HSBC และ Bank of America จับมือภาครัฐสิงคโปร์ นำ Blockchain มาช่วยธุรกิจนำเข้า ส่งออก | Techsauce

HSBC และ Bank of America จับมือภาครัฐสิงคโปร์ นำ Blockchain มาช่วยธุรกิจนำเข้า ส่งออก

มาอีกแล้วกับความเคลื่อนไหวของการจับมือระหว่างธนาคารและภาครัฐสิงคโปร์โดยการนำ Blockchain มาใช้ คราวนี้เป็นยักษ์ใหญ่ธนาคารอย่าง Bank of America และ HSBC จับมือกับ Infocomm Development Authority of Singapore (IDA) เผยว่ากำลังสร้าง Blockchain application เพื่อรองรับกระบวนการการทำธุรกรรมตราสารเครดิต (Letter of credit (LC)) ระหว่างธนาคาร ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก

Trade Finance

ภาพจาก stanbicibtcbank 

สำหรับการซื้อขายสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อมันใจได้ว่าจะไม่โดนเบี้ยว และได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและถูกต้องตามที่สั่ง ในขณะที่ผู้ขายจะได้เงินครบถ้วน จึงมีการกำหนดตราสารเครดิต (Letter of credit (LC)) ขึ้น ซึ่งเป็นสื่อกลางอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ เสมือนเป็นหลักประกัน เดิมเป็นที่ทราบกันดีว่ากระบวนนี้ทางธนาคารจะเป็นคนออกตราสารให้แก่ผู้ขอเปิดเครดิต โดยธนาคารจะมีภาระผูกพันที่ต้องชำระให้แก่ธนาคารของผู้ส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนด

แต่เมื่อมีการนำ Blockchain มาใช้ นั่นหมายถึง ระบบการ Authentication การตรวจสอบเดต้า การยืนยันรายการบัญชีต่างๆ นั้นสามารถนำระบบแบบ Distributed-ledger เข้ามาช่วยในการทำ Data Authentication ตกลงยอมรับและมีการตรวจสอบว่า Transaction นั้นถูกต้อง ไม่ต้องใช้ส่วนกลางในการตรวจสอบ โดยแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาเป็นการสร้างรายการ LC ขึ้นมาอีกชุดโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้นำเข้าสินค้า, ผู้ส่งออกสินค้า และ ธนาคารทั้ง 2 ฝั่ง ตัวแอปฯ จะมีข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่สามารถดูได้บนแทปเล็ต และทำธุรกรรมต่อได้ ทำให้การซื้อขายสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วสะดวกมากขึ้น และมาพร้อมความโปร่งใส ภายใต้กระบวนการของ Distributed-ledger

โดยขณะนี้เป็นช่วง Proof-of-Concept ดูอยู่ว่าทำได้จริงไหมระหว่าง 2 ธนาคารและภาครัฐฯ สิงคโปร์ อ้างอิงจากInternational Business Times ขั้นตอนทดสอบนี้มีด้วยกัน 7 ขั้นตอนดังนี้

  1. ผู้นำเข้าเปิด LC กับธนาคารของฟากผู้นำเข้าเก็บไว้บน Blockchain
  2. ธนาคารของผู้นำเข้าสินค้าจะได้รับการแจ้งเตือนให้เข้าไปรีวิว LC โดยจะทำการอนุมัติ หรือปฎิเสธขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้ ถ้าได้รับการอนุมัติแล้ว ทางฟากของธนาคารผู้ส่งออกจะเข้ามาดูข้อมูลได้อัตโนมัติเพื่อทำการอนุมัติต่อไป
  3. ธนาคารผู้ส่งออกทำการอนุมัติหรือปฎิเสธ LC ได้ ถ้าได้รับการอนุมัติ ทางผู้ส่งออกสามารถดู LC ผ่านทางแอปพลิเคชั่น
  4. ผู้ส่งออกส่งสินค้า, ใบกำกับภาษี และแนบเอกสารสำคัญอื่นๆ เข้าไป หลังจากได้รับการตรวจสอบข้อมูลจะขึ้นไปเก็บไว้บน Blockchain
  5. ธนาคารผู้ส่งออกทำการอนุมัติหรือปฏิเสธแอปฯ และเอกสารชุดนั้นได้
  6. ธนาคารฟากผู้นำเข้าตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เทียบกับ LC ถ้าเจอข้อแตกต่างสามารถส่งให้ทางผู้นำเข้ารีวิวดูได้ เมื่อได้รับการอนุมัติ LC status ก็จะถึงว่าจบกระบวนการ ผู้นำเข้าก็ชำระเงิน
  7. แต่ถ้ามีจุดที่แตกต่าง ทางผู้นำเข้าสินค้าสามารถรีวิวเอกสารและทำการอนุมัติหรือปฏิเสธก็ได้

Vive Ramachandran Global Head of Product ของธนาคาร HSBC ที่ดูแลส่วน Trade Finance Business กล่าวว่า ใครๆ ก็พูดถึงทฤษฎี Blockchain กันเต็มไปหมด แต่สำหรับครั้งนี้ เรากำลังเริ่มทำมันจริงๆ แล้ว ดูว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของลูกค้าได้อย่างไร อย่างกรณีของ LC นั้น เทคโนโลยี Blockchain จะมาช่วยทำให้การทำงานเร็วขึ้น ง่ายขึ้นและเชื่อมโยง Supplier กับลูกค้าที่อยู่ที่บ้านและต่างประเทศได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...