BIG มั่นใจ ไทยมีออกซิเจนเพียงพอรองรับผู้ป่วย COVID-19 พร้อมช่วยเหลือทุกโรงพยาบาลที่ขาดแคลน

การกลับมาของการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในระลอกที่ 3 สำหรับประเทศไทยแล้ว สถานการณ์ครั้งนี้มีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายต่างเกิดความกังวลว่าระบบสาธารณสุขของไทยจะแบกรับไหวหรือไม่ โดยเฉพาะปัจจัยพื้นฐานที่ต้องใช้ในการต่อสู้กับโรค ไม่ว่าจะเป็น เตียงผู้ป่วย จำนวนบุคคลกรทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจ หรือแม้แต่ ออกซิเจน เองก็ตาม ดังที่เป็นข่าวระดับโลกอย่าง ประเทศอินเดีย ที่ไม่ได้ประสบปัญหาที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยังประสบปัญหาขาดแคลนออกซิเจนอีกด้วย จึงเป็นคำถามและความกังวลที่เกิดขึ้นว่าประเทศไทยจะเกิดวิกฤตเช่นนั้นหรือไม่ 

สัมภาษณ์,ปิยบุตร,BIG,ออกซิเจน,covid-19

Techsauce ได้เชิญ คุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จํากัด (บีไอจี) ผู้นำด้านนวัตกรรมแก๊สอุตสาหกรรมในประเทศไทย มาพูดคุยในประเด็นดังกล่าวในรายการ Techsauce Live

คุณปิยบุตร พูดถึงความสำคัญของออกซิเจนสำหรับมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วอากาศที่เราสูดเข้าไปในร่างกายประกอบไปด้วย ออกซิเจน 20% ไนโตรเจน 70% อากอน 0.93 % คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03 % 

ปัจจุบันความต้องการออกซิเจนในประเทศมีอยู่ถึง 300 ตันต่อหนึ่งวันและ เพิ่มขึ้น 20% ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ที่ระบาดเป็น 350 ตันต่อวัน 

แต่อย่างไรก็ตาม ทางโรงงานสามารถผลิตออกซิเจนได้สูงสุดถึง 1,000 ตันต่อวัน เฉพาะฉะนั้น ปริมาณของออกซิเจนจะเพียงพอต่อความต้องการในประเทศอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีระบบจัดเก็บออกซิเจนในแบบของเหลวซึ่งทำให้การเก็บออกซิเจนมีประสิทธิภาพขึ้นถึง 600 เท่าดีกว่าการเก็บออกซิเจนในรูปแบบของก๊าซ มากกว่านั้น โรงพยาบาลในประเทศไทยมากกว่า 80% ได้มีระบบจัดเก็บออกซิเจนในรูปแบบของเหลวเป็นที่เรียบร้อย 

สำหรับออกซิเจนแล้วมีความสำคัญต่อกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ  Covid-19 เป็นอย่างมาก เพราะจะมีส่วนช่วยในเรื่องของการแลกเปลี่ยนอากาศในปอดและเติมเซลล์ให้กับร่างกาย

วิกฤตออกซิเจนขาดแคลนในอินเดีย

แม้ว่าอินเดียจะสามารถผลิตออกซิเจนได้มากกว่าประเทศไทย โดยอินเดียสามารถผลิตออกซิเจนต่อวันได้ถึง 7,000-9,000 ตัน แต่ปัญหาที่สำคัญของอินเดียคือระบบการจัดเก็บและขนส่งออกซิเจน ในปัจจุบัน ออกซิเจนในอินเดียยังคงถูกเก็บในระบบก๊าซ ซึ่งส่งผลกระทบในด้านการจัดเก็บที่ไม่ดีและส่งผลให้ลดประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจนอย่างมาก และโรงงานผลิตออกซิเจนในอินเดียอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ผู้ติดเชื้อและโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก ดังนั้นการขนส่งในอินเดียต้องใช้เวลามากกว่า 18 ชั่วโมง 

และทาง BIG ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือด้วยการส่งตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 6 ตู้ให้กับทางอินเดียเพื่อเพิ่มที่การจัดเก็บออกซิเจนในประเทศด้วย 

BIG Restart ช่วยเหลือประเทศไทยฝ่าวิกฤต Covid-19

ทั้งนี้ BIG ได้ตัดสินใจ restart โรงงานแยกอากาศขึ้นมาใหม่โดยได้รับการสนับสนุนจาก partner อย่าง GC ในด้านของพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็นโครงการ  “Restart oxygen Restart Thailand” เพื่อเชิญชวนคนไทยทุกคนได้รีสตาร์ทประเทศไทยใหม่อีกครั้งโดย คุณ ปิยบุตร ยังคงสนับสนุนให้คนไทยในสถานการ์ณการระบาดของไวรัส Covid-19 ได้ออกมาช่วยประเทศโดยทำตามสิ่งที่ทุกคนถนัดเพื่อทำให้ประเทศผ่านพ้นเวลาช่วงวิกฤตแบบนี้ไปได้

สำหรับประเทศไทยยังถือว่ามีการจัดการระบบสาธารณสุขที่ดีเมื่อมองถึงการจัดการระบบของออกซิเจนและเรื่องของบุคคลากรทางการแพทย์เป็นต้น และโรงพยาบาลใดขาดแคลนในเรื่องของออกซิเจนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านเพจ Facebook : Bangkok Industiral Gas ได้โดยตรง คุณปิยบุตรกล่าวปิดท้าย 

เกี่ยวกับ Bangkok Industrial Gas (BIG)

บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ บีไอจี ก่อตั้งขี้นในปีพ.ศ. 2530 โดยการร่วมทุนระหว่างผู้ถือหุ้นชาวไทย นำโดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ แอร์โปรดักส์ แอนด์ เคมิคัลส์ อิงค์ (Air Products and Chemicals, Inc.) ผู้นำด้านก๊าซอุตสาหกรรมและเคมีภัณฑ์ระดับโลก เป็นบริษัทที่อยู่ในการจัดอันดับฟอร์จูน 500 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 75 ปี ด้วยสำนักงานสาขากว่า 50 ประเทศทั่วโลก

-----------------------------------------------------------------

สำหรับภาคเอกชน บริษัท สมาคม มูลนิธิ ทุกภาคส่วนที่มีโครงการช่วยเหลือ หรือต้องการที่จะช่วยเหลือ วิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ ครั้งนี้ สามารถลงทะเบียนเพื่อแจ้งข้อมูลได้ที่ Link นี้ 

ติดตามรายละเอียดรวมความช่วยเหลือจากภาคเอกชนได้ที่นี่



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...

Responsive image

สมาคมเฮลท์เทคไทยจัดงาน Health Tech Thailand Executive Dinner 2025 ยกระดับสาธารณสุขด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

สมาคมเฮลท์เทคไทย จัดงาน “Health Tech Thailand Executive Dinner 2025” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ (Health Tech) กับหน่วยงานภาครัฐแล...

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...