โอกาสใหม่ของอินโด-แปซิฟิก G7 เล็งลงทุนด้านพลังงานสะอาด

กลุ่มประเทศ G7 กำลังพิจารณาเงินลงทุนสำหรับการส่งเสริมให้อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในประเทศไปเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ซึ่งสอดคล้องกับแผนการ Build Back Better World (B3W) การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุมกลุ่มประเทศขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทั้ง 7 ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

โอกาสใหม่ของอินโดแปซิฟิก G7 เล็งลงทุนโครงสร้างด้านพลังงานสะอาด

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอทางเลือกที่ดีกว่าแผนในลักษณะเดียวกันของจีนที่ชื่อ เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative - BRI) ที่จีนออกทุนช่วยสร้างรถไฟ ถนนหนทาง และท่าเรือให้กับหลายประเทศ นายกรัฐมนตรี Fumio Kishida ของญี่ปุ่นได้ชี้ให้เห็นว่า "การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำให้เกิดสภาพเศรษฐกิจที่เสรีและเปิดกว้าง"

ภายในการประชุมครั้งนี้ นอกจากจะมีแผนการแบนทองคำจากรัสเซียแล้ว กลุ่ม G-7 ยังมีการเปิดตัว "G-7 Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII)" อย่างเป็นทางการ ในวันแรกของการประชุมสุดยอด G-7 ครั้งนี้ด้วย ซึ่งประเทศสมาชิก G-7 ตั้งเป้าที่จะระดมเงินทุนรวม 6 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 ให้ได้ 

ความร่วมมือเรื่องพลังงานสะอาด แผนรองรับกับ Build Back Better World (B3W)

แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นไปตามแผนความร่วมมือ Build Back Better World (B3W) ที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุม G-7 เมื่อปีที่แล้วที่ประเทศอังกฤษ โดยจะอยู่ภายใต้แนวความคิดริเริ่มที่เป็นประชาธิปไตย ในเรื่องความโปร่งใส ความครอบคลุม และรวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 

โดยครั้งนี้ G-7 กำลังร่วมมือกับอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนามในการเป็นหุ้นส่วนที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยลด Carbon Footprint และมุ่งสู่แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้น

“ในความพยายามร่วมกับพันธมิตร G-7 เรากำลังดำเนินการเพื่อการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น กับอินโดนีเซีย อินเดีย เซเนกัล และเวียดนาม” นายกรัฐมนตรี Olaf Scholz ผู้นำเยอรมนี เจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด G-7 กล่าว

สำหรับเหตุผลประกอบการเลือกประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนามนั้น ธนาคารโลกระบุว่ากลุ่มประเทศนี้ มีอันดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูง แม้ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวจะต่ำกว่าประเทศที่ร่ำรวยน้ำมันและประเทศอุตสาหกรรมมากก็ตาม โดยอินเดียอยู่ในอันดับที่สามและอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่เจ็ดของโลกสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมตามประเทศ

อ้างอิงจาก Nikkei

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดตัว ChatGPT Shopping! ฟีเจอร์ใหม่ชอปปิงในแชทจาก OpenAI ท้าชน Google

เปิดโลกชอปปิงใหม่! OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ ChatGPT Shopping ใน ChatGPT ท้าทาย Google ด้วยประสบการณ์ชอปปิงออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็ว เพียงแค่แชท ก็สามารถค้นหาและซื้อสินค้าทุกอย่างที่คุณต...

Responsive image

เริ่มแล้ว! Amazon ส่งดาวเทียมชุดแรกสู่อวกาศ หวังชิงตลาด Starlink ของ Elon Musk

โปรเจกต์ Kuiper ถือเป็นความพยายามครั้งใหญ่ของ Amazon ในการสร้างเครือข่ายดาวเทียมสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Starlink ของ Elon Musk ปัจจุบันมีดาวเที...

Responsive image

เปิดตัว Biomass ดาวเทียมช่วยวัดคาร์บอนในป่าแม้มีเมฆบัง

ดาวเทียม Biomass ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจสำคัญ นั่นคือการ 'มองทะลุเมฆและยอดต้นไม้' เพื่อวัดว่าต้นไม้สามารถกักเก็บคาร์บอนในป่าได้มากแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจบทบาทของป่าไม้ในการ...