ถือเป็นครั้งแรกที่ Airbnb ได้ร่วมจับมือกับองค์กรของรัฐบาลไทย เพื่อฝึกฝนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทั้ง 76 จังหวัดของประเทศไทย เกี่ยวกับงานด้านการบริการ การเป็นเจ้าของที่พัก การทำตามมาตรฐานและกฏระเบียบ รวมถึงการนำโฮมสเตย์ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่แพลตฟอร์ม
คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย และคุณไมค์ ออร์กิล ผู้อำนวยการด้านนโยบายสาธารณะประจำเอเชียแปซิฟิกได้ร่วมกันเปิดตัวการร่วมมือที่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ส่วนหนึ่งของการร่วมมือกันในครั้งนี้ Airbnb และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้มีข้อตกลงดังต่อไปนี้:
คุณสุทธิพงษ์ กล่าวว่า
" รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยว เพราะเป็นภาคขนาดใหญ่ที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้เกิดรายได้ และการหมุนเวียนของเม็ดเงินอีกทั้งยังให้ความสำคัญเรื่องการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย คนที่อยู่ในชุมชน และท้องถิ่น เช่นผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านเอง หรือมีบ้านอยู่อาศัยเองอยู่แล้ว เน้นเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเมืองรอง ไม่ใช่แค่จังหวัดหลักเพียงอย่างเดียว"
คุณมิช โกห์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะในภาคตะวันออกเชียงใต้ของ Airbnb เสริมว่า
“นี่คือก้าวสำคัญที่น่าจับตามองสำหรับชุมชนของเราในประเทศไทย... เราจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ด้วยการผลักดันให้ทุกคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมสังคมดิจิทัลอย่างแท้จริง และการใช้แพลตฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดึงดูดผู้เข้าพักเข้าประเทศจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ”
Airbnb ต้องการช่วยเพิ่มความตระหนักให้กับพื้นที่หรือชุมชนเล็กๆ อย่างเช่นในฝรั่งเศส Airbnb ก็ได้มีส่วนช่วยเป็นกระบอกเสียงให้คนรู้จักหมู่บ้านเล็กๆ นอกเมือง ผ่าน Social media campaign กับฐานลูกค้าที่มีอยู่ในมืออยู่แล้ว
สำหรับประเทศไทย Airbnb จะเริ่มจาก 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี เชียงราย นครราชสีมา บุรีรัมย์ อยุธยา เพชรบุรี สงขลา สตูล อุบลราชธานี และสุโขทัย ก่อนจะมีแผนขยายไปทั่วทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ
"มีนักท่องเที่ยวกว่า 1.2 ล้านคนที่มาเที่ยวประเทศไทยผ่าน แพลตฟอร์มของเรา ซึ่งส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมักจะนึกถึงสถานที่ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วอย่าง พัทยา ภูเก็ต หรือ เชียงใหม่ เราจึงหวังว่าโครงการนี้จะทำให้ตัวเลขการท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอีก เมื่อผู้คนรู้จักสถานที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น"
1. ยกระดับการท่องเที่ยวให้ชาวบ้านระดับท้องถิ่นได้มีโอกาสเป็นผู้ประกอบการ 2. Airbnb จะเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์สถานที่และวัฒนธรรมดีๆ ที่แอบซ่อนอยู่ในชนบทห่างไกล ให้คนได้รู้จัก 3. เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลายไปสู่ทั่วโลก
เมื่อถูกถามถึงเรื่องบทกฎหมายโรงแรมที่พัก ว่าจะมีปัญหาอะไรหรือไม่? คุณสุทธิพงษ์ กล่าวว่า "กรมการปกครองได้ให้คำตอบชัดเจน ในกรณีที่เป็นบ้านพักของตนเอง มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง และ พักได้ไม่เกิน 20 คน จะไม่เข้าข่ายธุรกิจโรงแรมหรือที่พัก เท่ากับไม่ผิดกฎหมายอะไร เพียงแต่ต้องไปขึ้นทะเบียนเอาไว้ ว่ามีการให้บริการโฮมสเตย์"
ทั้งนี้ยังไม่มีการคุยในรายละเอียดว่าจะมีการปรับกฎหมายให้ครอบคลุมที่พักในลักษณะอื่นๆ ด้วยหรือไม่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด