Future Food Asia 2020 ค้นหาอนาคตของนวัตกรรมอาหาร ผลักดัน Startup ไทยสู่เวทีโลก | Techsauce

Future Food Asia 2020 ค้นหาอนาคตของนวัตกรรมอาหาร ผลักดัน Startup ไทยสู่เวทีโลก

‘อนาคตของนวัตกรรมอาหาร’ เป็นหนึ่งสิ่งที่ในปัจจุบันนี้มีการพูดถึงอยากมากในวงการเทคโนโลยีและในวงการอาหาร ในอนาคตอาหารจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร หรือจะกำเนิดอาหารในรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือไม่ ด้วยสิ่งนี้ทำให้ทาง Thai Wah PCL ได้ร่วมกับ ID Capital ในการเป็นผู้จัดงาน Future Food Asia 2020 ในประเทศไทย ในวันที่ 23 กันยายน 2563 ที่ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญอย่าง คุณชนม์ชญงค์ ไตรรัตน์เกยูร Co-founder และ CEO จาก JuiceInnov8, คุณสมิธ ทวีเลิศนิธิ จาก Let’s Plant Meat, คุณพิจิกา โรจน์ศตพงศ์ Food Designer, Founder และ CEO จาก Concept Case และคุณธนะชาติ เหล่าศิริพงศ์ Head of Specialty จาก Thai Wah PCL ที่ได้มาแบ่งปัญความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อ ‘Future of FoodTech in Thailand’ ที่ได้มาพูดถึงเรื่องของสถานการณ์ในวงการ FoodTech ในปัจจุบัน 

ซึ่งนอกจากงานแบบออฟไลน์ในประเทศไทยแล้ว ทาง Future Food Asia 2020 นั้นยัง Satellite Venue ในประเทศอื่น ๆ อย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเกาหลีใต้ รวมถึงยังได้จัดงานผ่านทาง Virtual โดยถ่ายทอดสดพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 21-25 กันยายน ภายใต้ธีมใหญ่อย่าง ‘Food is the New Cool’ 

อนาคตของนวัตกรรมอาหารในประเทศไทย

ภายใต้การพูดคุยในหัวข้อ Future of FoodTech in Thailand หรืออนาคตของนวัตกรรมอาหารในประเทศไทยนั้นทางผู้อภิปรายนั้นก็ได้พูดคุยถึงหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจในวงการนวัตกรรมอาหาร อย่างหัวข้อของเรื่องความนิยมของผลิตภัณฑ์ Plant-based ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันในหมู่ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ ว่าจะเป็นแค่ความนิยมชั่วคราวหรือไม่? หรือจะเป็นหัวข้ออย่างข้อวิพากษ์วิจารณ์ในผลิตภัณฑ์เนื้อแบบ Plant-based ที่มีโซเดียมมากเกินไป บริษัทจะทำอย่างไรเพื่อก้าวข้ามผ่านปัญหานี้และเพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยทางคุณสมิธนั้นได้พูดถึงเรื่องของ Transparency หรือความโปร่งใสต่อลูกค้าในเรื่องของการระบุโภชนาการให้ชัดเจน และการให้ความรู้ เพื่อที่จะทำให้ลูกค้านั้นสามารถมั่นใจและยอมรับในเรื่องของโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารแบบ Plant-based

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการที่บริษัทขนาดใหญ่นั้นได้เริ่มก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการสนับสนุน Startup ในการสร้างและผลิตนวัตกรรมอาหารใหม่ ๆ ออกมา โดยคุณสมิธนั้นได้ชี้ประเด็นในเรื่องของการ Co-existing ระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และ Startup จากความพร้อมของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะช่วยสนับสนุนในสิ่งที่ Startup นั้นขาดหรือไม่เพียงพออย่างเรื่องของเงินทุนและการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งทางคุณธนะชาติก็ได้เสริมว่าเนื่องจากการที่บริษัทใหญ่นั้นต้องโฟกัสกับธุรกิจหลัก การเข้ามาสนับสนุน Startup ที่มีความรู้และมีแพชชั่นในสิ่งที่ทำนั้นจะดีกว่า

ซึ่งทางคุณพิจิกา จากทาง Concept Case ก็ได้ชักชวนให้ทุก ๆ คนนั้นร่วมเริ่มต้นช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการบริโภคอาหารจาก Plant-based ในการที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางที่จะทำให้ผู้คนนั้นสามารถที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มง่าย ๆ จากพฤติกรรมการบริโภคของตัวเอง

นอกจากการจัดอภิปราย Future of FoodTech in Thailand แล้ว ภายในงานนั้นยังมีการไลฟ์สตรีมมิ่ง Finalist Startup Pitch จากผู้เข้ารอบสุดท้ายอย่างบริษัท FYTO FOODS รวมถึง Protein Startup Pitch จาก Daiz และ Let’s Plant Meat จากประเทศไทย ที่ได้มีเป้าหมายที่จะทำให้ทุกคนนั้นสามารถเข้าถึงอาหารแบบ Plant-based ได้ สื่อสารให้ผู้คนนั้นเข้าใจเกี่ยวกับอาหารแบบ Plant-based มากขึ้น และต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จับตา 18 อุตสาหกรรม พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก สร้างรายได้กว่า 48 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2040

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดกว่าเดิม มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่กำลังมาแรง และเติบโตแบบก้าวกระโดด เราเรียกอุตสาหกรรมเหล่านี้ว่า 'Arenas' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็ต้...

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...