียนรู้จากเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาให้ได้ โดย SEAC ค้นคว้าและคัดสรรงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรป สหรัฐ และเอเชีย ที่ทำการสำรวจความเห็นขององคกร์ข้ามชาติหลายร้อยแห่งถึงการคาดการณ์ของพวกเขาต่อสภาวะ “ความปกติใหม่" หรือ “New Normal” ที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด และจากการวิเคราะห์กรณีศึกษาขององค์กรทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ อาทิ เอสซีจี เชลล์ ผิงอัน โนวาติส หลุยส์ วิตตอง TikTok ไนกี้ เนสเล่ เสียวหมี่ อาลีบาบา ฯลฯ คุณอริญญาได้สรุปประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรได้นำมาใช้เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาสรวม 3 ข้อดังนี้

1. Reframe Your Business ปรับมุมมองใหม่

การรีเฟรมคือการคิดใหม่ ทำใหม่ ภายใต้กรอบความคิดใหม่ ไม่ใช่แค่การปรับปรุงจากของเดิม หรือการเอาของเก่ามาทำใหม่ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้า “ณ ตอนนี้” 

ตัวอย่างกรณีของ Stagekings บริษัทผู้รับสร้างและออกแบบเวทีงานอีเวนท์เจ้าใหญ่ในออสเตรเลียที่กำลังอยู่ระหว่างเตรียมงานฟอร์มูล่าวันไปได้แล้วประมาณครึ่งทาง เมื่อรัฐบาลออสเตรเลียออกคำสั่งล๊อกดาวน์ ซึ่งรวมถึงระงับการจัดอีเวนท์ทุกประเภทอย่างไม่มีกำหนดเมื่อประมาณช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

คำสั่งนี้เป็นเสมือนฟ้าผ่าที่พลิกชะตากรรมของอุตสาหกรรมการจัดอีเวนท์ทั้งประเทศออสเตรเลียภายในชั่วข้ามคืน แต่ขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมในอุตสาหกรรมการจัดอีเว้นท์รายอื่นๆ ได้แต่พากันยอมรับชะตากรรม ทีมบริหาร Stagekings สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทไปสู่ธุรกิจใหม่ที่อาจจะไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อน (อาจแม้กระทั่งทีมงานของบริษัทเอง) ได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ด้วยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า “รีเฟรม” หรือการถอดกรอบความคิดเดิม ที่ทำให้สามารถมองหาโอกาสใหม่ที่ก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ ที่เคยมีทั้งหมด

ขณะที่ล๊อกดาวน์ทำลายอุตสาหกรรมอีเวนท์อันเป็นธุรกิจเดิมของ Stagekings ในเวลาเดียวกันทีมบริหารของ Stagekings “รีเฟรม” กรอบความคิดเดิมทั้งหมดและมองเห็นโอกาสใหม่จากล๊อกดาวน์ที่คนจำนวนมากต้องหันมาทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ที่ทำให้มีความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์สำหรับการทำงานจากที่บ้านเพิ่มขึ้น โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ทักษะฝีมือแรงงาน และเครื่องมือ อุปกรณ์ที่บริษัทมีอยู่แล้วในการทำฉากและเวทีให้กับลูกค้าผู้จัดงานคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา และอีเวนท์อื่นๆ ในธุรกิจเดิม ทำให้บริษัทสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ในแนวสร้างสรรค์ที่ตอบรับกับเทรนด์ WFH ด้วยดีไซน์และรูปแบบที่แตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่ในตลาด ที่บริษัทเรียกว่า “Isolation desks” หรือโต๊ะทำงานสำหรับผู้ที่ต้องถูกกักตัวอยู่ที่บ้าน และจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ The IsoKings

“ถ้าเราเชื่อว่าโควิดจะเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า เราต้องเชื่อว่าเราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจใหม่ว่าความต้องการของลูกค้าในตอนนี้คืออะไร และต้องเข้าใจว่าเขามีปัญหาอะไรที่เราต้องไปช่วยแก้ไข” 

Stagekings พลิกตัวเองจากธุรกิจหนึ่งไปอีกธุรกิจหนึ่ง และเปลี่ยนจาก B2B ไป B2C ด้วยการเปิดเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ซขายตรงไปสู่ผู้บริโภค และกวาดยอดออร์เดอร์กว่า 4,000 รายการ ภายในช่วงเวลาเพียงประมาณหนึ่งเดือนนับจากที่ซีอีโอของบริษัทประกาศการปรับเปลี่ยนธุรกิจใหม่เมื่อปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ทำให้พนักงานจัดอีเวนท์จำนวน 56 ชีวิตของบริษัทสามารถกลับเข้ามามีงานทำ ภายใต้บทบาทใหม่และอุตสาหกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง

2. จะทำยังไงในเรื่องการตัดสินใจ พร้อมที่จะลองอะไรใหม่ Agile & Resilient

การทำงานแบบ Agile หรือคล่องแคล่ว ปราดเปรียว เป็นสิ่งจำเป็น โดยทีมงานควรมีขนาดเล็กและประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันและกล้าแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกัน ผู้นำต้อง Act Fast ทำให้เร็ว จะช้าไม่ได้ หากประชุมหลายขั้นตอนจะไม่ทันการ ต้องเริ่มดูใหม่ ปรับกระบวนการใหม่ สำรวจว่าตัวเราปราดเปรียด และยืดหยุ่นพอไหมกับสถานการณ์ในโลกที่หมุนไปอย่างไม่รอใคร

Airwallex บริษัท Startup ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ B2B Payment ของฮ่องกง และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ออสเตรเลียรายนี้ กำลังสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ที่สามารถจะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่วเมื่อเจอกับวิกฤติ COVID-19 และสามารถที่จะได้รับเงินสนับสนุนกว่า 160 ล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่บริษัท Startup นั้นจะทำได้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเดินถอยหลังเช่นนี้

โดยเคล็ดลับหลักของบริษัท Airwallex ก็คือ การที่ แจ๊ค Co-founder ของบริษัทนั้นมี Agile Mindset ที่สามารถมองภาพรวมได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะตอบรับความต้องการใหม่ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยให้ทีมนั้นเข้าใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าลูกค้านั้นเจอกับปัญหาอะไร และออกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด ซึ่งทำให้ Airwallex นั้นรักษาลูกค้าเดิมได้ทั้งหมด และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดึงลูกค้าใหม่เข้ามาได้ โดยแสดงให้เห็นถึงความรวดเร็ว และไม่ยึดติดกับวิธีเดิม ๆ ของแจ๊ค ที่สามารถที่จะนำพนักงานและองค์กรนั้นปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในเวลาของวิกฤติเช่นนี้

ซึ่งการตัดสินใจและการลงมือทำที่ Agile & Resilient ก็เป็นคีย์สำคัญที่ทำให้ทั้งตัวเจ้าของธุรกิจและบริษัทเหล่านี้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและสามารถที่จะพัฒนาไปข้างหน้าภายใต้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ นั้นอาจจะกำลังหมดหวังและหาทางออกไม่เจอในเวลาเช่นนี้

3. การร่วมแรงร่วมใจกันของทุกคนในองค์กร ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย และ Mindset ที่ถูกต้อง

สปิริตของทีมงานมีความสำคัญ ผู้นำองค์กรจะต้องมีความสามารถทำให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันได้เป็นอย่างดี ตัวเราจะทำร่วมกับผู้อื่นอย่างไร ทั้งกับผู้บริหารระดับสูง กับผู้จัดการระดับกลาง กับพนักงานทุกคนได้อย่างไรนี่คือคำถามที่ต้องตอบให้ได้

ตัวอย่างกรณีศึกษา วิสัยทัศน์ของซีอีโอ และความสามารถในการทำให้พนักงานทุ่มเทและมีส่วนร่วมในการรับมือกับวิกฤตโควิด ทำให้เนสท์เล่ผงาดขึ้นมาเป็น 1 ใน 5 กรณีศึกษาขององค์กรในยุโรปที่สามารถรับมือวิกฤตครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี 

ซึ่งการทุ่มเทแรงใจของพนักงานเนสท์เล่ในห้วงเวลาแห่งวิกฤตนี้ มีจุดเริ่มต้นจากการที่ Mark Schneider ซีอีโอ เนสท์เล่ ประกาศ “จุดมุ่งหมาย” (Purpose) ปี 2020 ของเนสท์เล่ ที่เชื่อมโยงคุณค่าและความหมายในงานที่พนักงานทุกคนมีบทบาท หน้าที่ ซึ่งมีเนื้อหาใจความครอบคลุมถึง ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมที่เนสท์เล่ต้องมีให้มากเป็นพิเศษในช่วงเวลานี้ ความสำคัญของสินค้าเนสท์เล่ที่มีต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ ความสำคัญของคุณค่า (value) และจุดมุ่งหมาย (purpose) ขององค์กรที่มีต่อประชาชนและชุมชน รวมถึง “คุณค่า” (value) ของเนสท์เล่จะเจิดจรัสในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ 

นอกจากนี้ Schneider ยังให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องของการมีกรอบความคิดที่ถูกต้อง หรือ Right Mindset และการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยได้จัดให้มีการอบรมพนักงานเฉพาะในเรื่องกรอบความคิดนี้เป็นเวลา 3 วันเต็มๆ

สุดท้าย การที่องค์กรนั้นจะสามารถเดินทางไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต้องเริ่มต้นจาก "คน" เพราะ คนคือแรงขับเคลื่อนที่แสดงออกถึง Passion (ความมุ่งมั่น) และทำให้เกิน "สิ่งส่งมอบสู่ลูกค้าและคู่ค้า" เพราะต่อให้องค์กรใช้เทคโนโลยีและกระบวนการที่ดีแค่ไหน ถ้าคนไม่เปลี่ยนแปลงองค์กรจะไปต่อไม่ได้เลยเพราะผู้คนจะไม่สามารถสัมผัสถึง Passion ได้จากเทคโนโลยี และหากวันนี้องค์กรยังไม่ทำ PEOPLE TRANSFORMATION เราจะกลายเป็นองค์กรที่ไม่มีความรู้สึก 

แต่การที่จะทำ TRANSFORMING YOUR PEOPLE ได้สำเร็จ องค์กรจะต้องนำพาคน ให้เกิดความสามารถใหม่ ความเชื่อใหม่ หลักการคิดใหม่ เพื่อทำให้เขา ทำในสิ่งที่ทรงพลังออกมา และเป็นเรื่องราวต่อ ๆ ไปให้กับคนอื่น สัมผัสได้ เมื่อนั้น ความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนนี่แหละคือเหตุผลว่าทำไมองค์กรต้องมีการ "TRANSFORMING YOUR PEOPLE"

“นอกจากนี้ยังพบว่าในทุกเคสองค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้น ทัศนคติและมุมมองของผู้นำองค์กรที่เป็นไปในเชิงรุกมากกว่าตั้งรับ การเปิดกว้าง มองไปข้างหน้า การมีโฟกัส เป้าหมาย และการวางแผนระยะยาวมากกว่าแค่การรับมือวิกฤตเฉพาะหน้า ล้วนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง” คุณอริญญากล่าวทิ้งท้าย

เปิดโลกแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้แล้วกับ SEAC พร้อมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่จะพาคุณอัพเดทสกิลรอบด้าน ปรับแนวคิดให้ทันโลก ด้วยหลักสูตรระดับเวิร์ลด์คลาส ตั้งแต่วันนี้ที่ https://www.yournextu.com



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน เป็นไปได้จริงด้วย AI ส่องโอกาสและความท้าทายที่ต้องรับมือ

กระแสการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่การจะก้าวไปสู่การทำงานรูปแบบใหม่นี้ได้จริง จำเป็นต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง และหนึ่งในป...

Responsive image

กระทราง DOGE ใต้การดูแลของอีลอน มัสก์ ปลดพนักงานสำนักงานนิวเคลียร์สหรัฐฯ นับ 300 ชีวิต สั่นคลอนความมั่นคงชาติ

เจ้าหน้าที่กว่า 300 คนที่สำนักงานบริหารความมั่นคงนิวเคลียร์แห่งชาติ (NNSA) ถูกปลดออกจากงาน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปลดพนักงานของกระทรวงพลังงาน จากการสนับสนุนของ DOGE โดยไม่ทันคิดให้ร...

Responsive image

อดีต CTO OpenAI เปิดตัว Thinking Machines Lab สตาร์ทอัพ AI แห่งใหม่

Mira Murati อดีต Chief Technology Officer (CTO) จาก OpenAI เปิดตัวสตาร์ทอัพใหม่ ชื่อว่า "Thinking Machines Lab" ซึ่งแน่นอนว่าจุดโฟกัสหลักยังคงอยู่ที่ AI...