ETDA ชวน Hack เฟ้นหาสุดยอดโซลูชัน ใน “Hack for GOOD Well-Being Creation นวัตกรรมดี เมืองดี ชีวิตดี” ประชันนวัตกรรมพัฒนาเมืองเชียงใหม่ | Techsauce

ETDA ชวน Hack เฟ้นหาสุดยอดโซลูชัน ใน “Hack for GOOD Well-Being Creation นวัตกรรมดี เมืองดี ชีวิตดี” ประชันนวัตกรรมพัฒนาเมืองเชียงใหม่

“จังหวัดเชียงใหม่” ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังอันดับต้นๆ ของไทย ที่เหล่านักท่องเที่ยว ไม่ว่าไทยหรือต่างประเทศก็ต่างอยากที่จะมาท่องเที่ยวที่นี่กันทั้งนั้น นี่จึงทำให้ “เชียงใหม่” โดยเฉพาะในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงกลายเป็นหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญที่ค่อนข้างมีความพร้อมในเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่และประเทศ 

แต่ใครจะรู้ว่าอีกด้าน คนเมืองเชียงใหม่ กลับกำลังเผชิญกับข้อกำกัดในเรื่องของสุขภาวะ เพราะการสำรวจศักยภาพด้านสุขภาวะที่สำคัญของเชียงใหม่ โดย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า แม้วันนี้ เชียงใหม่ จะมีการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพเพื่อคนเมือง มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สูงถึง 14,270 ล้านบาท โดยคิดเป็นร้อยละ 5.5 จากมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัด แต่กลับพบคนเชียงใหม่บางส่วน เจ็บป่วยและอยู่ในสถานะผู้ป่วยใน กว่า ร้อยละ 12.95 จากจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยปานกลางของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 11.23 ทั้งยังมีประชากรผู้สูงอายุ นี่สะท้อนให้เห็นว่า มาตรฐานด้านสุขภาวะของคนเชียงใหม่เพียงพอแล้วหรือยัง ?

จากผลการสำรวจเรื่องความต้องการและปัญหาในการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่เมือง โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ เทคซอส มีเดีย ในเดือน มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ยังพบข้อมูลสำคัญอีกว่า นอกจากปัญหาด้านสุขภาพแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีปัญหาด้านความสะอาดโดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นตลาด ถนน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่คนมักจะมารวมตัวกัน นอกจากนั้น ในด้านสุขภาพยังพบปัญหาฝุ่นควันและสารเคมีตกค้างในอาหาร อีกทั้งการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพก็ยังมีความล่าช้า ปัญหาทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งต่อผู้รับบริการและให้บริการ และทั้งต่อชาวเมืองเชียงใหม่อีกทั้งนักท่องเที่ยว 

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยเกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มั่นคงปลอดภัย เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาชีวิตให้พร้อมรองรับโลกอนาคตอย่างมั่นใจ จึงได้เล็งความสำคัญของการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนเมือง ที่ครอบคลุมตั้งแต่ในเรื่องของความเป็นอยู่ สุขภาพ และอาหารการกิน ผ่านนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยเป็นตัวเร่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในประเด็นต่างๆ ข้างต้น 

ETDA จึงร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) , สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เทศบาลนครเชียงใหม่, ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (SMID) และ เทคซอส มีเดีย เปิดตัวกิจกรรม “Hack for GOOD Well-Being Creation นวัตกรรมดี เมืองดี ชีวิตดี”  เพื่อเปิดโอกาสให้คนมีไฟ  ทุกกลุ่มเสนอแนวคิดเทคโนโลยี นวัตกรรม แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน ฯลฯ  ประลองไอเดีย แข่งขัน เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองและส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนเชียงใหม่ตลอดจนนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเชียงใหม่ ให้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้น เพื่อชิงเงินรางวัล มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท 

ภายใต้โจทย์สุดท้าทาย ที่กำหนดขึ้นจากปัญหาของคนเมือง เพื่อคนเมือง และจำเป็นต้องอาศัยไอเดียนวัตกรรมที่จะมาช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนที่นี่ให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้   

Good Home - บ้าน (เมือง) สะอาดดี  

นวัตกรรมเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่ ด้วยการยกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความสะอาดของพื้นที่

ปัญหาที่พบ: ความไม่สะอาดของพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสุขอนามัยของแหล่งชุมชน เช่น ตลาด ถนน จุดเสื่อมโทรมต่างๆ เป็นต้น

Good Healthcare - บริการสุขภาพดี

นวัตกรรมยกระดับบริการสุขภาพ เพื่อให้คนเชียงใหม่เข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค Covid-19

ปัญหาที่พบ: พบปัญหาในการรับบริการสุขภาพซึ่งผู้รับบริการต้องใช้เวลานาน เพื่อรอรับการบริการ และมีขั้นตอนซับซ้อน

Good Food for Health - อาหารการกินดี 

นวัตกรรมที่จะช่วยให้อาหารการกินในเมืองเชียงใหม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นไปในแนวทาง เพื่อสุขภาพมากขึ้น ตั้งแต่ต้นทางวัตถุดิบปลอดสาร ไปจนถึงความหลากหลายของอาหารที่จะทำให้สุขภาพผู้บริโภคดีขึ้น

ปัญหาที่พบ: อาหารและสินค้าในตลาดยังปนเปื้อนสารเคมีหรือสารตกค้างจำนวนมาก

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • มีสังกัดหน่วยงานที่ชัดเจน เป็นนิติบุคคลไทย (ไม่บังคับ)
  • พักอาศัยอยู่ประเทศไทยในระหว่างโครงการ
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
  • สมัครรูปแบบทีม 3-5 ท่าน โดย 1 ท่านมีชื่อเพียงทีม เดียวเท่านั้น
  • หนึ่งในสมาชิกทีมมีพื้นฐานด้านการพัฒนา Software (ไม่บังคับ)
  • นวัตกรรมที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นนวัตกรรมใหม่, ต่อยอดจากนวัตกรรมเดิม หรือเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมด้วยตนเอง
  • นวัตกรรมที่นําเสนอสอดคล้องกับโจทย์ที่ประกาศในโครงการ
  • นวัตกรรมที่นําเสนอหรือองค์ประกอบ (ภาพ,เสียง, เนื้อหา) จะต้องเป็นผลงานที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น
  • สามารถนําเสนอผลงานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้
  • ยินดียอมรับผลการตัดสิน รวมถึงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการตัดสินทุกประการ
  • ผู้ผ่านเข้ารอบ 15 ทีมสุดท้าย จะต้องสามารถเข้าร่วมงาน Open House (On-site) ณ กรุงเทพมหานครได้และจะต้องสามารถเข้าร่วมนำเสนอผลงาน (Pitching day) ณ จังหวัดเชียงใหม่ได้

เกณฑ์การให้คะแนน

ด้านปัญหาและแนวทางแก้ไข

  • แนวคิดหรือนวัตกรรมที่นำเสนอสอดคล้องต่อการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่ทางโครงการประกาศ

  •   แนวคิดหรือ Solution ที่นำเสนอ มีการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ และมีความสอดคล้องต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุดโดยต้องเป็นนวัตกรรมใหม่หรือต่อยอดจากนวัตกรรมเดิมที่พัฒนาอยู่แล้ว

  •  แนวคิดหรือ Solution ที่นำเสนอ มีความน่าสนใจหรือแปลกใหม่

ด้านความพร้อมและศักยภาพ

  • แนวคิดหรือSolutionที่นำเสนอมีความเป็นไปได้ สามารถเกิดขึ้นได้จริง

  • ความพร้อมของทีมงาน

  • มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน

หมายเหตุ : ทีมที่ได้คะแนนรวม 15 อันดับสูงสุด เป็นทีมที่ผ่านเข้ารอบโครงการ และการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

รางวัลสำหรับผู้ชนะ

  • รางวัลชนะเลิศอันดับ  1:  เงินรางวัล 400,000 บาท พร้อมโล่รางวัล, ประกาศนียบัตร
    และเข้าร่วม Pitching ที่เวที Tech Showcase ในงาน Techsauce Global Summit 2023

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: เงินรางวัล 300,000 บาท พร้อมโล่รางวัล, ประกาศนียบัตร และเข้าร่วม Pitching ที่เวที Tech Showcase ในงาน Techsauce Global Summit 2023

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3: เงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมโล่รางวัล, ประกาศนียบัตร
    และเข้าร่วม Pitching ที่เวที Tech Showcase ในงาน Techsauce Global Summit 2023

  • รางวัลขวัญใจกรรมการ 2 รางวัล รางวัลละ 75,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

  • ทีมผู้ชนะทั้ง 5 ทีมจะได้รับ AWS Credit พร้อมทั้งโอกาสในการทดสอบนวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่และการสนับสนุนต่อยอดจาก Partner อื่น

ตารางการจัดกิจกรรม 

  • เปิดรับสมัคร : 21 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2566

  • ประกาศผล 15 ทีม: 23 มี.ค. 2566

  • กิจกรรม Open House: 28 มี.ค. 2566 

  • กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1: 20 เม.ย. 2566 

  • กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2: 21 เม.ย. 2566

  • กิจกรรมให้คำปรึกษา: 22 เม.ย. 2566

  • กิจกรรมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ: 27-29 เม.ย. 2566 


ถ้าคุณคิดว่ามีของและมีทีมที่พร้อมลุย ! มาร่วมกันแก้ปัญหาและช่วยคนเชียงใหม่ด้วยการสร้างนวัตกรรมไปพร้อมกันกับพวกเรา เราจะร่วมกันสร้างนวัตกรรมดี ที่จะช่วยให้เมืองดี และเพื่อชีวิตดีดีของคนเชียงใหม่ 

เปิดรับสมัครร่วมกิจกรรมได้แล้วตั้งแต่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ จนถึง 15 มีนาคม 2566  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ : https://www.etda.or.th/th/hackforgood 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] 
หรือโทร 02-286-7646 , 06-4658-9500

ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ที่ เพจ ETDA Thailand: https://www.facebook.com/ETDA.Thailand 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘ไปรษณีย์ไทย’ เพิ่มมูลค่า Asset ชูบริการเรือธง EMS World ส่งด่วน ทั่วโลก

EMS World คือ บริการเรือธงที่ทำรายได้หลักให้ไปรษณีย์ไทย หลังจากนี้จะผลักดันบริการสู่ตลาดโลก ร่วมกับการนำ Asset ที่มีอยู่เดิม มาเพิ่มมูลค่าได้อย่างน่าสนใจ...

Responsive image

SearchGPT คืออะไร ? เมื่อ OpenAI ลงสนาม Search engine ท้าชน Google ชิงส่วนแบ่งธุรกิจ

OpenAI ท้าชน Google ชิงส่วนแบ่งธุรกิจ Search Engine เปิดตัว SearchGPT โมเดล Search Engine ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เวอร์ชันต้นแบบ ที่จะมาเปลี่ยนการค้นหาข้อมูลให้เป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว ...

Responsive image

ลงทะเบียนพบนักลงทุนตัวจริงกับ "Meet the VCs" ในงาน Techsauce Global Summit 2024

"Meet the VCs" กิจกรรมสุด Exclusive ในงาน Techsauce Global Summit 2024...