CP ชนะประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงวิ่งเข้าสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา | Techsauce

CP ชนะประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงวิ่งเข้าสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

ในที่สุดผู้ชนะการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เข้าสู่ 3 สนามบิน (สนามบินดอนเมือง, สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา) และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง คือ "กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร" หรือ กลุ่ม CP นั่นเอง

ข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยในช่วงกลางดึกของวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้เวลาประชุมไปเกือบ 10 ชั่วโมง จนได้ผลสรุปดังกล่าวออกมา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าหลังเปิดซองด้านการเงิน กรอบวงเงินการร่วมลงทุนของรัฐกับเอกชนไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท

พบว่ากลุ่ม CP เสนอวงเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐน้อยกว่ากลุ่ม BSR โดยเวลานี้ยังเปิดเผยจำนวนวงเงินไม่ได้

ทั้งนี้ ข้อเสนอของกลุ่ม CP ยังมีบางจุดที่ไม่ชัดเจน ทางคณะกรรมการฯ จึงเรียกกลุ่ม CP มาชี้แจง แต่กลุ่ม CP มีพันธมิตรเป็น China Railway Construction Corporation Limited (CRCC) จากสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย จึงขอเวลาสอบถามข้อมูลจากพันธมิตรต่างชาติก่อน โดยจะชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2561

หลังจากเจรจากับผู้เสนอราคาต่ำสุดเรียบร้อย ขั้นตอนสุดท้ายจะร่างสัญญาโครงการ ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง คาดว่าสามารถประกาศผลการประมูลเสร็จได้ภายในต้นเดือนมกราคม 2562 เสนอคณะรัฐมนตรีภายในกลางเดือนมกราคม 2562 และจะลงนามสัญญาได้ภายใน 31 มกราคม 2562 นี้

แนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยให้เอกชนเข้าร่วมทุน | Photo: eeco.or.th

โครงการดังกล่าวมีชื่อจริงๆ ว่า "โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ" วงเงินลงทุน 224,544.36 ล้านบาท แตกย่อยรายละเอียดได้ดังนี้

  1. ค่าลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน 168,718 ล้านบาท
  2. ค่าลงทุนแอร์พอร์ตลิงก์ ในส่วนค่าระบบอาณัติสัญญาและล้อเลื่อน 10,671.09 ล้านบาท โดยรัฐจะรับภาระโครงสร้างพื้นฐานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 22,558.06 ล้านบาทเอง
  3. ค่าพัฒนาที่ดิน (TOD) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ บริเวณสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่อีกประมาณ 45,155.27 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีบริษัทเข้ายื่นซองเอกสารเสนอราคา จำนวน 2 ราย ได้แก่

  1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
  2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

อ้างอิงข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ และ Manager Online

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...