สัมภาษณ์พิเศษคนไทยใน IKEA สวีเดน กับหน้าที่การวางแผนธุรกิจและเชิงกลยุทธ์ | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษคนไทยใน IKEA สวีเดน กับหน้าที่การวางแผนธุรกิจและเชิงกลยุทธ์

หลังจากที่เราเคยสัมภาษณ์คนไทยกับชีวิตการทำงานในต่างแดนไปบ้างแล้วนั้น คราวนี้เราไปพบกับแขกรับเชิญอีกท่าน ที่จะมาให้สัมภาษณ์คนถัดไป ครั้งนี้เนื้อหาอาจแตกต่างจากครั้งอื่นๆ เพราะไม่ได้เน้นหน้าที่การทำงานสายดิจิทัล แต่เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลายคนที่ต้องการเข้าทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างแดนอย่างแน่นอน พบกับเธอ วิศวกรหญิงที่ผันตัวมาดูด้านการวางแผนธุรกิจและกลยุทธ์ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง IKEA ในประเทศสวีเดน คุณศิรภัทร เบญจวารี หรือ เคย์

เริ่มต้นชีวิตทำงานในต่างแดนอย่างไร (สวีเดน)

ศิรภัทร เคย์ เบญจวารี ทำงานที่สำนักงานหลักบริษัท IKEA ประเทศสวีเดนคะ ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกันบริษัท Procter & Gamble

เรียนจบปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานเก็บประสบการณ์ไปด้วยเก็บเงินไปด้วย แล้วมาเรียนต่อปริญญาโท Industrial Economics สาขา Supply chain Design & Management ที่ Chalmers University of Technology ตอนมาลงเรียนป.โทได้มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว จึงทำให้เลือกสาขาเรียนได้ตรงตามที่หวังไว้  ช่วงที่เรียนมีความรู้ด้าน วิศวกรรม การจัดการ แล้วก็ด้านเศรษฐศาสตร์นิดหน่อย ใช้ความรู้ตรงนี้เป็นพื้นฐานตอนทำงาน

มาทำที่ IKEA ได้ยังไงเหรอคะ? เริ่มที่ทำวิทยานิพนต์ที่ IKEA ที่เนเธอแลนด์ก่อน เราอยากให้งานออกมาดีเลยตั้งใจทำงานแบบมืออาชีพ หัวหน้าพอใจมากจนพอทำวิทยานิพนต์ได้แค่ครึ่งทางก็ชวนไปทำงานที่สำนักงานกลางที่สวีเดน ได้งานตั้งแต่ก่อนเรียนจบเลยทำต่อมาตั้งแต่นั้น

ตำแหน่งหน้าที่ใน IKEA ที่ทำอยู่ปัจจุบันทำอะไรบ้าง ต้องมีทักษะด้านใด ตอนรับเข้าไปเขาทดสอบอะไรบ้าง ยากไหม?

ทำงานฝ่าย Finance and Business Administration เป็น Global Business Navigator เป็นงานเชิงการวางแผนธุรกิจและเชิงกลยุทธ์ เกี่ยวกับโครงสร้างธุรกิจ (Business Model) ของกลุ่มธุรกิจใหม่ วางแผนโครงสร้างและทิศทางกลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเมินความเป็นไปได้การลงทุนของสินค้าและโครงการ  ติดตามควมคุมผลการดำเนินการของผลประกอบการธุรกิจ

IKEA

ความท้าทายในการทำงาน

เราเคยทำงานบริษัทอเมริกัน ญี่ปุ่น ไทย วัฒนธรรมขององค์กรณ์แตกต่างกันมาก สิ่งที่ดีในที่หนึ่งอาจไม่เป็นชื่นชมของอีกที่ ดังนั้นการปรับตัวและเปิดรับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าเราจะมีความคิดของเราอย่างไรก็ตาม

ประเทศในสแกนดิเนเวีย มีแต่เมืองเล็กๆ คนอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ อยู่กันอย่างสงบสุข ความอ่อนโยนในจิตใจจึงมีมาก  

มีภาษาเฉพาะ มีวัฒนธรรมองค์กร การทำงานและค่านิยมความคิดที่แตกต่างกัน  ทีมที่ทำงานด้วยกันมีหลากหลายสัญชาติมาก ต้องปรับตัวเข้าหากันและใช้จุดแข็งเสริมกัน ทุกคนให้ความสำคัญกับชีวิตของตัวเองและครอบครัว งานเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิต ดังนั้นความชัดเจนของเวลา การตรงเวลาสำคัญมาก ติดต่องานกันเฉพาะในเวลาทำการเป็นเรื่องที่สำคัญ หลังเลิกงานเป็นเวลาส่วนตัว

ชีวิตที่นี่มีระเบียบระบบ ตารางการประชุมแผนงานหลักนัดหมายล่วงหน้าระบุวันเวลาปีต่อปี ทุกคนจัดตารางเองว่าแปดชั่วโมงต่อวันต้องทำอะไร ส่วนหัวข้อที่เข้ามาอื่นๆ ก็ต้องนัดล่วงหน้ากัน  เราเองก็ได้พัฒนาด้านอื่นๆเช่น การดูแลตัวเอง การจัดลำดับความสำคัญในชีวิต ใช้ common sense สัญชาติญาณในการตัดสินใจมากขึ้นจากประเทศนี้

มาสัมภาษณ์งานวันแรก เค้าถามว่าอยากทำอะไร ชอบอะไร เราตอบไม่ถูกเลย เพราะไม่เคยได้ยินคำถามนี้ เพราะที่เอเชียเคยได้ยินแต่ทำอะไรแล้วดี ทำอะไรแล้วก้าวหน้าเพื่ออนาคต

รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่น่าสนใจของ IKEA และน่านำมาประยุกต์ใช้กับในไทย

ด้วยความที่ยังเป็นธุรกิจครอบครัว เลือกที่จะตั้งศูนย์กลางการบริหารในเมืองเล็กต่างจังหวัด ความเป็นกันเอง ความอิสระและการสื่อสารที่สั้น ง่าย ได้ใจความ  ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน ระบบที่ขั้นตอนไม่ซับซ้อน เอกสารน้อยแต่ใช้เวลาในการเจรจา คุยถกเถียง เจรจาเพื่อหาข้อตกลงกันนาน  ยากที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งตัดสินหัวข้อต่างๆ การที่ทุกคนลงความเห็นร่วมกันเป็นวิธีการตัดสินหลัก

บรรยากาศการทำงานไม่ตึงเครียด ไม่เป็นทางการ แต่ไม่มีเล่นหรือทำเรื่องส่วนตัวในที่ทำงานให้เสียความเป็นมืออาชีพ ระบบการคัดเลือกคนใช้เวลานานมาก คัดกรองหลายชั้น แต่ทุกคนชำนาญในสิ่งที่ตัวเองทำ และรับผิดชอบงานของตัวเองโดยตรง

ได้ยินว่าที่นั่นมีโครงการอย่าง Innovation Lab มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

ที่ IKEA มีนักออกแบบที่ทำงานประจำยืนพื้นอยู่สิบกว่าคน นอกนั้นเป็นนักออกแบบอิสระที่ทำงานให้อิเกียจากประเทศต่างๆ อีกมาก มีความร่วมมือกับหลายนักออกแบบที่มีคุณภาพ ที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและความต้องการจริงในชีวิตประจำวัน  Innovation lab เป็นโครงการหนึ่งที่ได้รับความสนใจ.  สำหรับที่เมืองไทย IKEA ก็มีการร่วมมือด้านการออกแบบและ social enterprise กับดอยตุง

ทักษะที่อยากแนะนำให้กับน้องๆ เพื่อเตรียมตัวในการมาทำงานในต่างแดน

การทำงานต่างประเทศเป็นประสบการณ์ที่ดี ได้เรียนรู้มุมมองความคิดใหม่ๆ ได้อยู่ในสังคมใหม่และมีโอกาสที่จะได้ฝึกภาษาทางอ้อม

หากเราต้องการงานด้านทำธุรกิจ การทำงานก่อนมาเรียนต่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเลือกสาขาที่เรียนได้ตรงกับที่ต้องการมากขึ้น เรียนรู้ในห้องเรียน ในที่ทำงาน และนอกห้องทำงานให้มาก ไม่ต้องรีบ

เตรียมพร้อมเรื่องภาษาของประเทศที่เราต้องการจะไป เช่นภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่เศส จีน หรือภาษากลางของประเทศนั้นๆ  

เตรียมเอกสารสมัครงาน Resume and CV ตามหลักสากล ให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลของตัวเองให้ตรงประเด็น กระชับ จับจุดแข็งของตัวเองให้ตรงกับที่บริษัทมองหา อาทิเช่นว่า เคยเรียนวิชาอะไรที่เกี่ยวกับงานที่สมัคร เคยทำอะไรมาบ้างในขณะที่เรียน รางวัล หรือช่วยกิจกรรมพิเศษอะไรบ้าง นอกเหนือจากความสามารถแล้ว ตัวเราเองเป็นคนอย่างไร ลักษณะเด่นส่วนตัวและข้อดี

สำหรับคนที่ทำงานอยู่ ให้หา mentor คุยว่าต้องการจะทำงานต่างประเทศ ควรทำอย่างไป แบ่งเวลาเพื่อหางานในบริษัทข้ามชาติ International company ซึ่งจะมีโอกาสย้ายไปทำงานสาขาในประเทศอื่น หาทุนเรียนต่อต่างประเทศ หรือเก็บออมส่งตัวเองมาเรียนต่างประเทศก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

Sweden

สวีเดนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่โดดเด่นด้าน startup มีอะไรที่น่าสนใจและพอแชร์ได้บ้าง

สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีที่สุดที่หนึ่งของโลก เหตุผลหลักเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนเช่นด้านมีเดีย เพลง application และ software ต่างๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อทดแทนสาธารณูปโภคและเข้าถึงความเป็นอยู่ของประชากร  เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ธรรมชาติ และมีทรัพยากรหน่วยบริการสังคมจำกัด

มัลเมอล์ (Malmö) เมืองที่เคย์อยู่ มีประชากรเพียงแค่สามแสนคน แต่ติด 10 อันดับแรกใน Forbes ด้าน The most innovative cities เพราะที่เมืองนี้มี Entrepreneurial spirit สูง ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ และติดอันดับ National business startup หลายปี และความที่ใกล้กับโคเปนเฮเกน ทำให้การแลกแปลี่ยนเทคโนโลยีและการพัฒนาร่วมกันระหว่างนักพัฒนามีสูง สถิติจากปี 2014 มี Startup Scene เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 7 บริษัทต่อวัน*  

ตัวอย่าง Startup ที่ประสบความสำเร็จจากมัลเมอ สวีเดน เดนมาร์ค 

  • Spotify
  • Massive entertainment - Game
  • Anoto - Digital Writing Solution
  • Qlikview - Business discovery platform for business intelligent

และอีกมากมายอย่าง AlgoTrim, Polar rose, Mashmobile Tat (The Astonishing Tribe), Avail, DuoCort, Precise biometric เป็นต้น

=======================================================

*Ranked the fourth most innovative city in the world based on the number of patent applications per 10,000 residents)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ผนึก ’Green Mobility‘ กลุ่มธุรกิจที่ 5 ตั้งธง 5 ปี รายได้ 1.5 แสนล้าน

WHA Group เปิดเผยว่า ปี 2568 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุมธุรกิจล่าสุดอย่าง Mobility โดยพัฒนาเป็นโซลูชันกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ภายใต้...

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

‘HoriXon T8' ธุรกิจใหม่ใต้ปีก TIPH x BE8 สู่ฮับ AI-Powered Insurance ภูมิภาค

TIPH จับมือ BE8 เปิดตัว HoriXon T8 หรือ 'T8' บริษัท ฮอไรซอน ที 8 จำกัด เพื่อปฏิวัติ Insurance Ecosystem ให้อุตสาหกรรมประกันภัย ด้วย AI-Powered Digital Transformation...