เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา คนจึงต้องเร่งสร้างทักษะเพื่อให้ปรับตัวไปกับโลกได้ เทคโนโลยีก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมถูกสร้าง และพัฒนาขึ้นมาใหม่ในทุก ๆ วัน หนึ่งในนวัตกรรมของโลกยุคดิจิทัลที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจตอนนี้ คือ เมืองอัจฉริยะ (Smart City) หรือเมืองที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของงานบริการ และการจัดการเมือง เพื่อสร้างให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ ทันสมัย และส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาให้เกิด Smart City นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งทักษะด้านเทคโนโลยี ความรู้ในการจัดการ และพัฒนานวัตกรรม อีกทั้งยังมีความท้าทายต่าง ๆ อีกมากมายในประเทศไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการพัฒนา Smart City ทาง depa จึงมีแผนที่จะส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นจริง ผ่านโครงกาาร depa Smart City Accelerator Program Batch 2 ที่พร้อมจะเปิดรับ Digital Startup ที่มีความสนใจ และพร้อมที่จะร่วมกันสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนา Smart City ในระดับภูมิภาค
โครงการ depa Smart City Accelerator Program Batch 2 จัดขึ้นโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ร่วมกับ Techsauce เพื่อค้นหาและส่งเสริม Digital Startup ที่มีความสามารถ พร้อมเป็นตัวเร่งในการสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยี และนำมาพัฒนานวัตกรรมสำหรับ Smart City เพื่อให้เติบโตไปถึงระดับภูมิภาค
ทีมที่เข้าร่วมจะได้เปิดประสบการณ์และไขว่คว้าโอกาสใหม่ ๆ ในหลากหลายเมือง พร้อมรับองค์ความรู้จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และสร้าง Solution ผ่านการทดสอบความเป็นไปได้จริง (Proof of Concept หรือ POC)
ดังนั้น โครงการนี้จึงพร้อมที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเติบโต ด้วยการจัดเตรียมเครื่องมือและความรู้ในการทำงาน ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในพื้นที่ได้ เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัญหาและหาวิธีการรับมือได้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้ทีม Digital Startup ที่เข้าร่วมได้พบกับ Stakeholders จาก 5 ภูมิภาค พร้อมกับช่วยสร้างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจและเป็นสะพานเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับนักลงทุน
โครงการมุ่งหวังที่จะหา Digital Startup ที่สามารถสร้างเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรมสำหรับ Smart City อีกทั้งพัฒนาการบริการรวมไปถึงคุณภาพการจัดการเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมให้รองรับประชากรในทศวรรษหน้าได้ ผ่านการลงมือทำจริง ซึ่งแต่ละทีมจะต้องบรรลุตามเป้าวัตถุประสงค์และผ่านเกณฑ์ OKR ในแต่ละขั้น
และสืบเนื่องจากข้อมูลของสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย (Smart City Thailand Office) โปรแกรมนี้ได้วางรูปแบบของการพัฒนาที่ Smart City ตามคอนเซ็ปต์ที่ทางสำนักงานฯ ได้วางไว้ดังนี้
Smart Environment การใช้เทคโนโลยีเข้ามาลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งการจัดการของเสียอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งเพิ่มการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประชาชน
Smart Economy การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มคุณค่าให้กับระบบเศรษฐกิจ ช่วยสร้างสมดุลให้กับอุปสงค์-อุปทาน และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มความแข็งแรงให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
Smart Energy การสร้างสมดุลระหว่างการผลิตพลังงานและการนำไปใช้ในท้องถิ่น โดยจะต้องตระหนักถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต้องไม่ทำลายแหล่งพลังงานธรรมชาติที่เริ่มมีจำนวนน้อยลง อีกทั้งยังต้องสร้างความปลอดภัยด้านพลังงาน และกระจายพลังงานไปให้ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียม
Smart Governance การพัฒนาการบริการสาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลอย่างโปร่งใสในระดับท้องถิ่น โดยประชาชนจะต้องเข้าถึงหน่วยงานหรือบริการของรัฐได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และบริการต่าง ๆ จะต้องยกระดับได้อย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางด้านบริการ
Smart Living เนื่องจากประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ จึงต้องมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดยใช้หลักการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) เพื่อผลักดันการมีสุขภาพ มีความเป็นอยู่ที่ดี รวมทั้งสร้างความปลอดภัยให้กับผู้คนในสังคม ส่งเสริมการศึกษาที่ทุกคนจะต้องเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
Smart Mobility การพัฒนาระบบคมนาคม โดยเพิ่มประสิทธิภาพและการเชื่อมต่อของระบบขนส่งมวลชน และคมนาคมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความสะดวกสบายและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชน รวมถึงผู้พิการ ในขณะที่ยังคงคำนึงถึงปัจจัยเรื่องความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
Smart People การส่งเสริมศักยภาพ ความรู้และทักษะของคน เพื่อสร้างประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจ เปิดกว้างไปถึงเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของสังคม โดยที่ทุกคนจะสามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ทำไมถึงควรเข้าร่วมโครงการนี้? สิ่งที่ทุกทีมที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้จะได้รับ ได้แก่
ได้เรียนรู้ โครงการนี้จะช่วยสร้างองค์ความรู้ ผ่านการปฏิบัติจริงตามหลักสูตรที่ได้จัดขึ้นอย่างรอบคอบ จากผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่ร่วมพัฒนาเมือง เพื่อเป็นแนวทางช่วยเร่งให้ทีมเติบโต
ได้สร้างเกราะป้องกัน โดยโครงการนี้จะช่วยสร้างเกราะป้องกันความกลัว รวมทั้งช่วยสร้างความมั่นใจในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสให้สามารถขยายธุรกิจไปสู่ตลาดทั้งของภาครัฐและเอกชน
ได้สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ โครงการนี้จะเปิดพื้นที่ให้ทุกทีมได้พบกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเป็นตัวช่วยในการสร้างธุรกิจ และขยายตลาด
ได้โอกาส แต่ละทีมที่เข้าร่วมจะได้ลอง Solution กับเมืองต่าง ๆ จริง และถ้า Solution นั้น ๆ ประสบความสำเร็จ ทีมก็จะมีโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตไปถึงระดับสากล
โดยผู้ชนะในโครงการนี้จะได้รับ “เงินรางวัลมูลค่า 300,000 บาท” สำหรับนำไปต่อยอดธุรกิจ
ทีมที่มีทักษะทาง ธุรกิจ เทคโนโลยี รวมทั้งทักษะที่จำเป็นด้านอื่น ๆ
Startup ที่อยู่ในขั้นระดมทุน Pre-Series A หรือมี Minimum Viable Product (MVP) ที่มีการนำไปทดสอบในตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแล้ว หรือ มีการรับรองไอเดีย/ คอนเซ็ปต์ของผลิตภัณฑ์แล้ว
ต้องมีการดำเนินงานทางธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
แนวคิดการพัฒนา Solution จะต้องเกี่ยวข้องกับ Smart City ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้
ต้องมีสมาชิกในทีมอย่างน้อย 1 - 2 คน ที่สามารถเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เริ่มไปจนจบโครงการ (14 สิงหาคม ถึง 15 ตุลาคม 2564)
สามารถใช้ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจได้คล่อง
สำหรับผู้ที่สนใจสมัครได้แล้ววันนี้ ที่ https://qrgo.page.link/sMHvr
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด