พาชม IoT GARDEN สวนดอกไม้ดิจิทัลสุดล้ำ สะท้อนปัญหามลพิษในกรุงเทพ ณ AIS DC | Techsauce

พาชม IoT GARDEN สวนดอกไม้ดิจิทัลสุดล้ำ สะท้อนปัญหามลพิษในกรุงเทพ ณ AIS DC

เมื่อ IoT เริ่มจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หลายๆ คนมองว่า IoT มักจะอยู่ในรูปแบบของข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเรา แต่วันนี้ Techsauce จะพาไปชมเทคโนโลยี IoT ที่ต่างออกไปในชื่อ IoT GARDEN สวนดอกไม้ดิจิทัล เรียกได้ว่าผสานข้อมูลเข้าไปในการออกแบบอย่างแนบเนียน ทั้งให้ความสยงามและยังบอกถึงข้อมูลที่น่าสนใจอีกด้วย โดยนิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2019 นี้ ที่  AIS DC

จุดเริ่มต้นของการเกิด IoT Garden สวนดอกไม้ดิจิทัล

เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง AIS และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรการออกแบบสถาปัตยกรรม (นานาชาติ) หรือ INDA ที่ร่วมกันผลักดันโครงการกับมหาวิทยาลัย ในการชวนนักศึกษามาร่วมเสนอไอเดียพัฒนา IoT ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค Head of Novel Engine Executive Team – AIS กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและยกระดับ Digital Infrastructure ของประเทศแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ Platform ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในกลุ่มสำคัญ อาทิ มหาวิทยาลัย หรือ Startup เพื่อผนึกกำลังต่อยอด สร้างสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยมี AIS สนับสนุน Infrastructure ไม่ว่าจะเป็นโครงข่าย, เทคโนโลยี, ระบบหลังบ้าน, องค์ความรู้ รวมถึงบุคลากร อย่างเต็มที่”

“โดยความร่วมมือกับ INDA ในครั้งนี้ มาจากแรงบันดาลใจที่จะนำเทคโนโลยี IoT มาสร้างประโยชน์ให้สังคมอย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบที่สวยงามน่าสนใจ และง่ายต่อการเข้าถึง หรือ ใช้งาน ดังนั้นจึงผสมผสานจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าด้วยกัน

ซึ่งที่ผ่านมาทาง AIS เราพยายามผลักดันให้ IoT เข้าไปอยู่ในระบบต่างๆ มากขึ้น อย่างเช่น ระบบขนส่ง การเดินทาง อุปกรณ์การใช้งานอีกมากมาย แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง เราก็อยากที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ของการใช้งาน IoT เมื่อ น้องๆ นักศึกษามีไอเดียที่น่าสนใจ จึงเกิดการร่วมงานกันขึ้น เพราะเราเชื่อว่าไอเดียนี้จะสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ได้อีก

แนวคิดและการทำงานของ IoT Garden สวนดอกไม้ดิจิทัล

IoT Garden สวนดอกไม้ดิจิทัลเป็นการนำข้อมูล IoT (Internet of Things) ที่ได้จากการวัดค่าความชื้น ค่า PM 2.5 และค่าความถี่เสียงต่างๆ จาก 12 เขตในกรุงเทพฯ มาออกแบบและนำเสนอในรูปแบบของสวนดอกไม้ดิจิทัล ที่สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ ผ่านการเปลี่ยนสี การหุบบานของดอก และเสียงของธรรมชาติต่างๆ

โดย INDA นำ Sensor IoT ไปออกแบบในรูปแบบของดอกไม้ที่สามารถปรับเปลี่ยนสี ลักษณะการหุบบาน ตามสภาพอากาศของพื้นที่นั้นๆ นี่จึงเป็นผลงานที่เราเชื่อว่าจะจุดประกายให้คนไทยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจและเห็นภาพประโยชน์ของ IoT ที่จะช่วยเตือนให้ตระหนักถึงผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน”

โดยทางกลุ่มนิสิตผู้สร้างสรรค์ผลงานของ INDA จำนวน 12 คน ได้นำเสนอแนวคิดการออกแบบให้เป็นสวนดอกไม้ดิจิทัล หรือ IoT Garden และจัดทำให้เป็นนิทรรศการแบบ interactive ที่ผู้เข้าชมสามารถปฏิสัมพันธ์กับดอกไม้ ซึ่งดอกไม้แต่ละดอกสามารถเปลี่ยนสี เปลี่ยนลักษณะการหุบบาน และเลียนเสียงธรรมชาติ ตามค่าความชื้น ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 และค่าความถี่เสียง โดยดอกไม้ทั้งหมดเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย AIS IoT

การทำงานของดอกไม้ในการแสดงค่าสี จะขึ้นโชว์ตามแถบสีที่ต่างออกไป ตัวอย่างเช่น กรณีของพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูง ก็จะมีสีของดอกไม้เป็นสีแดงและไล่ไปจนถึงสีอ่อนอย่างเขียวและฟ้าซึ่งหมายถึงมีสภาพแวดล้อมที่ดี และผู้เข้าชมยังสามารถร่วมกันดูแลพื้นที่ของตัวเองได้ เช่น หากกดในพื้นที่เขตปทุมวันแล้วพบค่า PM 2.5 มีความเข้มข้น สามารถใช้การพัดไปที่ดอกไม้เพื่อให้ดอกไม้เปลี่ยนสีให้จางลงได้

แผนในอนาคตและการต่อยอดของ AIS Hackathon

งาน IoT Garden ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของ AIS ในการสร้างแพลตฟอร์ม AIS Hackathon เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคการศึกษา เพื่อตอบรับกับพันธกิจ “ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย” ในรูปแบบของการนำเอาเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่ตอบรับ กับปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยใช้ทั้งมุม Tech และ Design ในการทำรูปแบบงานให้น่าสนใจ

โดยคาดว่าในอนาคตจะมีการขยายฐานกลุ่มนักศึกษาให้มากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละมหาวิยาลัย ซึ่งปัจจุบัน AIS ได้มี MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยอยู่กว่า 20 แห่ง และยังพร้อมจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันต่อไปเรื่อยๆ ตามแผนกลยุทธ์ AIS OPEN INNOVATION FRAMEWORK ที่เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานร่วมกับบุคคลภายนอกองค์กรเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรมและต่อยอดเทคโนโลยี IoT อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KKP คาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 หดตัว บ้านใหม่เสี่ยงค้างสต๊อกสูงสุดใน 8 ปี หวังมาตรการใหม่ช่วยกระตุ้น

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผย ตลาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 ยังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดชะลอตัวได้แก่ หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90%...

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...