ปี 2020 ผลิตภัณฑ์ ‘ตราเพชร’ เดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ Corporate Innovation | Techsauce

ปี 2020 ผลิตภัณฑ์ ‘ตราเพชร’ เดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ Corporate Innovation

ในยุคที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้รับการพัฒนามาเพื่อตอบสนองผู้ใช้ให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่องค์กรส่วนใหญ่มักนำมาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการ  transform องค์กรในด้าน Operation เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Corperate Innovation 

เช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์ ‘ตราเพชร’ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบหลังคา ไม้สังเคราะห์ แผ่นบอร์ด ยิปซัท อิฐมวลเบา คานทับหลัง เคาเตอร์มวลเบาสำเร็จรูป ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมที่อยู่ในวงการวัสดุก่อสร้าง ที่แตกย่อยออกมาจาก บริษัท นครหลวงกระเบื้องและท่อ จำกัด ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2528 และมีบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท กระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด และเข้าจดทะเบียนในบริษัทหลักทรัพย์ในปี 2545 และในปี 2563 ถือเป็นปีที่เปิดดำเนินการครบรอบมาแล้วกว่า 35 ปี   ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

ปรับกระบวนการผลิต ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

คุณสาธิต สุดบรรทัด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเปิดดำเนินการมาครบรอบ 35 ปี แล้ว ได้วางแผนดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี เข้ามาขับเคลื่อนกระบวนการผลิตให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพภายในโรงงานและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่ดียิ่งขึ้น เพื่อนำบริษัทฯ ก้าวเป็นองค์กรด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตวัสดุก่อสร้าง

โดยปีนี้ตั้งงบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. การลงทุนติดตั้งระบบโรบอทในโรงงานเพิ่มอีกประมาณ10 ตัว ในไลน์การผลิตสินค้ากลุ่มไม้สังเคราะห์และงานพ่นสีวัสดุ จากปี 2562 ที่บริษัทได้มีการติดตั้งไปแล้ว 3-4 ตัวสามารถแทนแรงงานคนได้ 60%  

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนลงทุนต่อเนื่องในการติดตั้งโรบอท 50 ตัวภายในระยะเวลา 5 ปี (ปี 2562 – 2566) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่ Process Innovation และรับมือปัญหาแรงงานขาดแคลนรวมถึงบริหารต้นทุนการผลิตในระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น 

ในปีที่ผ่านมาจากการติดตั้งระบบโรบอทสามารถลดต้นทุนไปได้ประมาณ 20 % และในการลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 5-7 ปี 2. ลงทุนติดตั้งเครื่องจักรใหม่ในสายการผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์ NT-11 เพื่อขยายกำลังการผลิตสินค้ากลุ่มไม้สังเคราะห์ 5.5 หมื่นตันต่อปี ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จปลายปีนี้ และเริ่มเดินเครื่องจักรผลิตเชิงพาณิชย์ต้นปี 2564 และ 3. บำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดีและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

“ปกติแล้วในการทำธุรกิจของเรามักจะใช้ Outsource ในการดำเนินงาน มาช่วยในเรื่องของการผลิต ซึ่งเรามองว่ามีหลายอย่างที่เป็นกระบนการซ้ำซ้อนในการทำงาน และอาจจะไม่สามารถผลิตงานได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและอาจจะผลิตไม่ทัน ดังนั้นเราจึงได้มีการลงทุนเอง โดยเฉพาะในเรื่องของการทำเป็น Smart Factory มีการใช้  IoT (Internet of Things) ในการดำเนินงาน ที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการควบคุมคุณภาพในการผลิตด้วย” คุณสาธิต กล่าว 

แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม 

ขณะเดียวกัน จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด อาทิ ผลิตภัณฑ์กลุ่มหลังคา, การนำเทคโนโลยี Digital Printing มาใช้ในกระบวนการพิมพ์ลวดลายที่มีความคมชัดสูงลงบนพื้นผิววัสดุ เป็นต้น เพื่อขยายตลาดใหม่ และเสริมความครบวงจรของผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด ‘สวยครบเซต ตราเพชรทั้งหลัง’ ซึ่งจะทำให้สินค้า ‘ตราเพชร’ ตอบโจทย์การออกแบบและความต้องการใช้สินค้าเพื่อการตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ในส่วที่เป็น Solar Roof เพื่อให้บริการลูกค้าทีมีความต้องการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคากันมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ในอนาคตที่ผู้บริโภคจะผลิตไฟฟ้าใช้เองกันมากขึ้นด้วย 

มองหาตลาดใหม่ - บริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผลิตัณฑ์ตราเพชร กล่าวต่อว่า แนวโน้มตลาดวัสดุก่อสร้างปี 2563 คาดว่าจะเติบโตในระดับเดียวกับภาพรวมเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยหลักที่ต้องติดตาม คือผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) และผลกระทบจากภัยแล้ง จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ 

อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังคงวางเป้าหมายรักษาอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ในระดับ 25 – 27% โดยเน้นขายสินค้าที่มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีผ่านกลยุทธ์การบริหาร Product Mix การบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงรักษาอัตราการเดินเครื่องจักรเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 80 – 90% เท่ากับปีที่ผ่านมา เพื่อให้มีต้นทุนการผลิตสินค้าต่อหน่วยอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ ในปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนยอดขายจาก 4 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย ช่องทางร้านค้าตัวแทนจำหน่าย รายย่อยประมาณ 50% ห้างค้าปลีกวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ 17 - 18% ลูกค้าโครงการ 15 – 16% และส่งออก 15 – 17% โดยบริษัทฯ จะรักษาสัดส่วนการขายสินค้าในประเทศจากทุกช่องทางและเน้นการส่งออกสินค้าในกลุ่มประเทศCLMV 70 % (อันดับหนึ่งใน CLMV คือ กัมพูชา) ที่เหลือจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่องมาตลอด จะเป็นหนึ่งในตลาดหลักของการส่งออกที่มีการเติบโตได้ดีในปีนี้


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CISCO เข้าซื้อ Splunk สำเร็จ พร้อมปกป้องและผลักดันการปฏิวัติ AI

ซิสโก้ (CISCO) ประกาศเข้าซื้อกิจการ Splunk เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งเป้ายกระดับโซลูชันด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้า...

Responsive image

ไทยไร้สินค้าดาวรุ่ง เสี่ยงล้าหลัง โลกลืม: บทวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในวันที่ส่งออกอ่อนแรง

ภาคการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ภาคการส่งออกไทยดูจะ ‘อ่อนแรง’ และอาจทำให้ไทยเสียจุดยืนในตลาดโลก...

Responsive image

Bloomberg รายงาน Apple และ Google กำลังคุยกัน ดึง Gemini มาใช้ใน iPhone

สำนักข่าว Bloomberg รายงาน Apple กำลังเจรจากับ Google เพื่อดึง Gemini มาใช้กับ iPhone ซึ่งถ้าสำเร็จจะกลายเป็นดีลใหญ่ที่เขย่าอุตสาหกรรม AI และสำหรับทั้งสองบริษัท...