แบงก์ชาติ มีแผนจะเพิ่ม Virtual Bank เป็นผู้เล่นใหม่ เตรียมออกเกณฑ์ขออนุญาตจัดตั้ง | Techsauce

แบงก์ชาติ มีแผนจะเพิ่ม Virtual Bank เป็นผู้เล่นใหม่ เตรียมออกเกณฑ์ขออนุญาตจัดตั้ง

ธปท.หนุนจัดตั้ง Virtual Bank หรือธนาคารไร้สาขา เพื่อผลักดันทั้งผู้เล่นรายเก่าและผู้เล่นรายใหม่ ให้สามารถพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้อย่างครอบคลุม โดยยึดหลักการแข่งขันอย่างเท่าเทียม บนพื้นฐานของความยั่งยืน  

แบงก์ชาติ มีแผนจะเพิ่ม Virtual Bank เป็นผู้เล่นใหม่ เตรียมออกเกณฑ์ขออนุญาตจัดตั้ง

จากการที่ธปท.ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน” (consultation paper) เพื่อสื่อสารหลักการทิศทางที่ธปท.ต้องการเห็นบนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างการสนับสนุนนวัตกรรมกับการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้สอดรับกับโอกาสที่มากับกระแสดิจิทัล 

จึงได้วางทิศทางที่จะเปิดโอกาสให้ภาคการเงินสามารถใช้เทคโนโลยีข้อมูล และช่องทางดิจิทัลเพื่อนำนวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้บริการและเพื่อช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางการเงิน 

โดยจะเป็นการเปิดกว้างให้สามารถจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล (Virtual bank) เพื่อให้ผู้ให้บริการแข่งขันกันพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ  ดังนี้ 

เปิดการแข่งขัน

ในที่นี้จะเป็นการเปิดกว้างในการแข่งขันให้ผู้เล่นทั้งรายเดิมและรายใหม่เข้ามาให้บริการและพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน โดยมีแนวนโยบายที่สําคัญ เช่น

- เปิดให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ดําเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล (virtual bank) เพื่อให้ผู้ให้บริการแข่งขันกันพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ

- ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่ไม่รวมสินทรัพย์ ดิจิทัลสําหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้คล่องตัวใน การลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมและ ธปท. เห็นว่าสามารถบริหาร จัดการความเสี่ยงได้

- ขยายให้ non-bank Fls ทําธุรกิจได้หลากหลายขึ้นและเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อให้แข่งขันได้เต็มที่ ภายใต้การกํากับดูแลตามระดับความเสี่ยงและ เท่าเทียมกับผู้เล่นอื่น

เปิดโครงสร้างพื้นฐาน

ตรงส่วนนี้จะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ให้บริการกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และเป็นธรรม และผลักดันให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สําคัญของประเทศและนํามาใช้ ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน การพัฒนานวัตกรรม และการให้บริการทาง การเงินที่ตอบโจทย์ผู้ให้บริการได้ดีขึ้น รวมทั้งสนับสนุนแนวนโยบายเพื่อเร่งให้ไทยเข้าสู่สังคมที่ใช้เงินสด และเช็คลดลง [less-cash society) และเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีแนวนโยบายที่สําคัญ เช่น

- การยกระดับธรรมาภิบาลของโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินให้เปิดกว้างต่อการใช้ ประโยชน์และพัฒนานวัตกรรม โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมใน การกําหนดนโยบาย

- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําคัญเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยต้นทุน ที่สะท้อนความเสี่ยงตามจริงมากขึ้น เช่น กลไกค้ำประกันเครดิตสําหรับความต้องการเงินทุนที่ หลากหลาย โครงสร้างพื้นฐานรองรับธุรกรรมการค้าและการชําระเงินสําหรับภาคธุรกิจ [Smart Financial and Payment Infrastructure for Business)

แนวนโยบายสำคัญ

1.เพิ่ม virtual bank เป็นผู้เล่นใหม่

  • เปิดให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ดําเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล (virtual bank) เพื่อให้ผู้ให้บริการแข่งขันกันพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และช่วยให้ SMEs และรายย่อยเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบอย่างเหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิด การผูกขาดเนื่องจากการดำเนินการในรูปแบบ Virtualbank จะคล่องตัวกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม (traditional bank)

    ซึ่งแนวทางนี้ถือเป็นการผสมผสานแนวนโยบาย virtual bank ของเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ท่ีมุ่งส่งเสริมการแข่งขันและการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน กับของมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่มุ่งส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของ SMEs และรายย่อย

ลักษณะของ virtual bank

  • มีขอบเขตการประกอบธุรกิจเหมือน traditional bank เต็มรูปแบบ เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการกลุ่มต่างๆ และแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นได้อย่างเต็มที่ และอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงเช่นเดียวกันกับ traditional bank อาทิ ด้านการบริหารความเสี่ยงและความมั่นคง การให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการอนุญาตและกำกับดูแลส่วนใหญ่ในต่างประเทศ

  • ต้องจดทะเบียนจัดตั้งและมีสำนักงานใหญ่หรือบริษัทแม่ในไทย เพื่อให้ธปท.สามารถกำกับดูแลผู้ประกอบการธุรกิจผ่านหน่วยงานในไทยได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางอนุญาตให้จัดตั้ง vitual bank ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

โดยหลังจากธปท.ปิดรับฟังความคิดเห็น ธปท.จะออกร่างหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้ง virtual bank ภายในครึ่งปีแรก 2565 

 2.เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้เล่นเดิม

ตรงส่วนนี้จะเป็นการให้สถาบันการเงินมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการประกอบธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขัน พัฒนา นวัตกรรมและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทางการเงินได้ดีขึ้น เช่น ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ Fintech ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารพาณิชย์ ที่กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจ และแข่งขัน และพัฒนาบริการได้มากขึ้น

ทั้งนี้ยังส่งเสริมบทบาทให้ Non-Bank และ SFIs เพื่อช่วยปิดช่องว่าง (gap)ในระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาบริการด้านนั้นๆให้ดีขึ้น ซึ่งหมายความว่าให้สามารถประกอบธุรกิจอื่นๆ ได้มากขึ้น  เช่น ให้ผู้ประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) สามารถประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (escrow agent) และให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider: IdP) ใน กระบวนการรู้จักลูกค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic-Know Your Customer: e-KYC)

 รวมทั้งให้ผู้ประกอบธุรกิจโอนเงินระหว่างประเทศ (Money Transfer: MT) และผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Money Changer: MC) เพื่อรองรับการให้บริการลูกค้ารายย่อยและ SMEs ได้ดีขึ้น

สนับสนุนให้ SFls ทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยจะเป็นการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ SEls ปิด gap ที่กลไกตลาดหรือโครงสร้าง พื้นฐานอื่นไม่สามารถทําหน้าที่ได้สมบูรณ์ โดยไม่เข้าไปแข่งขันโดยตรงกับผู้ให้บริการทางการเงินและ SFIs อื่น และส่งเสริมให้ SFIs พัฒนาบุคลากรและใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่าง SFls เพื่อให้ SFIs ทําหน้าที่ปิด gap ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างภาระทางการคลังน้อยที่สุด

ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทางการเงินทั้งรายใหม่และรายเดิมที่สนใจประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบอื่นนอกจาก virtual bank หรือประกอบธุรกิจทางการเงินอื่นภายใต้การกํากับของ ธปท. หารือ มายัง ธปท. ได้เป็นรายกรณี

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อดีตซีอีโอ Nissan เตือน การควบรวมกิจการกับ Honda อาจทำให้เจอ 'ปัญหา' การลดต้นทุนครั้งใหญ่

Carlos Ghosn อดีตซีอีโอของ Nissan ออกมาเตือนว่า บริษัทอาจต้องเผชิญกับ "หายนะ" จากการลดต้นทุนครั้งใหญ่ หากตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Honda โดยเขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองบริษัทมีความซ้ำซ้อน...

Responsive image

เชื่อหมอมากกว่า TikTok ? วิจัยชี้ คำแนะนำทางการแพทย์เกือบครึ่ง 'มั่ว'

Tebra บริษัทวิจัยด้านสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่า 5,000 รายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อทำการประเมินความถูกต้องของ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เ...

Responsive image

Zoom เผย 10 เทรนด์ AI ในการทำงาน ที่ต้องจับตา ปี 2025

ในปี 2568 บริษัทซูม วิดีโอคอมมิวนิเคชันส์ (Zoom) มองว่าเทคโนโลยี AI อาจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในหลายๆด้าน บริษัทที่ใช้ AI เป็นหลัก จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สร้างประสบการ...