หึ่ง Facebook วางแผน เตรียมปรับอัลกอลิทึมหน้าแอปฯ ครั้งใหญ่ สู้ศึก TikTok | Techsauce

หึ่ง Facebook วางแผน เตรียมปรับอัลกอลิทึมหน้าแอปฯ ครั้งใหญ่ สู้ศึก TikTok

แน่นอนว่าในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นการขับเคี่ยวกันมาตลอดระหว่างสองแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ TikTok จนกลายเป็นคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อเลยก็ว่าได้ และส่งผลให้ภาคธุรกิจ นักการตลาดต่างจับตามองกันอย่างไม่คลาดสายตา

Facebook

มาคราวนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการยกธงรบอีกครั้งสำหรับ Facebook ที่ได้มีการพูดถึงแผนการใหญ่ที่จะปรับเปลี่ยนอัลกอลิทึม หรือ ดีไซน์ของแอปฯเพื่อสู้กับ TikTok ซึ่งวิธีที่ใช้ในครั้งนี้คือการเปลี่ยนหน้าตาฟีดให้มีความคล้ายกับ TikTok มากขึ้น ด้วยการทำให้เห็นโพสต์แนะนำมากขึ้น รวมไปถึงการนำ Messenger หรือช่องข้อความ กลับมาไว้ในแอปฯ เดียวกันเหมือนก่อนหน้านี้

ในที่ประชุมผู้บริหาร Mark Zuckerberg รวมถึงผู้บริหาร Meta ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนมาระยะหนึ่งแล้วว่า การแข่งขันกับ Tiktok คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพวกเขาในตอนนี้ และพวกเขาได้มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่พวกเขาวางแผนที่จะยกเครื่องแอพ Facebook อย่างสมบูรณ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

The Verge เผยว่า Facebook กำลังเปลี่ยนแปลงฟีดหลักโดยให้ผู้ใช้งานเห็นโพสต์แนะนำ จากเพจ หรือครีเอเตอร์ที่ผู้ใช้งานไม่ได้ติดตาม กันมากขึ้น

Tom Alison กล่าวว่า เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือการเปลี่ยน Facebook ให้กลายเป็น เครื่องมือในการค้นหา หรือค้นพบสิ่งใหม่ ๆ โดยมีการแสดงโพสต์แนะนำให้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งต่างจาก Facebook แบบเดิม ๆ ที่เราเคยเห็นกัน แต่จะคล้ายกับ TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้บริหารของ Meta เห็นเป็นศัตรูตัวฉกาจของ Facebook

ผู้ใช้งานจะเห็นโพสต์แนะนำที่ไม่ได้ติดตามมากขึ้น รวมถึง Reels ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นผู้ใช้งานก็จะเห็นโพสต์จากเพื่อนและครอบครัวที่ติดตามกันไว้น้อยลงด้วยอีกต่างหาก การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ รวมถึงการตัดสินใจนำ Messenger กลับมารวมไว้ในแอพพลิเคชั่น Facebook เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้มีโอกาสแชร์คอนเทนต์และโพสต์ต่าง ๆ กันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเลียนแบบฟังก์ชั่นการรับส่งข้อความของ TikTok

ทั้งนี้ยังไม่มีการยืนยันว่า Meta จะทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสำเร็จบน Facebook เมื่อไหร่ แต่พวกเราก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บน Instagram กันไปบ้างแล้ว เช่น การแนะนำโพสต์ต่าง ๆ บนฟีดของ Instagram อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของ Meta ก็ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Facebook จากแอพพลิเคชั่นที่เปรียบเสมือนพื้นที่ที่ให้คนในสังคมได้มาติดต่อกันง่ายมากขึ้น เป็นแอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ แทน

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Mark Zuckerberg ได้ยืนยันว่าบริษัทกำลังอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะเปลี่ยนแปลงฟีดในรูปแบบปกติ ให้เป็นฟีดที่ถูกสร้างขึ้นโดยการประมวลผลของ AI แทนการแสดงผลตามความต้องการและสังคมของผู้ใช้งาน

การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ และคำพูดของ Tom Alison เป็นคำยืนยันได้ดีว่า Facebook ให้ความสำคัญกับการแข่งขัน และตามให้ทัน TikTok มากเพียงใด จนถึงขั้นเปลี่ยนเอกลักษณ์ของตนเองที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการ Social Network

อย่างไรก็ตาม การที่เปลี่ยนแปลงให้เห็นโพสต์แนะนำมากขึ้น ก็เป็นปัญหาของบริษัทในปัจจุบันนี้อยู่เช่นกัน ผู้คนมองว่าอัลกอริทึ่มการแนะนำโพสต์ต่าง ๆ ของ Meta นั้น มีการส่งเสริมข้อมูลที่ผิด ๆ และมีการฉวยโอกาสจากอัลกอริทึม Tom Alison กล่าวว่า จะมีกฏกติกาที่จริงจังมากขึ้นในอนาคตสำหรับโพสต์แนะนำเหล่านี้ และบริษัทกำลังพยายามปรับเปลี่ยนการทำงานไม่ให้ผู้ใช้งานได้พบกับการใช้งานที่ไม่น่าพอใจกันน้อยลง

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าผู้บริหารของ Facebook หวังให้การเปลี่ยนแปลงของ Facebook ครั้งนี้ มีผลตอบรับที่ดี มีผู้ใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุน้อย

อ้างอิง engadget, theverge

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bluebik กางแผนธุรกิจปี 2568 ปักธงผู้นำ AI Transformation ในไทย ตั้งเป้าโต 20% ในปีหน้า

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร ประกาศปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่โดยใช้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผ่าน...

Responsive image

NIA จับมือ Business Finland ต่ออายุ MOU พัฒนานวัตกรรม & สตาร์ทอัพ ไทย-ฟินแลนด์อีก 5 ปี

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Business Finland ได้ต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอีก 5 ปี...

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...