ในยุคสมัยที่โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำที่แข็งแกร่ง ที่มีความพร้อมในทุกสถานการณ์ ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าโลกได้ถูกขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถ และเปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อการเสริมสร้างผู้นำให้มีความสมบูรณ์แบบที่ไม่ได้เป็นเพียงคนเก่ง แต่ต้องเป็นคนดี และมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยนั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการบ่มเพาะเพื่อชี้แนะแนวทาง จากผู้ที่มีประสบการณ์ ประสบความสำเร็จ และเป็นที่ประจักษ์กับสังคม ที่จะสามารถโน้มน้าวเพื่อก่อให้เกิดความเชื่อของการเป็นคนดี ที่จะตอบแทนสู่สังคม เหล่านี้จะสร้างให้เกิดสังคมที่ดี ที่จะสะท้อนสู่ประเทศชาติ และทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้
มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย หรือ IMET เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 บนความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา โดยมีเงินทุนเริ่มแรกจากองค์การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development) หรือ USAID โดยมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานที่จะมุ่งหวังในการยกระดับศักยภาพ ความสามารถในการบริหารจัดการ และการบริหารความเปลี่ยนแปลงของผู้นำทุกระดับทั้งในระดับสูง กลาง และล่าง ในส่วนกลางและท้องถิ่น ควบคู่กับการส่งเสริมให้ผู้นำเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและ รับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงจะสามารถขับเคลื่อนให้ส่วนรวมให้ก้าวผ่านยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยที่ผ่านมาทางมูลนิธิได้ดำเนินโครงการที่สามารถเข้าถึงผู้บริหารในทุกระดับไปแล้วนับเป็นจำนวนกว่า 18,000 คนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ
คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิ IMET กล่าวว่า การพัฒนาประเทศให้สำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างผู้นำที่ทั้งดีและเก่ง ดังนั้นทางมูลนิธิ IMET จึงมีนโยบายในการมุ่งสร้าง และพัฒนาผู้นำระดับสูงรุ่นใหม่ ซึ่งมีข้อได้เปรียบในการใช้เทคโนโลยีที่มาเป็นส่วนช่วยในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ และผู้นำยุคใหม่ที่ดีนั้น จะต้องประกอบไปด้วยความดี 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การพูดดี การคิดดี การทำดี และการมีภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คือ การมีกรอบความคิดที่เปิดกว้าง พร้อมเรียนรู้และพัฒนาตลอดเวลา
ดังนั้นเพื่อการพัฒนาให้ผู้นำรุ่นใหม่มีความพร้อมทั้งในด้านความสามารถและจิตสำนึกเพื่อเป็นรากฐาน ที่เข้มแข็งของสังคม มูลนิธิ IMET จึงได้ริเริ่มโครงการ IMET MAX ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาผู้นำระดับสูงที่เป็นคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเป็นเมนที (Mentee) เข้ามาร่วมโครงการโดยผ่านกระบวนการเมนเทอริ่ง (Mentoring Process) ด้วยการให้ข้อคิดและชี้แนะแนวทางทั้งในด้านการทำงาน และการใช้ชีวิตอย่างรอบด้าน ตลอดจนการเสริมสร้างจิตสำนึกในการสร้างคุณค่าเพื่อสังคม
โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี จากผู้บริหารชั้นแนวหน้าของประเทศที่ได้รับการยอมรับนับถือของสังคมอย่างสูงจำนวน 12 ท่าน อาทิ คุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) คุณสมประสงค์ บุญยะชัย รองประธานกรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ศ.(พิเศษ) กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ที่มาทำหน้าที่เป็นเมนเทอร์ (Mentor) ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัคร เพื่อพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
คุณธนพล ศิริธนชัย ประธานโครงการ IMET MAX (Mentorship Academy for Excellent Leaders) กล่าวว่า IMET MAX เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักบริหารชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีตั้งใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและประเทศชาติ ได้มีโอกาสเข้ารับการพัฒนาด้วยกระบวนการเมนเทอริ่ง (Mentoring Process) ด้วยการปลูกฝังหรือกระตุ้นแนวคิดผ่านกระบวนการสะท้อนความคิด (Reflection) และการเรียนรู้จากประสบการณ์จากเมนเทอร์ ผู้นำองค์กรผู้มากประสบการณ์และเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงระดับประเทศได้
สำหรับกระบวนการเรียนรู้จริง ๆ มีได้หลายระดับ ตั้งแต่เริ่มต้นของการเรียนหนังสือ อ่านมากฟังมาก หรือ กระบวนการที่ต้องเริ่มพัฒนาแล้วก็ฝึกฝนในการปฏิบัติจริง แต่อีกส่วนหนึ่งเราเชื่อว่าผู้นำทุกคนมีความเก่งอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องมีกระบวนการในการหาคนที่จะสามารถมาสะท้อนความคิด หรือช่วยคิด แชร์ประสบการณ์ ด้วยการพูดคุยอย่างใกล้ชิด ช่วยให้เกิดการฉุกคิด เพื่อที่จะสามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดให้เกิดความต่อเนื่อง
ขณะที่รูปแบบของโครงการ IMET MAX เป็นรูปแบบที่เมนเทอร์จับคู่เมนทีในลักษณะใกล้ชิดในสัดส่วน 1:3 เพื่อให้ได้ใช้เวลาตลอดของโครงการกว่า 8 เดือน ในการพูดคุย และแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ในสิ่งที่เมนเทอร์ใช้จัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งเราเชื่อว่าประสบการณ์ของเมนเทอร์จะกระตุ้นให้เมนทีได้คิด และขณะเดียวกันรูปแบบของกระบวนการ Mentoring จะมุ่งเน้นในเรื่องสติปัญญาที่สมบูรณ์พร้อม Wisdom for Life and Social Values ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นการปลูกฝังแนวคิดในการทำเพื่อสังคมให้กับเมนทีได้ตระหนัก คิดถึง และเอื้อเฟื้อต่อสังคม เป็นการ Pay it forward เมื่อเขาเหล่านั้นได้รับก็จะส่งต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้กับสังคม
ในปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 ของการดำเนินโครงการ IMET MAX ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ร่วมโครงการ หรือ เมนที ไว้ 3 ประการสำคัญ คือ เป็นนักบริหารที่มีศักยภาพระดับสูงหรือมีความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ให้กับสังคมหรือประเทศชาติ เป็นผู้ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อย และเป็นผู้ที่มีความต้องการและเชื่อมั่น ในการพัฒนาตนเองผ่านกระบวนการเมนเทอริ่ง
โดยในปีนี้จะมีไฮไลท์ คือ เป็นการคัดสรรและและเชิญผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูงระดับชาติมาเป็นเมนเทอร์ และเปิดกว้างให้ผู้นำรุ่นใหม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำ “คุณค่าเพื่อสังคม” ไปสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือสังคม
สำหรับ 2 ปีที่ผ่านมาโครงการ IMET MAX ได้ปลูกฝังให้ผู้นำใหม่ๆ ที่เป็นทั้ง “คนดี” และ “คนเก่ง” เพื่อสร้างอุทยานผู้นำรุ่นใหม่ รับมือยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว และรับผิดชอบต่อสังคม โดยเมนทีที่ผ่านกระบวนการเมนเทอริ่งในโครงการมาแล้วนั้น ยกตัวอย่างเช่น คุณแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และผู้อำนวยการ ศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณศุภนีวรรณ จูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมในวงกว้างทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามการที่จะพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกได้นั้น ผู้นำถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งผ่านการสร้าง ‘อุทยานผู้นำ’ด้วยการชี้แนะ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ที่จะต้องมีการเพาะเมล็ดพันธ์ที่ดี ซึ่งต้องมีคนรดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยที่ดี สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้ต้นไม้แต่ละต้นเติบใหญ่ขึ้นมา มีความแข็งแรง มีแก่นที่ดี เปลือกที่แข็งแรง ไม่หักโค่นไป แม้ในภาวะที่มีวิกฤต
โครงการ IMET MAX เป็นจุดหนึ่งที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการบ่มเพาะผู้นำ เพื่อที่จะนำไปต่อยอด ส่งต่อสู่สังคมผ่านการบริหารธุรกิจ ภายใต้กรอบความคิดของการเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง รวมถึงจะเป็นแรงกระตุ้นของการส่งมองสิ่งดี ๆ สู่สังคม และประเทศชาติในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
สำหรับโครงการ IMET MAX รุ่น 3 ได้พร้อมรับสมัครเมนที (Mentee) ตั้งแต่ 26 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2563 นี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย www.imet.or.th หรืออีเมล์ [email protected] โดย 12 Mentor ที่เข้าร่วมโครงการ IMET MAX รุ่น 3 ได้แก่
1. ศ.(พิเศษ)กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด
2. คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
3. คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4. คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย
5. คุณณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ ที่ปรึกษาธุรกิจ บริษัท อีเลิร์นนิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด
6. คุณนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี และกลุ่มบริษัทจีเอเบิล
7. คุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
8. คุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธานกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
9. ดร.ประวิช รัตนเพียร อดีต รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. คุณพรรณี ชัยกุล อดีต ประธานกรรมการ บริษัท โอกิลวี่ ประเทศไทย
11. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
12. คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด