ร้านค้าปลีก สายการบิน ร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งลีกกีฬา รวมแล้วกว่า 110 บริษัท ที่ได้ประกาศล้มละลายในสหรัฐอเมริกาในปีนี้ เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยก่อนหน้านี้เดิมทีหลายบริษัทได้ประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักมาก่อนแล้ว แต่เมื่อมีการสั่ง Lockdown เมืองที่ทำให้หลายธุรกิจไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ ยิ่งทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบหนักขึ้นไปอีก โดยส่วนใหญ่ที่เห็น คือ หลายธุรกิจมักจะประกาศล้มละลายเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าจะมีการปิดกิจการเสมอไป แต่เป็นการปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจ
ในบทความนี้จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านเราเห็นธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ไม่รอดพ้นจากการถูกทำลายล้างทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เพื่อจะได้เห็นการเปลี่ยนของภูมิทัศน์ทางธุรกิจในระยะต่อไป
31 มีนาคม - Dean & Deluca ผู้ค้าปลีกร้านอาหารชั้นนำในนครนิวยอร์ก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1977 และ Pace Food Retail บริษัทคนไทยที่ได้เข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2014 ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจแรก ๆ ที่เผยสัญญาอันตรายจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
8 เมษายน - Apex Parks ธุรกิจสวนสนุกและสวนน้ำกว่า 14 แห่งในรัฐนิวเจอร์ซีย์ แคลิฟอร์เนียและฟลอริดา ซึ่งแน่นอนว่าทางเจ้าของธุรกิจไม่ได้มีความตั้งใจที่จะปิดตัว
10 เมษายน - FoodFirst Global Holding ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของร้าน Bravo Cucina Italiano และ Brio Tuscan Grille
13 เมษายน - True Religion Apparel แบรนด์เสื้อผ้าที่รู้จักกันในชื่อกางเกงยีนส์ โดยผลิตผ้ายีนส์ยอดนิยมได้รับความนิยมในยุค 2000
25 เมษายน - CMX Cinemas ธุรกิจโรงภาพยนตร์ โดยทางบริษัทแม่อย่าง Cinemex Holdings อยู่ในขั้นตอนของการเข้าซื้อกิจการ Star Cinema Grill ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ลงนามเพียง 6 สัปดาห์ก่อน
30 เมษายน - Rubie Rubie’s ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแต่งกายวิกผมและอุปกรณ์งานรื่นเริงอื่น ๆ และเป็นผู้ออกแบบและผลิตชุดฮาโลวีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
4 พฤษภาคม - J. Crew ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าชื่อดังของสหรัฐ และยังเป็นเจ้าของ Madewell ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับสำหรับผู้หญิง
7 พฤษภาคม - Neiman Marcus ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่สุดหรู ซึ่งอีกหนึ่งเหตุผลคือ ปัญหาเดียวกับที่ห้างสรรพสินค้าแบบดั้งเดิมหลายแห่งที่อาจต้องเจอเช่นเดียวกัน
10 พฤษภาคม - Stage Stores (Bealls, Goody's, Palais Royal, Peebles, Gordman's และ Stage Parent) ซึ่งมีสาขาเกือบ 800 แห่งในชุมชนขนาดเล็กและในชนบท โดยเป็นแบรนด์ที่ขายสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่เครื่องแต่งกายเครื่องสำอางจนถึงสินค้าบ้าน
15 พฤษภาคม - JCPenney ร้านค้าปลีกที่ก่อตั้งขึ้นกว่าหนึ่งศตวรรษ ที่ไม่ได้ประสบแค่ปัญหาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็มีการชะลอตัวเนื่องจากผู้คนหันไปหาผู้ค้าปลีกออนไลน์และแฟชั่นที่รวดเร็วในการซื้อสินค้า โดยก่อนหน้านี้ JCPenney ประสบปัญหาทางการเงินเป็นเวลาหลายปีมาแล้วเช่นกัน
19 พฤษภาคม - Pier 1 Imports ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าเครื่องใช้ในบ้านที่ให้บริการกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ โดยก่อนหน้านี้ได้ยื่นล้มละลายในเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว แต่ต่อมาก็ได้ขออนุมัติศาลล้มละลายและมีแผนที่จะเริ่มธุรกิจใหม่โดยเร็วที่สุด
22 พฤษภาคม - Hertz ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องบริการรถเช่า และเป็นเจ้าของแบรนด์อื่น ๆ รวมถึง Dollar และ Thrifty ซึ่งได้มีการเปลี่ยน CEO เป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 6 ปี
27 พฤษภาคม - Tuesday Morning ร้านค้าปลีกที่เชี่ยวชาญด้านสินค้าลดราคา ซึ่งมีร้านค้าอยู่เกือบ 700 แห่งใน 39 รัฐของสหรัฐอเมริกา นอกจากยี้ในวันเดียวกันก็ยังมี Le Pain Quotidien ร้านเบเกอรี่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากฝรั่งเศสก็ยื่นล้มละลาย chapter 11 เช่นกัน
14 มิถุนายน - 24 Hour Fitness โดยบริษัทมีแผนที่จะปรับโครงสร้างองค์กรด้วยการปิดสาขาถาวรกว่า 133 แห่ง และในขณะเดียวกันก็มีแผนที่จะเปิดในหลายแห่งเช่นกัน
23 มิถุนายน - GNC ผู้จำหน่ายวิตามินและอาหารเสริม GNC มีสาขาเกือบ 3,000 แห่งทั่วประเทศ โดยบริษัทกล่าวในการแถลงข่าวว่าการยื่นนี้จะ“ เร่ง” ปิดสาขาให้ได้ 800-1,200 สาขาโดยเร็ว
24 มิถุนายน - CEC Entertainment ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของร้านอาหาร Chuck E. Cheese และร้านพิซซ่าของ Peter Piper's รวมกว่า 700 ร้าน ซึ่งเป็นร้านอาหารยอดนิยมของกลุ่มครอบครัว
29 มิถุนายน - Cirque du Soleil กลุ่มกายกรรมและความบันเทิงในแคนาดา โดยบริษัทกล่าวผ่านการแถลงข่าวว่า เป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของพวกเขา รวมถึงได้มีการประกาศปลดพนักงานเกือบ 3,500 คน
3 กรกฎาคม - Lucky Brand ผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกาย ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดย SPARC Group ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้าปลีกเช่น Aeropostale และ Nautica
8 กรกฎาคม - Brooks Brothers ร้านค้าปลีกอายุหลายร้อยปีกำลังพิจารณาการขายที่มีศักยภาพสำหรับปีที่ผ่านมา แต่ด้วยผลกระทบจากไวรัส COVID-19 จึงทำให้ต้องตัดสินใจยื่นล้มละลาย และในวันเดียวกัน Sur La Table ผู้ค้าปลีกเครื่องครัวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากฝรั่งเศสยื่นล้มละลายบทที่ 11 เช่นเดียวกัน โดยมีแผนจะปิด 56 สาขาจากทั้งหมด 125 สาขา
นอกจากธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้ปรากฎตามไทม์ไลน์ ซึ่งต่างก็เลือกเส้นทางของการยื่น Chapter 11 เพื่อขอฟื้นฟูกิจการนั้น ยังมีอีกหลากหลายธุรกิจในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องอาศัยการรวมตัวกันของคนหมู่มาก อาทิ
American Addiction Centers
บริษัทที่ดูแลผู้คนที่มีปัญหาจากการใช้สารเสพติด ซึ่งมีสถานฟื้นฟูอยู่ 26 แห่งใน 8 รัฐทั่วสหรัฐฯ ได้เริ่มเผชิญปัญหาหนี้สินจากการที่เชื้อไวรัส COVID-19 นั้นได้แพร่ระบาด และทางรัฐบาลได้ออกมาตรการให้ประชาชนนั้นอยู่บ้านและจำกัดการบินขาเข้า ทำให้ผู้ป่วยจากทั้งในและนอกประเทศนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง
“ในเดือนพฤษภาคม การเข้ามารับการรักษานั้นเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีเท่าระดับตอนก่อนการระบาด COVID-19” ตัวแทนจาก American Addiction Centers ได้กล่าวไว้ในการยื่นประกาศล้มละลาย โดยผู้ป่วยใหม่ทุกคนนั้นจะได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่าและจะถูกกักตัวแยกจากผู้ป่วยคนอื่นๆ ระหว่างรอผลตรวจ ทำให้จำนวนเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยนั้นมีจำนวนจำกัด
โดยทางประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Andrew McWilliam ได้เผยในการประกาศล้มละลายว่าภายใต้วิกฤตเช่นนี้ บริษัทก็ยังมองเห็นโอกาสอยู่บ้าง “เนื่องจากอารมณ์ของคนในประเทศที่เต็มไปด้วยความเครียด ความกังวล ความกลัว และการเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขานั้นต้องการที่จะได้รับการรักษา ส่งผลให้ความต้องการของบริการของเรามากขึ้น”
Bounce For Fun
เป็นเวลาเกือบ 2 ศตวรรษที่ Bounce For Fun นั้นได้เข้าไปช่วยเหลือโบสถ์ โรงเรียน และชุมชนในการจัดปาร์ตี้ที่สนุกสนานให้กับเด็กหลายๆ คน ทางบริษัทนั้นได้เตรียมความพร้อมในการทำแคตตาล็อกสำหรับของเล่นที่จะปล่อยให้เช่าในช่วงพีคของธุรกิจที่กำลังจะมาถึง แต่ก่อนที่จะถึงช่วงพีคไม่นาน ทางรัฐนั้นก็ได้มีการสั่งห้ามไม่ให้มีการรวมตัวขนาดใหญ่ ปิดโรงเรียนและให้ประชาชนนั้นอยู่บ้าน “ก่อนกลางเดือนมีนาคม เรากำลังทำเป้าใหม่สูงสุดในปีนี้ แต่เมื่อ COVID-19 เกิดขึ้น ธุรกิจของเรานั้นถูกยกเลิก 100%”
โดยทาง Paul Sumrow เจ้าของบริษัท Bounce for Fun นั้นได้รับเงินกู้ผ่านโปรแกรมสินเชื่อเพื่อคุ้มครองธุรกิจ (Paycheck Protection Program) แต่ก็ได้ยอมรับว่ามันแทบจะไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปในขณะที่รายได้กว่า 85-90% ของปีนี้นั้นหายไป
Sugarloaf Craft Festival
เป็นเวลากว่า 45 ปีที่ Sugarloaf นั้นเปิดโอกาสให้ศิลปินทั่วสหรัฐอเมริกาได้มาแสดงสินค้าของพวกเขาในตลาดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจำพวกเครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา และสิ่งทอต่างๆ แต่สำหรับงาน Sugarlof ครั้งที่ 11 ที่ได้วางแผนว่าจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนั้นได้ถูกสั่งห้ามให้จัดขึ้น เนื่องจากคำสั่งของทางรัฐที่ไม่ให้มีการรวมตัวทางสังคมใด ๆ
“เรารอดจากทั้งสงคราม การถดถอยทางเศรษฐกิจ การก่อการร้าย เหตุการณ์ทางการเมือง พายุเฮอริเคน พายุทอร์นาโด พายุหิมะและหลายๆ เหตุการณ์อีกมากมาย” ทางบริษัทได้แถลงผ่านบนเว็บไซต์ว่าพวกเขานั้นกำลังจะปิดตัวลง ซึ่งมีการระบุอีกว่า “เมื่อบริษัทไม่มีกระแสเงินสดเข้ามา แม้แต่บริษัทที่มีการบริหารงานที่ดีก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์แบบนี้”
Northern Bear
15 ปีมาแล้วที่ร้าน Black Bear Diners นั้นเป็นสถานที่ยอดนิยมในการจิบกาแฟและพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน แต่เมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เข้ามาในสหรัฐฯ ทางร้านนั้นถูกบังคับให้ปิดร้าน ส่งผลให้ทางเจ้าของร้าน Steve Andrews และ Debbies นั้นจำเป็นที่จะต้องปลดพนักงาน 50 คนจากทั้งหมด 65 คน และพยายามเปลี่ยนรูปแบบการขายเป็นแบบซื้อกลับบ้านเท่านั้น แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเพราะว่าอาหารที่ร้าน Black Bear Diners นั้นเหมาะกับการทานที่ร้านมากกว่า โดยทาง Andrew ได้เผยในการสัมภาษณ์ว่า “บริษัทนั้นอยู่ในสภาวะขาดแคลนเงินอย่างรุนแรง เราไม่สามารถที่จะดำเนินธุรกิจได้อีกต่อไปแล้ว”
พวกเขาพยายามที่จะยืมเงินจำนวน 350,000 ดอลลาร์ผ่านโปรแกรมสินเชื่อเพื่อคุ้มครองธุรกิจ (Paycheck Protection Program) แต่ด้วยปัญหาทางคอมพิวเตอร์จากธนาคารที่พวกเขาได้ไปสมัครเข้าโครงการนั้นขัดข้อง ทำให้พวกเขาไม่สามารถลงทะเบียนได้ทันเวลา ทำให้เขาและภรรยาของเขานั้นต้องยื่นล้มละลายในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
Specialty’s Cafe & Bakery
อาหารหลาย ๆ อย่างของ Specialty’s ไม่ว่าจะเป็นแซนวิชหรือสลัด นั้นได้กลายมาเป็นอาหารยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศหลายพันคนที่อาศัยและทำงานอยู่ในใจกลางเมืองซานฟรานซิสโกและตลอดพื้นที่อ่าวทั้งหมด หลังจากทางร้านได้ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 33 ปี มาตรการของรัฐที่ให้ประชาชนอยู่บ้านนั้นได้ทำลายตลาดลูกค้าของ Specialty’s ทั้งหมด ซึ่งสำหรับบางสาขาที่มีค่าเช่าต่อเดือนกว่า 30,000 ดอลลาร์ ทำให้ทางบริษัทนั้นไม่มีตัวเลือกใดๆ นอกจากปิดตัวลง
Gold’s Gym International
Gold’s Gym นั้นถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1965 โดย Joe Gold ภายใน 55 ปีธุรกิจของเขานั้นเติบโตอย่างมาก จนมีสาขากว่า 700 สาขา และสำหรับปี 2019 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ทางบริษัทนั้นมีการเติบโตมากที่สุด แต่หลังจากนั้นไม่นานการเติบโตในครั้งนี้ก็ถูกทำลายอย่างรวดเร็วด้วยการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้บริษัทนั้นต้องยื่นล้มละลายต่อศาลและพักงานพนักงานกว่า 4,600 คน
จากผลกระทบของ COVID-19 ทำให้กว่า 30 สาขาของ Gold’s Gym ต้องปิดตัวลงเมื่อไม่สามารถที่จะเจรจาสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดินได้ ทำให้ทางบริษัทต้องขายอุปกรณ์บางอย่างและหาโลเคชั่นใหม่ ซึ่งในตอนนี้ทางบริษัทนั้นพยายามที่จะขายธุรกิจผ่านการประมูล โดยหุ้นส่วนส่วนมากนั้นตกลงที่จะเสนอราคาประมูลอยู่ที่ 80 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2 พันล้านบาท โดย Adam Zeitsiff CEO ของ Gold’s Gym นั้นได้เผยต่อสมาชิกและพนักงานในเดือนพฤษภาคมว่า “เราจะไม่ไปไหนแน่นอน”
The Roman Catholic Church for the Archdiocese of New Orleans
สำหรับ Roman Catholic Church for the Archdiocese of New Orleans โบสถ์แห่งนี้นั้นมีปัญหามาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ COVID-19 จากข้อกล่าวหาในเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้นักบวชและมัคนายกหลายสิบคนนั้นถูกปลดออก
เมื่อการระบาดของ COVID-19 นั้นเกิดขึ้น เช่นเดียวกับโบสถ์ในหลายพื้นที่ กว่า 20 แห่งในสหรัฐฯ นั้นต้องการขอความคุ้มครองการล้มละลาย และได้ทำการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อยืดเวลาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร โดยในเอกสารที่ยื่นต่อศาลของหลวงพ่อ Patrick R. Carr จากโบสถ์แห่งนี้นั้นได้ระบุว่าทางโบสถ์นั้นได้เผชิญกับปัญหาทางการเงินเป็นผลมาจากข้อกล่าวหาเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศและการเกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้ทางโบสถ์นั้นไม่สามารดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้
Klausner Lumber
เมื่อต้นปี 2020 Klausner Group บริษัทผู้ผลิตไม้แปรรูปจากออสเตรียนั้นได้เผชิญกับปัญหาและเริ่มหมดหนทางในการรักษาโรงเลื่อยที่ตั้งอยู่ใน Live Oak รัฐฟลอริด้า ด้วยค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปและยอดขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมกับปัญหาการเงินจากทางบริษัทแม่ในออสเตรีย ทำให้ทางบริษัทนั้นได้พิจารณายื่นล้มละลายต่อศาล และเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทางผู้บริหารนั้นได้ตัดสินใจที่ปิดโรงงานและเดินทางออกนอกประเทศทันที ทิ้งโรงงานที่ปิดไว้โดยไม่มีการดูแลใดๆ
โดยในที่สุดโรงงานเลื่อยในรัฐฟลอริด้านั้นก็ได้ยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายในวันที่ 30 เมษายน โดยหัวหน้าฝ่ายปรับโครงสร้างองค์กรคนใหม่นั้นได้ออกมาอธิบายต่อศาลภายหลังว่าทีมผู้บริหารทั้งหมดและวิศวกรหลายๆ คนที่ได้เดินทางกลับไปยังยุโรปก่อนหน้านี้นั้นมีจุดมุ่งหมายคือ “เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสุขภาพที่มีความอัตรายในสหรัฐฯ และมาตการจำกัดการเดินทางในระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น”
United Cannabis
ปัญหาทางการเงิน United Cannabis นั้นเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลกันของอุปสงค์และอุปทาน โดยในเดือนพฤศจิกายน 2019 ราคาน้ำมัน CBD นั้นตกลง ทำให้ทางบริษัทนั้นต้องทำการปลดพนักงานมากกว่าหนึ่งในสามของพนักงานทั้งหมด 150 คน และเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้ภายในอุตสาหกรรมนั้นเกิดความตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้มีการปลดงานเพิ่มเติม บวกกับการขัดแย้งกับเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของบริษัทอย่าง Ucann’s ทำให้สุดท้ายแล้วบริษัทนั้นก็ได้เร่งรัดในการยื่นฟ้องล้มละลายในวันที่ 20 เมษายน
Alpha Entertainment (XFL)
Alpha Entertainment นั้นถูกก่อตั้งขึ้นโดย World Wrestling Entertainment โดยทางบริษัทนั้นสูญเสียรายได้กว่าหลายล้านดอลลาร์เมื่อมีคำสั่งจากทางรัฐให้ยกเลิกเกมที่เหลือในฤดูกาลนี้ ส่งผลให้บริษัทต้องปลดนักฟุตบอลกว่า 500 คน
โดยระหว่างการเตรียมตัวที่จะยื่นล้มละลาย Vince McMahon ได้เสนอให้บริษัทนั้นยืมเงินของเขากว่า 9 ล้านบาทโดยมีทรัพย์สินของบริษัทเป็นหลักประกัน อย่างไรก็ตามแต่เขาได้ถอนตัวออกมาเนื่องจากเจ้าหนี้หลายรายนั้นไม่พอใจ ซึ่งในตอนนี้บริษัทนั้นได้มีการวางแผนที่จะขายตัวเองออกไปให้ผู้ซื้อรายอื่นในการประมูลในเดือนหน้า
Ravn Air
ถึงแม้ว่าอลาสก้าจะมีขนาดใหญ่กว่ารัฐเท็กซัสมากถึงสองเท่า แต่ว่าภายในอลาสก้านั้นมีถนนค่อนข้างน้อยและถ้าหากจะเดินทางไปหมู่บ้านที่อยู่นอกตัวเมือง บางพื้นที่นั้นจะต้องเดินทางผ่านเครื่องบินเท่านั้น และเมื่อการระบาดของ COVID-19 นั้นได้เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ทำให้บางหมู่บ้านและบางพื้นที่นั้นมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการเดินทางเข้าโดยเครื่องบินเพื่อป้องกันการเข้ามาของเชื้อไวรัส
ซึ่ง Ravn Air Group นั้นเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนี้ โดยรายได้ของสายการบินนั้นหายไปกว่า 90% ทำให้บริษัทนั้นเริ่มขาดกระแสเงินและต้องทำการยื่นล้มละลายในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งการยื่นล้มละลายครั้งนี้ทำให้หมู่บ้านในบางพื้นที่นั้นเกิดความกังวลเนื่องจากจะขาดการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ การดูแลทางการแพทย์ บริการขนส่ง และการเข้าถึงของใช้ที่จำเป็นอื่นๆ
โดยนายกรัฐมนตรีของเมืองๆ หนึ่งในตอนบนของอลาสก้านั้นได้พยายามที่จะนำทรัพย์สินของ Ravn มาใช้ในการส่งอาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และของใช้อื่นๆ ให้กับประชาชน แต่ว่าการกระทำเช่นนี้ของนายกก็ได้ถูกสั่งห้ามจากอัยการสูงสุดของรัฐ
จากการยื่นล้มละลาย ทางบริษัทนั้นได้รับการอนุมัติเงินช่วยเหลือมูลค่ากว่า 30 ล้านดอลลาร์จากกองทุนช่วยเหลือจากโคโรนาไวรัส (Coronavirus-relief Fund) และในต้นเดือนกรกฎาคมทางบริษัทนั้นได้เริ่มขายเครื่องบินและทรัพย์สินต่างๆ ให้กับบริษัทการบินอื่นๆ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด