รัฐบาลจีนกำลังจะยึด Big Data จากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ Tencent, Alibaba, ByteDance โดนหมด | Techsauce

รัฐบาลจีนกำลังจะยึด Big Data จากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ Tencent, Alibaba, ByteDance โดนหมด

ล่าสุด รัฐบาลจีนได้เรียกร้องให้บรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แชร์ข้อมูลของบริษัท และยืนยันว่าทางรัฐบาลจีนมีอำนาจในข้อมูลมากกว่าบริษัทสหรัฐในจีน

China

หลังจากการเสนอให้บริษัทเทคโนโลยีให้ข้อมูลกับรัฐเพื่อเป็นประโยชน์กับประเทศ ปัจจุบัน ข้อเสนอเหล่านั้นได้กลายมาเป็นการเรียกร้องให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง Tencent, Alibaba และ TikTok ByteDance มีการเปิดเผยข้อมูลที่รวบรวมจากทั้งโซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ และธุรกิจอื่นๆ

นอกจากนั้น จีนยังกดดันให้บริษัทต่างชาติว่าเป็นการดำเนินงานในประเทศจีนและมีการเก็บบันทึกข้อมูลจากลูกค้าในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีอำนาจในข้อมูลทั้งหมด ซึ่งบริษัทเหล่านี้เคยมีการร้องเรียนถึงข้อกำหนด "การแปลข้อมูลให้เข้ากับท้องถิ่น" ว่าอาจเป็นการยับยั้งการดำเนินการในด้านนวัตกรรมกับทั่วโลก หรืออาจทำให้ทางการจีนสามารถขโมยข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้

เมื่อปี 2555 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีนได้เข้าเยี่ยมบริษัทเทคยักษ์ Tencent Holdings Ltd. และหยิบยกข้อเสนอที่จะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายให้กับการปกครองประเทศจีนของเขา ซึ่งก็คือการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาลให้ ซึ่งปธน.สีจิ้นผิงได้กล่าวชม Pony Ma ผู้ก่อตั้งของ Tencent ในว่ามีการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ พร้อมให้คำแนะนำว่าการให้ข้อมูลดังกล่าวกับทางรัฐ จะสร้างประโยชน์ต่อการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก

ในส่วนของกฎหมายและข้อบังคับต่างๆของการแชร์ข้อมูลดิจิทัลในประเทศ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็เป็นการผลักดันความเชื่อในการเข้าถึงข้อมูลของรัฐ ซึ่งปธน.สีจิ้นผิงก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และล่าสุดยังผลักดันจนเกิดข้อกฎหมายใหม่ที่จะทำให้บริษัทต่างๆ ต่อต้านคำขอดังกล่าวได้ยากขึ้น ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้ว ปธน.สีจิ้นผิงก็ได้ตัดสินใจหยุดการเสนอขายหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ให้กับประชาชน ด้วยความกังวลว่าบริษัทเหล่านี้อาจใช้ข้อมูลดิจิทัลส่วนบุคคลในการสร้างศูนย์พลังงานทางเลือกให้กับประชาชนในรัฐที่มีพรรคปกครองเพียงพรรคเดียว 

เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของจีนในครั้งนี้ คือความความคิดเห็นของเหล่าผู้นำว่าข้อมูลที่ถูกรวบรวมโดยภาคเอกชนถือเป็นทรัพย์สินของชาติที่รัฐสามารถนำมาใช้ได้ตามความต้องการ และยังกังวลว่าการแบ่งปันข้อมูลกับหุ้นส่วนทางธุรกิจในต่างประเทศจะเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติ

อ้างอิง : WSJ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...