Grab กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.7 แสนล้านบาท เปิดตัว 'Grab For Good' ยกระดับชีวิตและมอบโอกาสให้กับผู้พิการ | Techsauce

Grab กระตุ้นเศรษฐกิจ 1.7 แสนล้านบาท เปิดตัว 'Grab For Good' ยกระดับชีวิตและมอบโอกาสให้กับผู้พิการ

  • Grab ประกาศเป้าหมายของโปรแกรม ‘Grab for Good Grab เพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ เพื่อยกระดับทักษะและมอบโอกาสให้แก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้พร้อมรับอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี 2025    

  • จับมือพันธมิตรกับบริษัท Microsoft ในโครงการ ‘Tech for Good เทคโนโลยีสร้างสรรค์สังคม’ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านทักษะเชิงเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจัดโครงการพิเศษสำหรับพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ของ Grab และครอบครัว

  • เตรียมเปิดตัวโครงการระดับภูมิภาค ‘Break the Silence’ เพื่อสร้างโอกาสให้กับคนหูหนวก และ    ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน

  • Grab เปิดเผยรายงานผลลัพธ์ทางสังคมฉบับแรก ที่คาดการณ์ว่าบริษัทได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแล้ว 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.7 แสนล้านบาท ภายในระยะเวลา 12 เดือน จนถึงมีนาคม 2019

Grab ผู้นำซูเปอร์แอปแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวโปรแกรมเพื่อสังคม ‘Grab For Good' Grab เพื่อชีวิตทีดีกว่า’ เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกสำหรับบางคน รวมถึงพัฒนาทักษะและบริการด้านดิจิทัล เพื่อสร้างความพร้อมให้ผู้คนเหล่านี้ในการเป็นส่วนหนี่งในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงเพิ่มโอกาสในการมีทางเลือกที่มากขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น 

ด้วยการผสานกันระหว่างเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม และพันธมิตร Grab ได้ตั้งเป้าการดำเนินการโปรแกรม ‘Grab เพื่อชีวิตทีดีกว่า’  ที่จะบรรลุภายเป้าหมายในปี 2025 ไว้ดังนี้ 

  • พัฒนาการมีส่วนร่วมและทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: สร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคน ไม่ว่าจะมีภูมิหลังแบบใดหรือศักยภาพเช่นไร สามารถได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยแกร็บตั้งเป้าที่จะส่งมอบทักษะความเข้าใจ รวมถึงการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 3 ล้านคน ภายในปี 2025 ด้วยการร่วมมือกับรัฐบาล บริษัทเอกชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  • ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดเล็ก: ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อมเป็นกลุ่มที่สำคัญในโมเดลธุรกิจของ Grab ทั้งยังเป็นเส้นเลือดสำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Grab มุ่งมั่นที่จะช่วยธุรกิจดั้งเดิมและร้านค้าขนาดเล็กกว่า 5 ล้านแห่งในการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์เข้ากับขั้นตอนและกระบวนการทำงาน เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการจัดการค่าใช้จ่ายและเพิ่มการผลิต

  • เสริมสร้างแรงงานที่พร้อมก้าวสู่อนาคต: 16 เปอร์เซ็นต์ของเยาวชนในอาเซียนต้องการทำงานด้านเทคโนโนโลยีในอนาคต Grab มีแผนการจะให้การอบรมแก่นักศึกษาจำนวน 20,000 คน ผ่านโครงการค้นหาผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยการเป็นพันธมิตรกับสถาบันการศึกษา องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี 

เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ Grab ประกาศเปิดตัวโครงการหลัก 2 โครงการภายใต้โปรแกรม ‘Grabเพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ ได้แก่ การอบรมเพื่อพัฒนาทักษะรวมถึงความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระหว่าง Grab และ Microsoft และ  โครงการ ‘Break the Silence’ ที่เป็นโครงการระดับภูมิภาค เพื่อช่วยคนหูหนวกและผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในการเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านทาง Ecosystem ของ Grab

โครงการทั้ง 2 โครงการเป็นจุดเริ่มต้นของแผนการระยะยาวเพื่อพัฒนาทักษะทั้งรายบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กด้วยทักษะด้านเทคโนโลยีที่สำคัญและเครื่องมือต่างๆ ในการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล  ทั้งนี้มีโครงการอีกหลายโครงการที่จะเปิดตัวในปีนี้ 

“เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกภายในปี 2030 แต่ยากจะปฏิเสธความจริงที่ว่า ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม ซึ่งรวมถึงโอกาสความสำเร็จในการเติบโตของภูมิภาคนี้ด้วย หากภาคเอกชนร่วมกันสร้างโปรแกรมสำหรับชุมชนในแต่ละประเทศ เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่สามารถเอื้อมถึงได้สำหรับหลายคน นอกจากนี้ทักษะการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ยังจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มากขึ้น” แอนโทนี่ ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Grab กล่าว

แอนโทนี่ ตัน เพิ่มเติมว่า”Grab เพื่อชีวิตที่ดีกว่าคือการสร้างแพลตฟอร์มที่ทั่วถึง และเป็นพันธกิจของเราในการสร้างผลลัพธ์ในทางบวกและยั่งยืนในประเทศที่เรากำลังดำเนินธุรกิจอยู่”

Grab เพื่อชีวิตที่ดีกว่า: รายงานผลลัพธ์ทางสังคมระหว่างปี 2018 – 2019

โปรแกรมเพื่อสังคม ‘Grab เพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ มาจากความมุ่งมั่นของแกร็บในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงระยะเวลากว่า 7 ปีของ Grab จากรายงานผลลัพธ์ทางสังคมเล่มแรกซึ่งประกาศในวันนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว Grab ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปราว 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.7 แสนล้านบาทในระยะเวลา 12 เดือนจนถึงเดือนมีนาคม 2019  โดยผลการคำนวณนี้ได้รับการรับรองจากบริษัทตรวจสอบบัญชีเคพีเอ็มจี (KPMG) ตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้

ผู้ประกอบการขนาดย่อมกว่า 9 ล้านราย หรือราว 1 ใน 70 คนของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรายได้เพิ่มขึ้นผ่านแพลตฟอร์ม Grab ทั้งจากการเป็นพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ พาร์ทเนอร์ผู้ส่งของ ร้านค้า และพาร์ทเนอร์ตัวแทน ซึ่ง 21 เปอร์เซ็นต์ของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ Grab ไม่เคยทำงานมาก่อน ขณะที่อีก 31 เปอร์เซ็นต์ของพาร์ทเนอร์ตัวแทนไม่เคยมีรายได้ก่อนเข้าร่วมตัวแทน Grab-Kudo นอกเหนือจากโอกาสทางเศรษฐกิจ รายงานนี้ยังรวมถึงการที่แกร็บช่วยพัฒนาการเข้าถึงบริการทางการเงินและการจ่ายเงินแบบดิจิทัล ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2012 Grab ได้ช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 1.7 ล้านรายเปิดบัญชีธนาคารบัญชีแรกได้สำเร็จ แกร็บยังช่วยผลักดันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการก้าวสู่อนาคตสังคมไร้เงินสด โดยมีผู้ใช้เงินดิจิทัลมากกว่า 9 เท่าบน Grab เมื่อเทียบกับอัตราการทำธุรกรรมไร้เงินสดทั่วประเทศทั้งหมด

Grab ร่วมมือ Microsoft เดินหน้ายกระดับทักษะให้กับประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าหลายล้านคน

เพื่อผลักดันโครงการ ‘Grab เพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ Grab ได้ประกาศเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคกับ Microsoft ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับคนทำงานให้เท่าทันยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ปัจจุบัน มีประชากรวัยทำงานจำนวน 6.6 ล้านคนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ใน 6 ประเทศต้องการปรับทักษะใหม่ภายในปี 2028 โดยประชากร 41 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้ ขาดทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานในอนาคต

ความร่วมมือระหว่าง Grab และ Microsoft จะช่วยดึงทรัพยากร ความสามารถและความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัทออกมาเพื่อปิดช่องว่างด้านทักษะในการทำงาน รวมถึงเติมเต็มวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ความท้าทายที่เรามองเห็นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยี ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความฉลาด การคิดอย่างเป็นระบบและทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นกุญแจที่นำไปสู่อนาคต เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งในการเป็นพันธมิตรกับ Grab เพื่อเปิดตัวเส้นทางในการพัฒนาทรัพยากรแรงงานที่มีความรู้ด้านดิจิทัลทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาของประชากรรุ่นใหม่ ความมุ่งมั่นที่เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือการเป็นกำลังสำคัญในการช่วยให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้น ด้วยการเป็นพันธมิตรกับ Grab เรากำลังสร้างคนทำงานที่จะเปลี่ยนครอบครัว ชุมชนและประเทศ เพื่อสร้างโลกของพรุ่งนี้” แอนเดรีย เดลลา แมทเทีย ประธาน Microsoft เอเชียแปซิฟิก กล่าว

“ในขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังโตขึ้น เราหวังว่าทุกคนจะเติบโตไปด้วยกันรวมถึงได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งที่ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษคือการที่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และครอบครัวสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จากคอร์สของ Microsoft รวมถึงการได้รับประกาศนียบัตรด้วย” ฮุย หลิง ตัน ผู้ร่วมก่อตั้ง Grab กล่าว

การเป็นพันธมิตรครั้งนี้จะเน้นไปในเรื่องของความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลายระดับ โดย Grab และ Microsoft จะร่วมมือกันใน 3 ด้านดังต่อไปนี้

ฝึกฝนนักศึกษาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต 

  • Grab และ Microsoft จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดอบรมกับทักษะที่ใช้ได้จริงและทักษะทางเทคนิคซึ่งเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรม

  • Microsoft จะให้ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม รวมถึงหลักสูตร แพลตฟอร์มการเรียนรู้และประกาศนียบัตร นอกเหนือจากอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้อย่างซอฟต์แวร์ Azure เพื่อการศึกษา ในขณะที่แกร็บจะสนับสนุนด้านการศึกษาประยุกต์ด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม รวมถึงข้อมูล พร้อมมอบประสบการณ์ในการเรียนรู้ความท้าทายของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านแฮกกาธอนและการฝึกงาน

  • Grab และ Microsoft ประกาศพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย และวิทยาลัยเทคโนโลยีบันดุงในการสนับสนุนโปรแกรมที่ได้รับการรับรองจากไมโครซอฟท์ โดยคาดว่าจะมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นภายใน 6 เดือนหลังจากนี้

สนับสนุนพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และครอบครัวให้ประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการพัฒนาทักษะดิจิทัล

  • Grab จะสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ สามารถเข้าเรียนหลักสูตรพัฒนาทักษะออนไลน์ของ Microsoft ได้ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บ โดยจะสามารถเรียนคอร์สพื้นฐาน เช่นความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ การใช้อินเทอร์เน็ตและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  หลังจากจบแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตรจาก Microsoft โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

  • โดยจะเริ่มเปิดตัวด้วยภาษาอังกฤษใน Grab Academy ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอบรมออนไลน์ในแอปพลิเคชัน Grab ก่อนที่จะเปิดตัวภาษาอื่นๆ ปีหน้า

  • Microsoft และ Grab จะร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) และศูนย์การเรียนรู้ Empire Code เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคน โดยเฉพาะบุตรและคู่สมรสของพาร์ทเนอร์ Grab ในการเข้าถึงการศึกษาคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมผ่านแพลตฟอร์ม FutureReadyASEAN 

ปูทางให้พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่สามารถทำงานในสายเทคโนโลยีได้ ด้วยการสนับสนุนจาก Generation: You Employed ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในระดับโลก

  • Grab และ Microsoft จะปูทางให้พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ที่สนใจในอาชีพด้านเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนจาก Generation: You Employed  องค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการสร้างทักษะในการทำงาน โดยโปรแกรมนี้จะครอบคลุมถึง หลักสูตรการฝึกปฎิบัติพัฒนาโดย Generation และยังเปิดโอกาสให้ได้รับประกาศนียบัตรจากไมโครซอฟท์ ซึ่งผู้ที่เรียนจบโครงการนี้สามารถสัมภาษณ์งานกับบริษัทพันธมิตรของ Grab และ Microsoft ได้ในตำแหน่งด้านเทคโนโลยี

  • โครงการทดลองแรกจะเริ่มในประเทศสิงคโปร์ซึ่งจะเพิ่มทักษะให้กับพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่จำนวน 100 คน โดยจะเริ่มฝึกอบรมกลุ่มแรกในปีเดือนมิถุนายนปีหน้า นอกจากนี้โปรแกรมนี้ยังจะได้รับการบรรจุในแผนการของโครงการ SkillsFuture ของการพัฒนาแรงงานและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ Grab ชาวสิงคโปร์อย่างเป็นระบบ และจะเปิดตัวในประเทศอื่นหลังจากการประเมินโครงการแรก

ตอบสนองผู้ที่มีความพิการ

หัวใจหลักของโปรแกรม ‘Grab เพื่อชีวิตที่ดีกว่า’  คือการที่ทุกคน ไม่ว่าจะมีภูมิหลังอย่างไรหรือศักยภาพด้านไหน  ก็สามารถได้ประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล

ตั้งแต่วันนี้ แกร็บจะขยายโครงการ ‘Break the Silence’ ไปยังอินโดนีเซียและสิงคโปร์ รวมถึงการพัฒนาโครงการในมาเลเซียและไทยที่กำลังดำเนินการอยู่ โดย Grab มีพาร์ทเนอร์หูหนวกมากกว่า 500 คนบนแพลตฟอร์ม และวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนอีก 2 เท่าภายในปีต่อมา

โดยในสัปดาห์หูหนวกโลกปีนี้ (วันที่ 23 – 30 กันยายน) Grab จะเปิดตัวการเป็นพันธมิตรกับ Gerkatin ในอินโดนีเซีย สหภาพคนหูหนวกแห่งมาเลเซีย สมาคมคนหูหนวกแห่งสิงคโปร์ และสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนหูหนวกและผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินในภูมิภาค

บัมยัง ปราเซโย ประธานคณะกรรมการสวัสดิการและผู้หูหนวกแห่งอินโดนีเซีย (IAWD/Gerkatin) กล่าวว่า “การหาโอกาสในการเพิ่มรายได้เป็นความท้าทายสำหรับชุมชนของเรา สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการขาดอุปกรณ์สนับสนุนในการสื่อสารภาษามือเพื่อสนับสนุนคนหูหนวกในการทำงาน เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่องค์กรเช่น Grab ต้อนรับเราในการเป็นผู้ขับขี่บนแพลตฟอร์ม ผู้ค้าและพาร์ทเนอร์ผู้ส่งของ การเป็นพันธมิตรกับแกร็บช่วยสร้างพลังให้กับสมาชิกในชุมชนของเราให้มีความมั่นใจในความสามารถและมีอิสระทางการเงิน สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ เรามีความเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญสำหรับประเทศอินโดนีเซียในการเดินหน้าเป็นหนึ่ง”

Grab กำลังดำเนินการพัฒนากระบวนการและฟีเจอร์ใหม่ในแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถสื่อสารกับผู้โดยสารได้ง่ายขึ้น รวมถึงฟีเจอร์แชท (ดูได้จาก ภาคผนวก B) โดยเฉพาะ ในมาเลเซีย แกร็บจะผลิตพจนานุกรมสัญลักษณ์เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปในการสื่อสารกับชุมชนคนหูหนวกผ่านทางวิดเจ็ตในแอปพลิเคชันแกร็บรวมถึงการอบรมรายเดือนแก่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ในการช่วยผู้โดยสารที่มีความพิการ

อัล โคซาร์ วิราวัน พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่หูหนวกของ Grab กล่าวว่า “ผมถูกเลิกจ้างจากงานเก่าเพราะความบกพร่องทางการได้ยิน การหาแหล่งรายได้ใหม่ถือเป็นเรื่องยากลำบากจนกระทั่งผมรู้จักแกร็บ ตอนนี้ผมเป็น(พาร์ทเนอร์)ผู้ขับขี่ Grab มาปีกว่าแล้วและไม่เคยรู้สึกว่าตัดสินใจผิดเลย ผมอยากขอบคุณแกร็บสำหรับโอกาสดีๆ แบบนี้ และผมมีความสุขมากที่แกร็บพยายามหาทางพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น”

ฮุย หลิง ตัน กล่าวว่า “ปัจจุบัน มีผู้พิการเกือบ 800 คน ทั้งคนหูหนวก สมองพิการ หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ที่สามารถเข้าถึงโอกาสในการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มแกร็บ พวกเขาให้บริการลูกค้าของเราในฐานะพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่หรือผู้ส่งของ ไปพร้อมกับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่พบเจอ ความยืนหยัดทำให้พวกเขาเป็นอิสระทางการเงิน ซึ่งแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนอย่าง Grab ไม่เคยกีดกันใคร ในทางตรงกันข้าม เราเปิดประตูแห่งโอกาสให้กว้างยิ่งขึ้น”

เพื่อรองรับความต้องการของผู้พิการ Grab เปิดตัว GrabGerek บริการการเดินทางสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ ในอีก 2 เมืองของอินโดนีเซีย โดย GrabGerek จะเปิดตัวในเมืองเมดานและเมืองเซอมารังในเดือนธันวาคมปีนี้

Grab ยังมีบริการการเดินทางสำหรับผู้ที่มีความต้องการการเข้าถึงที่แตกต่างกันไปในสิงคโปร์และไทย คือ GrabAssist พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่จะได้รับการอบรมพิเศษรวมถึงการดูแลรถเข็น ไม้เท้าช่วยเดิน เก้าอี้รถเข็นไฟฟ้าและอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนไหวอื่นๆ การช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายระหว่างรถเข็นและพาหนะ ภาษามือขั้นต้นเพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยินเกี่ยวกับเส้นทางและจุดหมายปลายทาง และสิ่งที่ควรระวังอื่นๆ เช่น สิ่งที่ควรพูดและไม่ควรพูด

 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Betagro Ventures ทุ่ม 30 ล้านเหรียญ! ลงทุน Plantible สตาร์ทอัพโปรตีนจากพืช รุกตลาดอาหารแห่งอนาคต

“BETAGRO Ventures” หน่วยงานด้านการลงทุนและพัฒนานวัตกรรม ภายใต้ “บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)” หรือ “BTG” ประกาศความสำเร็จในการร่วมลงทุน “Plantible” รอบ Series B มูลค่า 30 ล้านเหรีย...

Responsive image

ยกเลิกแบน iPhone 16 ไม่ง่าย อินโดฯ ยังไม่พอใจข้อเสนอลงทุน Apple ชี้ยังไม่เป็นธรรมสำหรับประเทศ

เรื่องราวระหว่าง Apple และอินโดนีเซียดูเหมือนจะยังไม่จบลงง่ายๆ หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแบน iPhone 16 ห้ามวางจำหน่ายในประเทศ ใครใช้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย...

Responsive image

คุณยาย Daisy แชทบอต AI สัญชาติอังกฤษ มือปราบ กำราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่อาจนำไปสู่ด้านมืด ในที่สุด AI ก็ได้ปรากฏตัวในรูปแบบที่ใครๆ ก็ต้องรัก กับ “คุณยาย AI” ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับมือกับแก๊งคอ...