อวสานวัฒนธรรมองค์กรแบบ 996 เมื่อรัฐบาลจีนมองว่า วิถีการทำงานเช่นนี้ ละเมิดต่อกฎหมายแรงงาน | Techsauce

อวสานวัฒนธรรมองค์กรแบบ 996 เมื่อรัฐบาลจีนมองว่า วิถีการทำงานเช่นนี้ ละเมิดต่อกฎหมายแรงงาน

สื่อต่างประเทศรายงานว่า ศาลสูงจีน ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคมจีน (Ministry of Human Resources and Social Security) ได้ออกมาประกาศแล้วว่า วัฒนธรรมการทำงานองค์กรจีนแบบ ’996’ ซึ่งเป็นวิถีการทำงานของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี เน้นเริ่มงานที่ ’9’ โมงเช้า เลิกงาน 3 ทุ่ม หรือ ‘9’ pm. และทำงานติดต่อกัน ‘6’ วันต่อสัปดาห์เป็นการละเมิดต่อกฎหมายแรงงานจีน

996

ในแถลงการณ์ของศาลสูงจีนได้ระบุว่า “ในทางกฎหมาย แรงงานมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยและเวลาพักผ่อน หรือวันหยุดตามเหมาะสม การปฏิบัติตามระบอบการปกครองของชาติว่าด้วยชั่วโมงการทำงานนั้นเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ควรกระทำ การให้พนักงานทำงานล่วงหน้าอาจนำไปสู่ข้อพิพาทแรงงาน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง รวมไปถึงเสถียรภาพทางสังคมได้” 

การประกาศครั้งนี้นับว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวัฒนธรรมการทำงานของจีนที่ให้ความสำคัญกับการทำงานหนัก และมีบริษัทเทคโนโลยีจีนบางแห่งได้นำวัฒนธรรมองค์กร 996 มาปรับใช้และได้เห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น เช่น Alibaba, Tencent, JD.com โดยในปี 2019 แจ็ค หม่า มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Alibaba ได้ให้มุมมองต่อการทำงาน 996 ในเรียงความของตน ว่าเป็น “พรอันยิ่งใหญ่” ซึ่งได้หล่อหลอมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ Alibaba 

“ถ้าเราได้ทำงานในสิ่งที่เรารัก 996 ไม่ใช่ปัญหา” แจ็ค หม่าได้กล่าวในเรียงความ “แต่ถ้าคุณไม่ชอบงานที่คุณทำ ทุกนาทีคือความทรมาน”

แต่ภายหลังก็มีกลุ่มนักวิจารณ์ออกมากล่าวว่าวัฒนธรรมการทำงานหนักแบบ 996 นี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเอาเปรียบแรงงาน เมื่อต้นปี 2021 คนจีนจำนวนมากก็ออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปวิถีการทำงานในองค์กร หลังจากที่พนักงานของ Pinduoduo แพลตฟอร์ม E-Commerce เสียชีวิตภายหลังจากเข้าทำงานในบร่ิษัทตามระบบ 996 เป็นเวลาเพียง 2 สัปดาห์ 

แม้ว่าจีนจะลุกขึ้นมาล้มวัฒนธรรมองค์กร 996 ได้ในที่สุด แต่นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าเป็นไปได้ยากที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงานหนักที่หยั่งรากลึกในสังคมจีนนานหลายสิบปี โดย Dev Lewis หัวหน้าโครงการ Digital Asia Hub กล่าวว่า ภายหลังจากการประกาศ เชื่อว่าบริษัทก็จะหาวิธีใหม่ ๆ มาให้พนักงานทำงานเป็นเวลานานได้โดยที่ไม่ผิดกฎหมายแทน กฎหมายแรงงานไม่สามารถทำให้วัฒนธรรมที่ยึดมั่นมาอย่างยาวนานนั้นเปลี่ยนแปลงได้ เพราะบริษัทก็จะพบช่องโหว่จากแรงจูงใจทางเศรษฐกิจได้อยู่ดี 

ขณะเดียวกันในส่วนของ Bo Zhaung นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีนที่ Loomis Styles กล่าวว่า คำตัดสินของศาลเกิดขึ้นในบริบทที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงต้องการจะผลักดันนโยบายประชานิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยพยายามจะลดอำนาจบริษัทเทคโนโลยีจีนผ่านการใช้กฎระเบียบต่อต้านการผูกขาด และเรียกร้องให้ชนชั้นสูงของประเทศกระจายความมั่งคั่งไปยังคนกลุ่มอื่น ๆ อีกทั้งต้องการยกระดับการคุ้มครองแรงงาน 

อ้างอิง Fortune



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Future Trends เปิดตัวหนังสือ Future Trends Ahead 2025 by SCBX เจาะลึก 62 เทรนด์ พร้อมประกาศจัดงาน Summit 18 ก.พ. นี้

จากความสำเร็จของหนังสือ “Future Trends Ahead 2024” ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 18,000 เล่ม Future Trends ได้ต่อยอดความสำเร็จนี้ด้วยการสนับสนุนจาก SCBX จัดทำหนังสือ "Future Trends Ahead 2...

Responsive image

AWS Thailand Region เปิดให้บริการในไทยแล้ววันนี้ ! คาดช่วยจ้างงานเพิ่ม 11,000 ตำแหน่ง ดัน GDP ไทยโตขึ้นอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากยักษ์ใหญ่ AWS ได้ประกาศผ่านงาน AWS Summit Bangkok เมื่อช่วงกลางปี 2024 ที่ผ่านมาว่าจะมีการจัดตั้ง AWS Region ในประเทศไทย หรือโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AWS Cloud พร้อมตั้งเป้าเป...

Responsive image

PDPA Hackathon 2024 ต่อยอดไอเดีย ผลักดันเยาวชน สร้างนวัตกรรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA Hackathon 2024 ต่อยอดไอเดีย ผลักดันเยาวชน สร้างนวัตกรรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล...