ที่มาของโรบอท ‘Jiro’ ไอเดียชนะรางวัล Ananda Urban Living Solutions Hackathon Powered by HUBBA | Techsauce

ที่มาของโรบอท ‘Jiro’ ไอเดียชนะรางวัล Ananda Urban Living Solutions Hackathon Powered by HUBBA

Ananda-Hackathon

ผ่านไปแล้วสำหรับงาน 'Ananda Urban Living Solutions Hackathon Powered by HUBBA' ที่เกิดจากความร่วมมือของ Ananda Development ผู้นำทางด้าน UrbanTech และ HUBBA Thailand โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจในเรื่องสตาร์ทอัพมาตั้งทีมระดมความคิด แก้ปัญหา เพื่อช่วยให้ชีวิตคนเมืองง่ายขึ้น โดยมีธีมให้เข้าแข่งขัน 3 หัวข้อ ได้แก่ Smart Home, Future Lifestyle และ Digital Health

จากผู้สมัครที่เข้ามาเคี่ยวกรำความคิดภายในะระยะเวลา 3 วัน 2 คืน มีทีมที่เข้ารอบ Final 13 ทีม และได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รอบ Final Pitching 6 ทีม ได้แก่ Aroma, Jiro, Joule’s Design, Rise Track, Sabai และ Tingnong โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือทีม 'Jiro' เจ้าของไอเดียโรบอทตรวจจับที่สามารถให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนและอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท สิทธิในการเข้าใช้ Workspace ของ Ananda Campus กับมีเมนเทอร์ของ Ananda Urban Tech มาให้คำแนะนำในช่วงเวลา 3 เดือน สิทธิเข้าใช้ Co-working Space ของ Hubba ไม่จำกัดจำนวนครั้งนาน 3 เดือน ฯลฯ

ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม ‘Jule’s Design’ 6 หนุ่มสาวเจ้าของโซลูชั่นส์ด้านการเลือกซื้อชุดเฟอร์นิเจอร์ที่มี Interior Designer ออกแบบการแต่งห้องไว้เรียบร้อย ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท  ทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม ‘Aroma’ ทีมคนไทยและต่างชาติที่นำเสนอแพลตฟอร์มเรียกบริการนวดแผนไทยได้ทุกที่ ทุกเวลา ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท และทีม ‘Jule’s Design’ ยังได้รับ Special Prize จาก SCG เป็นเงินจำนวน 50,000 บาทอีกด้วย

Ananda-Hackaton-Jiro

ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Jiro : Abnormal Behavior Monitoring

ตามไปคุยกับคู่หูนักคิด Jiro โรบอท

Techsauce มีโอกาสคุยกับ ภาคิน ธีระเปรมปรี และ ภูวนันท์ ชุมทอง สองหนุ่มเจ้าของแพลตฟอร์มที่คอย Monitor การเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้สูงอายุและมีระบบแจ้งเตือนไปยังโรงพยาบาลและญาติได้ ภาคินเล่าถึงเรื่องในความทรงจำว่า มีไอเดียที่จะทำด้าน Health Care สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว เนื่องจากยายของตัวเองในวัย 80 ปี อยู่บ้านคนเดียวแล้วป่วยฉุกเฉินด้วยอาการ Stroke Attack ซึ่งต้องการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน และโชคดีที่น้าไปช่วยยายไว้ได้ทัน

เมื่อภาคินมาพูดคุยกับภูวนันท์ เพื่อนที่เก่งด้าน Robot ซึ่งรู้จักกันมานาน 15 ปี จึงสนใจทำกล้องตรวจจับที่เป็นโรบอทเฝ้าสังเกตการณ์ผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าผู้สูงอายุมีอาการ Stroke Attack ก็จะแจ้งเตือนไปยังลูกหลานและโรงพยาบาลได้ด้วยการทำระบบ AI Base Activation ผู้สูงอายุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที ทั้งคู่จึงสมัครเข้าร่วม Ananda Urban Living Solutions Hackathon Powered by HUBBA เพื่อสร้างทีมและหวังได้รับคำแนะนำด้านธุรกิจเพิ่ม

“ผมขึ้นไปพูดวันแรก ไม่มีคนมาจอยทีม ไม่รู้ว่าเราพูดในแนวที่เป็นวิชาการเกินไปหรือเปล่า ก็คิดว่าไปจอยทีมอื่นดีมั้ย แต่ผมอยากลองทำงานที่แข่งกับเวลา อยากให้มีคนตอบรับก็เลยลองทำดู แล้วพอพี่หมอที่ Health at Home บอกว่า 'ถ้าเสร็จแล้วพี่ซื้อ' ผมได้กำลังใจแล้ว ผู้ใหญ่หลายคนก็ตอบรับ เขาให้คำแนะนำเยอะมาก เช่นให้ประเด็น ‘ถ้าเป็นหุ่นเดินตามแล้วมันเกะกะล่ะ มันอาจจะไม่สะดวกหรือเปล่า’ ‘หุ่นยนต์เหรอ...ไม่จำเป็นนะ แต่ผมสนใจไอเดียการติดตามของคุณ’ พอมาที่นี่แล้วคนสนใจไอเดียเรา ไม่ใช่อยู่แค่ในกระดาษ เป็นการเปิดโลกอีกส่วนหนึ่ง และนี่ก็เป็นการ Pitch ครั้งแรก รู้สึกประทับใจครับ” ภาคินกล่าว

ไอเดีย Jiro นี้จัดอยู่ในธีมประกวด Digital Health โดยเป็น Eldery Care ที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในบ้านหรือคอนโดที่ไม่มีคนดูแล โดยช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดโอกาสการเกิดภาวะพิการ และช่วยลดค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกปลอดภัย และทำให้ลูกหลานไปทำงานได้อย่างสบายใจมากขึ้น

ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในเวทีนี้ ภูวนันท์เคยผ่านการแข่งขัน MIT Hacking Medicine ที่สิงคโปร์ โดยในงานนั้นมีไอเดียหุ่นยนต์มากมายที่ต้องการ Business Idea และเขาได้เป็นผู้ชนะในอันดับที่ 4

“ผมคุยกับภาคินเกี่ยวกับ Medical Device อื่นๆ มาสองสามเดือนแล้ว เราไปที่มหิดล สนใจทำ Clinical Test ไปคุยกับอาจารย์ต่างๆ แต่เป็น Research Base พอมาที่นี่ทำให้ไอเดีย Practical มากขึ้น ซึ่งผมอยากจะทำงานกับเพื่อนให้เต็มที่ ต้องการนำไอเดียไปทำ R&D ที่ไม่เหมือนคนอื่น ต้องการมองหา Business Thinker ด้วย ถ้ามันไม่เกิดจะได้รู้เลยว่าต้องไปหาตลาดที่อื่น แต่มันเกิดแสดงว่ามีคนสนใจ ซึ่งเราได้เมนเทอร์ที่ช่วยแนะนำให้เราสื่อสารได้ดีขึ้น ไม่ใช่เป็นเทคโนโลยีจ๋าเกินไป เราได้เรียนรู้หลายๆ อย่างและได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่คนที่มีพลังงานมาก ได้แนวคิดดีๆ เยอะเลยครับ” ภูวนันท์กล่าว

Ananda-Hackaton-Team

ไอเดียเก๋ๆ ของทีมรอง

สำหรับทีม Jules' Design ซึ่งได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ Special Prize จาก SCG โดดเด่นด้วยการนำเสนอแพลตฟอร์มเลือกซื้อชุดเฟอร์นิเจอร์ที่มี Interior Designer ออกแบบการแต่งห้องไว้เสร็จสรรพ โดย User สามารถเลือกและสั่งเฟอร์นิเจอร์แต่งห้องยกชุดผ่านแพลตฟอร์มที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว และมีบริการจัดส่งถึงบ้าน

สมาชิกของทีม Jules’ Design ได้แก่ ณัฎฐา สุนทรวิเนตร์, ธนวัฒน์ พฤกษานานนท์, ชัชกร พฤกษานานนท์, ประพล ฉัตรธารากุล, ประภากร เสรีอมรพันธ์ และวิศรุต กริ่มทุ่งทอง โดยในเรื่องความคาดหวังก่อนเข้าร่วมงาน ณัฎฐาบอกว่า มีไอเดียที่ริเริ่มไว้คร่าวๆ ไม่รู้ว่าคนที่เป็นสตาร์ทอัพเริ่มต้นอย่างไร คิดอย่างไร จึงอยากจะนำมาคุยกับทีม หาทีมที่มีแนวคิดร่วม แล้วดูว่าต้องปรับอย่างไรบ้างเพื่อให้ตอบโจทย์ทางการตลาดมากขึ้น

ในด้านการ Brainstorm ชัชกรเล่าว่า ทุกคนในทีมช่วยกันคิดแบบไม่มีการจำกัดความคิด ตอนแรกเขาพยายามไดรฟ์ไอเดียของตัวเอง แต่พอได้เจอทีมที่เปิดกว้างแล้ว Talent ของแต่ละคนก็ฉายออกมาเองว่า ใครมีความสามารถด้านไหน และคนในทีมก็ Respectful ความคิดของกันและกัน จึงสนุกที่ได้มาช่วยกันพัฒนาความคิด ส่วน 2 รางวัลที่ได้รับมา ธนวัฒน์บอกว่า

“การชนะรางวัล ผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มที่ดีที่ อย่างน้อยไอเดียที่คิดมาผ่านคณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถหลายๆ ด้าน และคนที่อยู่ใน Industry มีความเห็นว่าความเป็นไปได้ ในจุดต่อไปก็พยายามจะทำให้นำมาใช้งานได้จริง เพราะหลายๆ คนก็น่าจะอยากใช้”

สุดท้าย ประพลกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการหลังการแข่งขันในหลากหลายด้าน เช่น คาดหวังว่าจะมี Accelerator, Mentor, Sourcing ของเทคโนโลยี

“เพราะ Jules’ Design เป็น Product ที่เชื่อมโยง Interior Designer บริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยกัน เราต้องการให้ผู้คนสามารถเข้าถึง Interior Designing และเฟอร์นิเจอร์ในราคาเอื้อมถึงได้มากขึ้น น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ซื้อคอนโดและเพิ่มยอดขายให้ Property Developers ต่างๆ ได้ ที่สำคัญยังช่วยส่งเสริมงานดีไซน์และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของไทยด้วยครับ”

Ananda-Hackathon-finalists

บริการ ‘นวด’ แบบโทรสั่งได้ก็มา

และทีมสุดท้ายที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คือทีม Aroma แพลตฟอร์มเรียกบริการนวดแผนไทยทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งคิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงและระยะทางที่หมอนวดต้องเดินทางไปหา โดยทีมนี้มีสมาชิกที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน 4 คน ได้แก่ ติณณ์ จงธรรมสุขยิ่ง, กานต์ สุวรรณสิทธิ์, Anton Loss และ Steve Mason  

ติณณ์เล่าว่า เขามีอาชีพเป็นหมอและเริ่มสนใจเรื่องสตาร์ทอัพ โดยเริ่มจากตัวเองที่ตรวจคนไข้นานๆ แล้วปวดหลัง จึงมีไอเดียเกี่ยวกับ ‘การบริการนวดแผนไทย’ ที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่คนในสังคมเมืองมากมายไม่ได้ไปใช้บริการนวดเพราะรถติดบ้าง ไม่มีเวลาบ้าง จึงต้องการหาคนที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันมาร่วมสร้างบริการให้เกิดขึ้น และอยากรู้จัก Developer, Designer จึงมาร่วมงาน Ananda Urban Living Solutions Hackathon Powered by HUBBA

กานต์ สมาชิกคนที่สองของทีมบอกว่า ได้ยินในออฟฟิศคุยกันเรื่อง Hackathon ฟังแล้วสนใจจึงเข้ามาร่วมแข่งขัน โดยตั้งเป้าความคาดหวังไว้ไม่สูงนัก แต่เมื่อร่วมทีมแล้วได้อะไรที่เหนือกว่าที่คาดไว้จึงคลุกคลีอยู่กับทีมซึ่งเป็นเพื่อนใหม่ และการนำเสนอไอเดียอย่างเต็มที่ตลอด 3 วัน 2 คืน

ในมุมของชาวต่างชาติ Aston บอกว่า เข้าร่วมกิจกรรมนี้เพราะคิดว่าไอเดียที่มีอยู่น่าจะนำมาทำอะไรต่อในงาน Hackathon ได้ จึงอยากมาหาทีมสานฝัน แต่พอมาเจอทีมนี้ก็รู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้เจอ Gentlemen ซึ่งเปิดโอกาสให้เสนอความคิด แล้วก็มี Amazing Idea เป็น Aroma ออกมา และจากประสบการณ์ส่วนตัวก็เคยร่วมงาน Hackathon ใหญ่ๆ มาหลายเวทีแล้ว งานนี้มองว่าจัดได้ดี มีอาหารและเครื่องดื่มบริการตลอด ต้องการอะไรก็มีคนพร้อมจะช่วย

Steve กล่าวปิดท้ายว่า “เป็นครั้งแรกที่ได้มาร่วมงาน Hackathon แล้วทำเป้าหมายบางอย่างร่วมกันจนสำเร็จ เป็นสิ่งที่ดีมากๆ ที่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาที่สั้นมาก ก็คาดหวังว่าจะเจอแรงบันดาลใจใหม่ๆ จะหาคนที่แตกต่างแต่มีไอเดียเดียวกันได้ แล้วก็ได้อะไรกลับไปเยอะมาก ซึ่งก็ต้องขอบคุณอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ สำหรับการให้พื้นที่ Brainstorm ที่พัก อาหาร เครื่องดื่ม และการออร์กาไนซ์งานต่างๆ ที่เรียกได้ว่า เพอร์เฟกต์”

ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่ได้รับรางวัลนะคะ ส่วนทีมอื่นๆ ที่ไม่ได้รางวัลก็อย่าเพิ่งท้อ นำไอเดียไปพัฒนาหรือสร้างโซลูชั่นส์ใหม่ เตรียมพร้อมเพื่อเวทีอื่นๆ ต่อไปค่ะ

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Microsoft ร่วม BlackRock ตั้งกองทุน AI มูลค่า 3 ล้านล้าน ลุยแผนพัฒนาเอไอเต็มกำลัง

Microsoft และ BlackRock สองผู้นำในวงการเทคโนโลยีและการเงิน ร่วมกันเปิดตัวกองทุน Global AI Infrastructure Investment Partnership (GAIIP) โดยตั้งเป้าระดมทุนสูงสุดถึง 1 แสนล้านดอลลาร์...

Responsive image

แม่บ้าน AI ใกล้ความจริง Google Deepmind เริ่มพัฒนาแล้ว โมเดล AI เพื่ออัปเกรดความสามารถหุ่นยนต์

ชวนมารู้จักกับ ALOHA Unleashed และ DemoStart ระบบ AI ตัวใหม่จาก Google Deepmind ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยด้านความคล่องแคล่วของหุ่นยนต์ ซึ่งช่วยให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้งานที่ซับซ้อนไ...

Responsive image

Instagram ออกข้อจำกัดใหม่ เพิ่มความเข้มงวดเรื่องความเป็นส่วนตัวสำหรับวัยรุ่น

Instagram กำลังปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวใหม่สำหรับผู้ใช้งานวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการควบคุมการใช้งานโซเชียลมี...