แบงก์ชาติ เริ่มทดสอบการให้บริการ Peer-to-Peer Lending Platform ภายใต้ Regulatory Sandbox | Techsauce

แบงก์ชาติ เริ่มทดสอบการให้บริการ Peer-to-Peer Lending Platform ภายใต้ Regulatory Sandbox

แบงก์ชาติ เริ่มทดสอบการให้บริการ Peer-to-Peer Lending Platform หรือการทำธุรกิจกรรมให้สินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลแล้ว ภายใต้ Regulatory Sandbox โดยให้ บริษัท ดีพสปาร์คส์ เพียร์ เลนดิ้ง จำกัด เข้าร่วมเป็นรายแรก

Peer-to-Peer Lending Platform

คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้เห็นชอบให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) เข้าทดสอบการให้บริการในวงจำกัด ภายใต้ Regulatory Sandbox ของ ธปท. ได้แก่ บริษัท ดีพสปาร์คส์ เพียร์ เลนดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นรายแรก ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) ดังกล่าวทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนให้เกิดการกู้ยืมระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยจับคู่ระหว่างผู้ที่ต้องการกู้เงินและผู้ที่ต้องการให้กู้ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการทำสัญญาสินเชื่อ การนำส่งเงินกู้และจ่ายคืนเงินกู้ หรือติดตามหนี้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของผู้กู้ และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนของผู้ให้กู้ 

โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจ Peer-to-Peer Lending Platform เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต และ ธปท. ได้กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจต้องทดสอบการให้บริการในวงจำกัดภายใต้ Regulatory Sandbox จนประสบความสำเร็จ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการบริหารความเสี่ยงและดูแลผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม จึงจะสามารถขอใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจในวงกว้างต่อไป

สำหรับการพิจารณาให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ Peer-to-Peer Lending Platform เข้าทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox นั้น ธปท. ให้ความสำคัญกับการมีระบบงานและกระบวนการรองรับการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสม มีการดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง อาทิ ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัย ความเสี่ยงด้านการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ตลอดจนประกอบธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ โดยสร้างความตระหนักถึงการก่อภาระหนี้สินที่ไม่เกินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ใช้บริการ ซึ่ง ธปท. จะติดตามอย่างใกล้ชิดในระหว่างการทดสอบ เพื่อให้ระบบงานมีความมั่นคงปลอดภัย มีความเสถียร เชื่อถือได้ และมีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม โดยเมื่อผู้เข้าร่วมทดสอบประสบความสำเร็จในการทดสอบและมีความพร้อมให้บริการในวงกว้างแล้ว ธปท. จะเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อไป 

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่เข้าร่วมทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox ได้ที่นี่ และสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจ Peer-to-Peer Lending Platform ได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท. ที่นี่


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ออมสิน เปิดตัว "GOOD MONEY" แอปสินเชื่อใหม่ ดอกเบี้ยต่ำ เริ่มต้น 19%

ธนาคารออมสินเปิดตัวแอปพลิเคชัน "GOOD MONEY" ภายใต้บริษัท เงินดีดี จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจน็อนแบงก์ในเครือธนาคารออมสิน เพื่อให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อรายย่อยผ่านแอปพลิเคชัน ...

Responsive image

อุตสาหกรรมเทคฯ จะเป็นยังไง ? ใต้นโยบาย ‘ทรัมป์และแฮร์ริส’ สรุปนโยบายเทคโนโลยี 2 ฝั่ง แบบม้วนเดียวจบ!

โค้งสุดท้ายแล้ว! กับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2024 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดความตื่นเต้นทั่วประเทศว่าผู้ใดจะได้ครองตำแหน่งผู้นำคนต่อไประหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครี...

Responsive image

สภาดิจิทัลฯ ผนึกกำลังรัฐบาล ตั้งเป้าดันไทยสู่ Digital Hub แห่งอาเซียนภายใน 3 ปี

ในขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเร่งพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัล ประเทศไทยก็ไม่ยอมนิ่งนอนใจ ล่าสุดสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (สภาดิจิทัลฯ) นำโดย ...