Digital Startup ลงทะเบียนยกเว้นภาษี Capital Gain Tax กับ Depa ได้แล้วผ่าน LINE Official | Techsauce

Digital Startup ลงทะเบียนยกเว้นภาษี Capital Gain Tax กับ Depa ได้แล้วผ่าน LINE Official

ข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัล Digital Startup และนักลงทุน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Depa ได้เปิดให้ลงทะเบียนยกเว้นภาษี Capital Gain Tax ยืนยันตัวตน รวมถึงชำระค่าธรรมเนียมง่ายๆ ได้แล้วผ่าน LINE Official @depathailand ไม่กี่ขั้นตอน 

Digital Startup ลงทะเบียนยกเว้นภาษี Capital Gain Tax กับ Depa ผ่านไลน์ได้แล้ว

Digital Startup ซึ่งประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐต้องการสนับสนุน ซึ่งพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินกิจการ ที่ได้รับการรับรองจาก Depa สามารถยื่นเรื่องขอใช้สิทธิประโยชน์ โดยได้รับการยกเว้นภาษี Capital Gain Tax สำหรับกำไรจากการขายหุ้นใน Digital Startup ที่นักลงทุนถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยมีผลบังคับใช้เป็นไปพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๕๐) พ.ศ. ๒๕๖๕ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2575

คุณสมบัติของ Digital Startup  

  1. ต้องประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐต้องการสนับสนุน ซึ่งปรากฎความเกี่ยวข้องกับประเภทของเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล  ประกอบด้วยประเภทเทคโนโลยี Hardware & Smart Devices  Software Digital Services และ Digital Content (นิยามอุตสาหกรรมดิจิทัล)
  2. ต้องใช้เทคโนโลยีต้องทำให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด 
  3. ต้องถูกรับรองโดย depa โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตหรือให้บริการในธุรกิจหลัก โดยจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินการได้ หรือ
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างมีนัยสำคัญ

ลงทะเบียน Capital Gain Tax กับ Depa ผ่านไลน์ 

  1. แอดไลน์ @depathailand จากนั้นสมัครสมาชิกเป็น depa Member และยืนยันตัวตน โดยพิมพ์คำว่า “Project” และเลือก “Capital Gain Tax”
  2. กรอกรายละเอียดใบสมัคร ดู ตัวอย่างใบสมัคร
  3. การชำระค่าธรรมเนียมและแสดงหลักฐานการชำระเงิน โดยต้องกรอกข้อมูลและดำเนินการชำระเงินให้เรียบร้อยก่อนกดส่งใบสมัคร กรณีสมัครครั้งแรก 2,500 บาท (มีอายุ 5 ปีนับจากวันที่แจ้งผล) , กรณีเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือต่ออายุ 1,500 บาท
  4. ตรวจสอบเอกสาร การพิจารณาคุณสมบัติโดยคณะทำงานภายในวันที่ 20 ของทุกเดือนและจะแจ้งผลการพิจารณาภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน 

เอกสารประกอบการพิจารณาที่ต้องเตรียม มีดังนี้ 

  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • บอจ.5
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) (ถ้ามี) 
  • งบการเงินย้อนหลัง 2 ปี
  • Executive Summary
  • เอกสารประกอบการนำเสนอ (Pitch Deck)
  • เอกสารที่แสดงถึงสิทธิการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของบุคคลอื่น (ถ้ามี)
  • ค่าธรรมเนียมการขอรับรอง 

กฎหมายยกเว้นภาษี Capital Gains Tax ได้รับการอนุมัติผ่านครม.ในวันที่ 8 มีนาคม 2565 โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 750) พ.ศ. 2565 (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 2565 เป็นต้นมา 

สำหรับการยกเว้นภาษี Capital Gains Tax จะยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 10 ปี ให้แก่ผู้ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่าน Venture Capital โดยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 24 เดือน เพื่อเสริมสร้างการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงาน DEPA, NIA หรือ สวทช.

Startup 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ได้ยกเว้น Capital Gains Tax

  • 5 อุตสาหกรรม S-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 
  • 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 'อุตสาหกรรมดิจิทัล' อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 
  • 2 อุตสาหกรรมที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา 


บทความที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิงข้อมูลจาก 

การรับรองบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลที่รัฐต้องการสนับสนุน Capital Gain Tax 




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...