Crowd Curated Shopping เทรนด์ใหม่น่าจับตาโดย ผู้บริหาร STYLHUNT ในงาน Retail World Asia 2015 | Techsauce

Crowd Curated Shopping เทรนด์ใหม่น่าจับตาโดย ผู้บริหาร STYLHUNT ในงาน Retail World Asia 2015

RetailWorld

เมื่อวันที่ 22-23 เมษายนที่ผ่านมา ซีอีโอของ STYLHUNT ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นสัญชาติไทย ที่ช่วยค้นหาสินค้าสำหรับการช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้หญิง ได้เข้าร่วมบรรยายในงานสัมมนาเวที Retail World Asia 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยในงานนี้มียักษ์ใหญ่ในวงการตลาดออนไลน์อย่าง Zalora, Lazada, Rakuten และ Uber เข้าร่วมด้วย ซึ่งมีเนื้อหาหลายอย่างที่น่าสนใจทาง Techsauce จึงไม่พลาดที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมานำเสนอที่นี่อีกครั้ง

คุณสุรวัฒน์ พรหมโยธิน ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง STYLHUNT ได้เข้าร่วมบรรยายภายในงานนี้ในหัวข้อ "การปรับใช้เทคนิค Crowd Curationในตลาดเกิดใหม่" โดยคุณสุรวัฒน์ได้อธิบายว่าเทคนิค Crowd Curated Shopping คือ เทรนด์ใหม่ในโลกการขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลก ที่เสริมสร้างศักยภาพของผู้ซื้อในการค้นหาสินค้าผ่านเพื่อน หรือคนที่มีรสนิยมคล้ายคลึงกัน

นอกจากนี้คุณสุรวัฒน์ยังอธิบายว่าเมื่อเราเดินเข้าไปในร้านค้าต่างๆ สิ่งที่เราเห็นคือ (1) สิ่งที่ร้านค้าคิดว่าเราอยากเห็น (2) ผลิตภัณฑ์ที่เขาต้องการให้เราเห็น แต่ด้วยการใช้เทคนิค Crowd Curated Shopping จะเป็นเหมือนกับการเดินเข้าไปในร้านที่เต็มไปด้วยสินค้าที่เพื่อนๆของเราชอบ ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบเพียงแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเท่านั้น แต่จะเป็นสินค้าจากหลายๆแบรนด์ที่ได้ถูกรวบรวมเอาไว้ และถ้าเราชื่นชอบสไตล์ของเพื่อนคนไหนแล้ว แนวโน้มที่เราจะได้พบกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจก็จะมีมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนั้นคุณสุรวัฒน์ยังได้เล่าถึงที่มาของเทคนิค Crowd Curated Shopping ว่าเทคนิคนี้เริ่มบุกเบิกโดยเว็บไซต์ Pinterest ซึ่งภายหลังเว็บไซต์ Wanelo และ Polyvore ได้นำมาประยุกต์ใช้ โดยเว็บไซต์เหล่านี้นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกและทำให้เกิดแนวโน้มใหม่ที่ได้เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนซื้อสินค้าออนไลน์ไปทั่วโลก คุณสุรวัฒน์ยังได้ยกตัวอย่างของแบรนด์ Forever 21, Nordstrom และ Urban Outfitters ที่ถูกลิสต์ให้เป็นแบรนด์อันดับต้นๆที่มีผู้คนติดตามมากบนสื่อสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์เหล่านี้ โดยเทรนด์และแนวโน้มเช่นนี้เป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่สามารถมองข้ามได้

ก่อนจบการบรรยาย คุณสุรวัฒน์ยังได้อธิบายด้วยว่าเหตุใด โมเดลในการทำธุรกิจเช่นนี้ไม่สามารถจะลอกเลียนแบบกันได้โดยง่าย นั่นก็เป็นเพราะความแตกต่างของพฤติกรรมของผู้บริโภคระหว่างตลาดที่พัฒนาแล้วและที่เกิดขึ้นใหม่ โดย STYLHUNT ได้ทำการสำรวจตลาดอย่างจริงจังในตลาดเกิดใหม่ โดยมีการสอบถามผู้หญิงในประเทศไทยและอินโดนีเซียจำนวน 500 คน และนำไปสู่ข้อสรุป 5 ปัจจัยในการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจและความมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น

ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ 1. ความเกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มเป้าหมาย 2.การค้นหาประสบการณ์ของผู้ใช้ในตลาดปัจจุบัน 3.กระบวนการสั่งซื้อ 4.วิธีการการทำธุรกรรม 5.ตัวชี้วัดหลักฐานทางสังคม โดยทีมงานของคุณสุรวัฒน์ได้ตรวจสอบตลาดเกิดใหม่ตามปัจจัยเหล่านี้ และทำให้ทาง STYLHUNT สามารถปรับใช้เทคนิค Crowd Curated Shopping ให้เข้ากับผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่ได้ นอกจากนี้คุณสุรวัฒน์ยังได้เน้นย้ำว่าปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญที่สุดในการใช้เทคนิคนี้คือความเกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ต่อท้องถิ่นนั้นๆ และเจ้าของธุรกิจเกิดใหม่จำเป็นต้องศึกษาตลาดและความเปลี่ยนแปลงเชิงพัฒนาการของลูกค้าให้เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจะสามารถนำสินค้าที่เหมาะสมมาตอบสนองความต้องการของตลาดได้

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...