สถาบันการเงินโลก คาดการณ์ Recession 2023 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับตลาดโลก | Techsauce

สถาบันการเงินโลก คาดการณ์ Recession 2023 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับตลาดโลก

ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน วิกฤตค่าครองชีพจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อ ตลอดจนวิกฤตพลังงานจะยังคงดำเนินต่อไป นักวิเคราะห์และสถาบันทางการเงินโลก ประเมินในทิศทางเดียวกันถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่จะเข้าสู่สภาวะถดถอยในวงกว้าง เห็นพ้องต้องกันว่าตลาดต้องเผชิญช่วงเวลายากลำบากอีกหลังจากนี้ คาด Recession มาแน่ 

สถาบันการเงินโลก คาดการณ์ Recession 2023 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับตลาดโลก

  • กองทุนระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้เติบโตเพียง 3.2% และลดลงอยู่ที่ 2.7 % ในปีหน้าอ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001 สามประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และ EU จะยังคงชะงักงัน 
  • World Bank ระบุ ประเทศที่ยากจนและอ่อนแอจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ผู้คน 90 ล้านคนจะต้องประสบกับความยากจนอย่างสุดขั้ว เนื่องจากโควิด-19 และการปรับตัวของราคาสินค้าบริการ หนี้สาธารณะในประเทศกำลังพัฒนาขณะนี้อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 50 ปี เพราะการใช้งบประมาณจำนวนมากไปก่อนหน้านี้เพื่อแก้ปัญหาโรคระบาด 
  • Morgan Stanley ระบุ เศรษฐกิจอังกฤษและยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า คาดการณ์ FED จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงในปี 2023 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงแข็งแกร่งหลังจากพุ่งสูงสุดในไตรมาสที่สี่ของปีนี้สถาบันการเงินโลก คาดการณ์ Recession 2023 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับตลาดโลก
    Cr. Policymakers Need Steady Hand as Storm Clouds Gather Over Global Economy - IMF

คาดการณ์ตลาดโลก

การระบาดใหญ่และผลจากสงครามทำให้โลกสูญเสียผลผลิตทางเศรษฐกิจอย่างถาวร ก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อระดับหนี้ที่สูงและสูงขึ้น และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาซึ่งจะได้รับผลกระทบหนักหน่วง

และถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงขยายวงกว้าง สำหรับการคาดการณ์เงินเฟ้อโลก ในปี 2021 อยู่ที่ 4.7% คาดจะสูงขึ้นถึง 8.8% ในปี 2022 และจะลดลงมาอยู่ที่ 6.5% ในปี 2023 และในปี 2024 เงินเฟ้อโลกจะชะลอลงมาอยู่ที่ 4.1% 

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดย FED ที่หลายฝ่ายลุ้นให้ถอยคันเร่ง หากยังคงเพิ่มขึ้นอีกบวกกับค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า อาจจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อปัจจัยพื้นฐาน เช่น พลังงานและอาหาร ผู้บริโภคและภาคธุรกิจไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 

สถาบันการเงินโลก คาดการณ์ Recession 2023 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับตลาดโลก  Cr. Policymakers Need Steady Hand as Storm Clouds Gather Over Global Economy - IMF

ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน 

ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยังไม่สิ้นสุด ความเสียหายจากการระเบิดท่อขนส่ง Nord Stram1 จะยังส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนเชื้อเพลิงโดยเฉพาะในพื้นที่ยุโรปตลอดช่วงฤดูหนาวปีนี้และปีหน้า ขณะเดียวกันการชะลอตัวของจีนที่ต้องล็อคดาวน์การผลิตชั่วคราวอีกครั้งจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกสามในปีนี้ กระทบการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนและยานพาหนะไฟฟ้า บวกกับการมีข้อจำกัดด้านองค์ประกอบสำคัญในการผลิตที่หายากในช่วงนี้ เช่น ลิเธียม โคบอลต์ โครเมียม และอลูมิเนียม 

การฟื้นฟูภาคการผลิตจาก Supply Chain Disruption

ต่อเนื่องจากปัญหายูเครนของรัสเซีย สร้างผลเสียหายกว่าที่คาดต่อห่วงโซ่อุปทานโลกที่ส่งผลให้ภาคการผลิตและการขนส่งฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ตลอดจนวิกฤตขาดแคลนอาหารในบางประเทศ มีทีท่าว่าจะยืดเยื้อ 

ช่วงปีให้หลังหลายประเทศเริ่มผลักดันกับการเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนกำลังผลิตภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อการเติบโตในประเทศนั้นต้องใช้เวลา การลงทุน และความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะ แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่หลวง เอกชนและภาคการผลิตต้นทุนสูงยังไม่สามารถขยับขยายอะไรได้มากนอกจากลดต้นทุนและอัตรากำไรของบริษัทลง

การเปลี่ยนผ่านสู่ Commodities-Driven Economies

การเปลี่ยนทิศทางมาพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบที่ปลอดภัยและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจากในประเทศหรือด้วยความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างกรณี ปัญหาชิปขาดแคลนในช่วง 3-4 ปีมานี้ที่เริ่มได้รับการสนับสนุนมหาศาลจากรัฐบาลหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ มีการเพิ่มอัตราภาษีสูงและค่าแรงสูง การจัดหาวัตถุดิบได้รับการปรับปรุงใหม่ในบางประเทศ ส่งผลให้มีการลงทุนด้านการสำรวจเแร่หายากเพิ่มขึ้น รวมถึงซัพพลายออร์ที่ได้ประโยชน์จากการจัดหาและขนส่งมากขึ้น 

ส่วนนี้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้ผลิตที่ศักยภาพ และมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะจัดลำดับความสำคัญของตลาดโลก แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐฯ ที่ตอนนี้มาจากเอเชีย ในหลายกรณีต้องใช้เวลาและการลงทุนอย่างมากในจำนวนเงินเพื่อทดแทน แนวทาง Supply-Chain Localization ในด้านหนึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและไม่ได้เป็นแนวทางแก้ไขสถานการณ์เพียงหนึ่งเดียว

ความไม่ไว้วางใจในสถาบันทางเศรษฐกิจสังคม 

การปรับเปลี่ยนระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์ นโยบายการเงินที่ตึงตัว ความทุกข์ยางทางเศรษฐกิจ ทำให้ภาคประชาชนและธุรกิจสูญเสียความมั่นใจจากสถาบันทางเศรษฐกิจสังคม เพราะไม่สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาได้ ทิศทางดังกล่าวเกิดขึ้นต่อยังระบบคิดของผู้คนในสังคมและระดับมหภาค  ถือเป็นช่วงเวลาที่การรวมศูนย์นั้นเปลี่ยนไปสู่คลื่นของการกระจายอำนาจในระบบต่างๆ 

 PWC เสนอผลสำรวจที่พบว่าคนอเมริกันเริ่มสงสัยเกี่ยวกับระบบธนาคาร รัฐสภา ธุรกิจขนาดใหญ่ และระบบการดูแลสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะขัดแย้งกันเองก็ตาม การประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้นในเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี และแคนาดา แสดงให้เห็นชัดเจนว่านี่เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก 

นอกจากนี้ยังกระตุ้นความสนใจในวิธีอื่นในการเข้าถึงบริการ พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากการเร่งด้วยเทคโนโลยี เห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีสถาบันการเงินปัจจุบันผู้คนเริ่มพูดถึง DeFi หรือ Web3 ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับระบบแบบเดิมมากขึ้น 

ข้อเสนอแนะให้เหยียบเบรค

สำหรับผู้กำหนดนโยบายควรจัดการความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อและพิษเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงจากปีนี้ เสริมสร้างนโยบายที่รอบคอบเพื่อลดความเสี่ยงจากสภาวะการแข็งค่าของเงินทั่วโลก นโยบายการเงินควรคงไว้ซึ่งแนวทางในการฟื้นฟูเสถียรภาพราคา และนโยบายการคลังควรมุ่งบรรเทาแรงกดดันด้านค่าครองชีพ 

พิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและบรรเทาข้อจำกัดด้านอุปทาน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงได้โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพ รวมถึงการพิจารณาความร่วมมือระหว่างประเทศ การประสานงานของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในการจัดการวิกฤตร่วมกันภายในภูมิภาค  

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงข้อมูลจาก

Morgan Stanley Says U.S. May Skirt Recession In 2023, Europe Not So Lucky

World Bank Vice President Manuela V. Ferro’s Remarks at the APEC Finance Ministers' Meeting 2022

World banks see global economy slowing more in 2023, with likely U.S. recession

5 reasons 2023 will be a tough year for global markets


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ GenAI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

หากต้องการใช้ศักยภาพจาก AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรควรปรับระบบการทำงาน โครงสร้างกำลังคน และเตรียมบุคลากรให้พร้อม ด้วยแนวคิด "Net Better Off" สนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ ทำง...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...