"ส่อง KBank ต่อจิ๊กซอว์สำคัญ สร้าง ‘วัฒนธรรมนวัตกรรม’ ในใจพนักงาน" | Techsauce

"ส่อง KBank ต่อจิ๊กซอว์สำคัญ สร้าง ‘วัฒนธรรมนวัตกรรม’ ในใจพนักงาน"

เมื่อนิยามของคำว่า นวัตกรรม ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ หรือเป็นเพียงโอกาสในการเติบโตขององค์กร แต่ขยับเข้าใกล้ความหมายที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดมากขึ้นทุกที การสร้างนวัตกรรมจึงเป็นความจำเป็นที่ทุกองค์กรต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า คือ สร้างวัฒนธรรมที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ กระตุ้นให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ เปิดรับทุกความเป็นไปได้ โดยเฉพาะกับองค์กรใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน

เพราะพนักงานคือหัวใจสำคัญที่สุดขององค์กร โจทย์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องตีให้แตกในวันที่นาฬิกาแห่งคลื่น Disruption นับถอยหลังเร็วขึ้นทุกที ทำอย่างไรพนักงานถึงจะเข้าใจความสำคัญของการต้องเปลี่ยนแปลงนี้ ทำอย่างไรพนักงานจึงจะมี Mindset ที่ถูกต้อง และทำอย่างไรพนักงานถึงจะเปลี่ยนวิถีการทำงานรูปแบบเดิมเพื่อทำในสิ่งใหม่

ชวนทุกท่านมาถอดบทเรียนจากเวทีการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมของธนาคารกสิกรไทย จากโปรแกรม PossAbility Acceleration หนึ่งก้าวเดินทางกลยุทธ์สำคัญที่ทางกสิกรไทยใช้เป็นภาพสะท้อนวิสัยทัศน์ และวิธีคิดเรื่องการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม โครงการเริ่มต้นจากการเปิดรับไอเดียนวัตกรรมจากพนักงาน ทุกคน ทั่วประเทศ’ จากนั้นก็คัดเลือกทีมมาเข้าโปรแกรม Accelerator เพื่อเข้ากระบวนการบ่มเพาะ ทำการตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด (Validate Idea) สร้างต้นแบบ (Prototype) และนำเสนอ (Pitching) ก่อนนำไปพัฒนาเป็นบริการสู่ตลาดในอนาคต

Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมพนักงานเจ้าของไอเดียนวัตกรรมยอดเยี่ยมที่ชนะรางวัล Best PossAbility Idea  ทั้ง 3 ทีม ได้แก่ ทีม Make a Wish ทีม Spotlight และทีม K-Guarantee และทีมนักพัฒนาโปรแกรมจาก KBTG ที่สร้างต้นแบบยอดเยี่ยม ผู้ชนะรางวัล Best Prototype  ทั้ง 3 ทีม ได้แก่ ทีม OK Kojo District ทีม Spotlight และทีม Insurance Share Buy มาฟังกันว่าในมุมของพนักงานเองที่ได้สัมผัสประสบการณ์จากโปรแกรมดังกล่าว พวกเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง และมีอะไรที่ ‘เปลี่ยน’ ทั้งวิธีคิดวิธีการทำงานของพวกเขา

และนี่คือบทเรียนที่เราถอดออกมาได้จากพนักงานที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้ เริ่มต้นจากทีมที่ชนะรางวัลเจ้าของไอเดียนวัตกรรมยอดเยี่ยม

ทุกสิ่งเริ่มต้นจากลูกค้า และความสำคัญของการ Validate Idea

 “เราอาจจะมีโซลูชั่นอยู่ในใจ แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโปรแกรมนี้คือการเริ่มต้นจาก Pain Point ของลูกค้า ตั้งแต่ว่าลูกค้ามี Pain Point อย่างที่เราคิดหรือไม่” ทีม Make a Wish เจ้าของไอเดียพัฒนาแอปฯ ที่ช่วยให้เด็กๆ สามารถเก็บออมเงินได้ดีขึ้น สร้างวินัยทางการเงินให้กับเด็ก ๆ โดยแอปฯ ทำหน้าที่เป็นเหมือนแพลตฟอร์มเชื่อมความร่วมมือระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งไอเดียเริ่มต้นมาจากการที่คนในทีมต่างมี Pain Point  เรื่องวินัยทางการเงิน และคิดว่าทุกคนก็น่าจะมีปัญหานี้เหมือนกัน จากการเข้าร่วมโปรแกรมนี้ ทางทีมจึงได้เรียนรู้กระบวนการ Validate Idea (การตรวจสอบไอเดีย) “ถ้าเราเข้าใจตรงนี้อย่างละเอียด จึงจะนำไปสู่การพัฒนาไอเดียที่ตรงความต้องการ”

Best PossAbility Idea : ทีมMake a Wish 

“ได้มีโอกาสลองเอาไอเดียของตัวเองมาต่อยอด เพื่อจะได้รู้ว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นจริงมากน้อยแค่ไหน และตลอดกระบวนการพัฒนาก็ทำให้ได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านอย่างละเอียด เป็นการเปิดโลกให้เห็นว่าไอเดียที่คิดมีความแข็งแรงแค่ไหน แล้วช่วยกันปรับแต่งไอเดียให้มีความแข็งแรงมากขึ้น” ทีม Spotlight เจ้าของไอเดียแพลตฟอร์มกลางที่พัฒนาไอเดียมาจากการมุ่งเน้นการสร้างความโปร่งใสในการรับบริจาคได้ ย้ำถึงความสำคัญของการทดสอบและพัฒนาไอเดียจากมุมมองหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่มีความเกี่ยวข้อง

ขณะที่อีกทีมที่ชนะรางวัล Best PossAbility Idea อย่าง K-Guarantee ที่พัฒนาไอเดียโซลูชั่นที่มุ่งเป็นตัวกลางช่วยแก้ปัญหาของผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ พูดเสริมจากมุมมองในการทดสอบไอเดียกับลูกค้า นั่นคือการเอาไอเดียมากลั่นกรองด้วยปัจจัยด้านธุรกิจขององค์กรเพื่อหาความเป็นไปได้ที่แท้จริง “ในทุกสเตจที่ผ่านไปของโปรแกรม จะทำให้ไอเดียของเราได้รับการกลั่นกรองมากขึ้น ไอเดียเราโดนกลั่นกรองด้วยลูกค้าที่เราเข้าไปพบปะสัมภาษณ์ ว่าเขามีปัญหานั้นจริงไหม กลั่นกรองจากมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คน  และกลั่นกรองด้วยปัจจัยทางธุรกิจของบริษัท ว่าไอเดียที่เราจะทำมีความสมเหตุสมผลในเชิงธุรกิจไหม”

Best PossAbility Idea : ทีม K-Guarantee

สร้างคอนเนคชั่นภายในบริษัท เห็นภาพรวมบริษัท รู้ว่าแต่ละฝ่ายทำอะไรบ้าง เพื่อเห็นเส้นทางจากการพัฒนาไอเดียไปสู่มือลูกค้า

มองเห็นว่างานที่ผ่านจากเราไปจะถูกต่อยอดจนไปสู่มือลูกค้าอย่างไร พอเห็นภาพรวมกระบวนการและรู้จักทีมที่เกี่ยวข้อง ก็รู้ว่าหากมีคำถามมีปัญหา ต้องไปถามใคร

“เราได้ไปพบปะกับทีมอื่น ๆ ในบริษัท หลาย ๆ ทีมคือทีมที่เราไม่รู้ว่าก่อนด้วยซ้ำว่ามีอยู่ในบริษัท เหมือนเราเป็นดีไซน์เนอร์ก็ทำงานแค่กับตัวเอง ครั้งนี้เลยได้มองเห็นว่างานที่ผ่านจากเราไปจะถูกต่อยอดจนไปสู่มือลูกค้าอย่างไร พอเห็นภาพรวมกระบวนการและรู้จักทีมที่เกี่ยวข้อง ก็รู้ว่าหากมีคำถามมีปัญหา ต้องไปถามใคร” ตัวแทนจากทีม Spotlight ซึ่งทำงานในตำแหน่งดีไซเนอร์ เล่าให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างคอนเนคชั่นภายในบริษัท เพราะกระบวนการสร้างนวัตกรรมนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย

โดยทีม Make a Wish ช่วยเสริมในประเด็นนี้ว่าการที่เราเข้าใจภาพรวมของบริษัท รู้ว่าแต่ละฝ่ายทำอะไร ก็จะทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นทางการพัฒนาไอเดียในองค์กรได้ “ความท้าทายคือการที่พนักงานไม่เข้าใจภาพรวมขององค์กร ไม่รู้ว่าแต่ละฝ่ายทำงานอย่างไร ซึ่งโปรแกรมนี้ทำให้เราได้เห็น ทีนี้พอเรามีไอเดียใหม่ขึ้นมา เราก็จะมีความกล้าที่จะเสนอ และมองเห็นเส้นทางที่จะพัฒนาไอเดียนี้ให้เกิดขึ้นจริงในองค์กรได้”

Best PossAbility Idea : ทีม Spotlight

พนักงานคือคนที่เจอลูกค้าทุกวัน คือคนที่รู้ความต้องการของลูกค้า รู้ปัญหาของระบบ

เชื่อว่าพนักงานสองหมื่นกว่าคนคิด กับผู้บริหารไม่กี่สิบคนคิด ยังไงสองหมื่นกว่าคนช่วยกันคิดก็มีโอกาสที่จะได้ไอเดียที่ดีกว่ามากยิ่งขึ้น 

สิ่งที่ทีม Make a Wish เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมนวัตกรรม “พนักงานที่เจอลูกค้าอยู่ทุกๆ วัน จะรู้มากกว่าว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้ว Process เดิมที่ทำอยู่คืออะไร ที่ทำอยู่ทุกวันไม่ดีอย่างไร แล้วถ้าองค์กรสร้างนวัตกรรมได้จากจุดนั้นได้ เราน่าจะได้โซลูชั่นที่แข็งแรง”

วัฒนธรรมการทำงานที่สั่งสมฝังรากมานานอย่างการทำงานแบบ Top-Down อาจเป็นอุปสรรคสำคัญของการสร้างนวัตกรรม ในมุมมองของทีม K-Guarantee เชื่อว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สะท้อนว่าองค์กรเปิดรับความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่จากพนักงาน   “จริงๆ แล้วทุกคนมีไอเดียกันทั้งหมด แต่ก่อนอาจจะเป็นรูปแบบ Top-Down แต่รูปแบบจากโปรแกรมนี้จะทำให้ทุกภาคส่วนสามารถที่จะเสนอไอเดียขึ้นมา เชื่อว่าพนักงานสองหมื่นกว่าคนคิด กับผู้บริหารไม่กี่สิบคนคิด ยังไงสองหมื่นกว่าคนช่วยกันคิดก็มีโอกาสที่จะได้ไอเดียที่ดีกว่ามากยิ่งขึ้น”

สิ่งที่ทำให้โปรแกรม PossAbility Acceleration แตกต่างจากเวทีประกวดนวัตกรรมส่วนใหญ่ นั่นคือ การแบ่งรางวัลระหว่างทีมเจ้าของไอเดีย กับทีมนักพัฒนาต้นแบบหรือ Prototype ซึ่งผู้เข้าร่วมแข่งกันก็คือเหล่าบรรดา Developer ที่มักจะไม่ใช่กลุ่มคนที่ขึ้นไปพูดนำเสนอบนเวทีบ่อยนัก เวทีที่แยกรางวัลเชิงเทคนิคออกมาแบบนี้จึงทำให้เรามีโอกาสได้พูดคุยและถอดบทเรียนการเรียนรู้ในฝั่งของนักพัฒนาที่น่าสนใจและหาโอกาสฟังได้ไม่ง่ายนัก และต่อไปนี้คือมุมมองของสามทีมนักพัฒนาจาก KBTG ที่ชนะในรางวัล Best Prototype

ในวัฒนธรรมนวัตกรรม Developer ควรได้มีโอกาสทำงานในรูปแบบใหม่ และโอกาสลองผิดลองถูก

ทีม Insurance Share Buy ซึ่งพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มขายประกันออนไลน์เล่าให้ฟังว่าในการทำงานปกติ นักพัฒนามักได้รับโจทย์งานที่มีรายละเอียดค่อนข้างชัดเจน ตั้งแต่โจทย์ใหญ่ไล่ลงมาถึงรายละเอียดเชิงเทคนิค ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาสในการทดลองการทำงานในรูปแบบอื่นๆ และไม่สามารถลองผิดลองถูกกับแนวคิดใหม่ได้ ในขณะที่ธรรมชาติของการสร้างนวัตกรรมคือการเอาไอเดียมาลองพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ หรือการลองผิดลองถูกและเรียนรู้เพื่อพัฒนาจนอาจเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ได้ในที่สุด “แต่การทำ Prototype เรามีแค่โจทย์หลัก นอกนั้นจะเล่นอะไรก็ได้ ส่วนตัวสนุกกับการทำแบบนี้”

Best Prototype : ทีม Insurance Share Buy  

ตัวแทนจากทีม OK Kojo District ซึ่งพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มรวมผู้ประกอบการชั้นดีเข้าไว้ด้วยกัน ก็เล่าประสบการณ์การทำงานที่ต่างออกไปจากโปรแกรมนี้ให้ฟังว่า “งานพัฒนาที่ทำอยู่ปกติกับการสร้างต้นแบบต่างกันเยอะมาก ตรงนี้เปิดโอกาสให้ทำผิดพลาดได้ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้ ลองถูกลองผิดกับเทคนิคใหม่ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องกระบวนการ” 

เช่นเดียวกันกับทีมพัฒนาที่นำไอเดียของทีม Spotlight มาพัฒนาเป็นต้นแบบที่กล่าวเสริมในประเด็นนี้ “งานปกติจะถูกเซ็ตความคาดหวัง และโซลูชั่นไว้ พอเป็นโครงการนี้สามารถใส่ไอเดียส่วนตัวเข้าไประหว่างพัฒนาได้ ทำให้เกิดโซลูชั่นใหม่” 

‘การสื่อสาร’ หัวใจสำคัญของการสร้างนวัตกรรมร่วมกันในองค์กร

 Mindset ที่เปิดกว้างจะเป็นพื้นฐานทางการสื่อสารที่ดี

เรามีคำถามต่อทีมนักพัฒนาว่าการทำงานในโปรแกรมนี้ที่ต้องทำร่วมกับทีมเจ้าของไอเดีย ด้วยความที่ทีมเหล่านั้นมาจากตัวแทนของหลายฝ่ายงาน อาจไม่มีพื้นความเข้าใจการทำงานร่วมกับทีมนักพัฒนามาก่อน ตรงนี้มีช่องว่างอย่างไรบ้าง ซึ่งคำตอบที่เราได้ก็คือหัวใจสำคัญในการสื่อสาร

“อย่างแรกคือต้องมีการออกแบบช่องทางการสื่อสารให้พูดคุยกันได้อย่างดีที่สุด บ่อยที่สุด แล้วเราควรมีความเคารพซึ่งกันและกัน บางปัญหาฝ่ายธุรกิจควรเป็นคนตัดสิน เราก็ควรจะให้น้ำหนักทางนั้น หรือบางอย่างที่เป็นการตัดสินใจเชิงเทคนิค อาจจะต้องให้น้ำหนักทางฝั่ง Developer มากกว่า อาจจะต้องสร้างวัฒนธรรมตรงนี้ให้ชัดเจน” ตัวแทนจากทีม OK Kojo District กล่าวเปิดประเด็น เสริมด้วยทาง Insurance Share Buy ที่มองว่าช่องทางการสื่อสารสำคัญ แต่การที่มีใจเปิดกว้างของคนทำงานร่วมกันก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน “Mindset ที่เปิดกว้างจะเป็นพื้นฐานทางการสื่อสารที่ดี”

ในวัฒนธรรมนวัตกรรม นักพัฒนาควรพัฒนาทักษะอะไร

ทีมพัฒนาต้นแบบ Spotlight แนะนำว่านักพัฒนาส่วนใหญ่อาจต้องเพิ่มทักษะด้าน Soft Skill โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสาร ขณะที่อีกสองทีมเชื่อว่านักพัฒนาควรหาโอกาสศึกษาเครื่องมือใหม่ๆ และทดลองวิธีการทำงานใหม่ๆ

Best Prototype : ทีม OK Kojo District

Developer ที่มีเครื่องมือเดียวก็เหมือนเรามีแต่ค้อน ถ้าเรามีแค่ค้อนเราจะมองการแก้ปัญหาทุกอย่างเป็นการต้องใช้ค้อนทุบหมดเลย

OK Kojo District ให้เหตุผลว่า “เวลาที่เราเรียนเครื่องมือใหม่ๆ ก็จะได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ เพราะภาษาของแต่ละเครื่องมือก็จะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน และสามารถเอาแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับภาษาอื่นๆ ได้”

 ปิดท้ายด้วย Insurance Share Buy ที่เปรียบเทียบให้เห็นภาพของการเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ได้อย่างชัดเจน “Developer ที่มีเครื่องมือเดียวก็เหมือนเรามีแต่ค้อน ถ้าเรามีแค่ค้อนเราจะมองการแก้ปัญหาทุกอย่างเป็นการต้องใช้ค้อนทุบหมดเลย ถ้าเรามีเครื่องมือหลายอย่าง เวลาเราทำงานเราก็จะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานนั้นได้มากกว่า”

Best Prototype : ทีม Spotlight

ไม่ว่าองค์กรจะมองหานวัตกรรมเพื่อต่อยอดสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิมให้แข็งแกร่งมากขึ้น หรือจะเป็นนวัตกรรมเพื่อค้นหาน่านน้ำใหม่ สำคัญที่สุดคือพนักงานทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม และสิ่งที่จะหล่อหลอมคนทั้งหมดในองค์กรให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางดังกล่าวคือ "วัฒนธรรมนวัตกรรม" ซึ่งโปรแกรม PossAbility Acceleration ของ KBank เป็นตัวอย่างบทเรียนการเรียนรู้ที่ดีในการให้พนักงานมีความเข้าใจในกระบวนการสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่ไม่มีพื้นความรู้มาก่อนไปจนถึงกลุ่มพนักงานที่คลุกคลีกับการสร้างโซลูชั่นใหม่ๆ ต่างก็ได้เข้ามาทดสอบไอเดีย ลองผิดลองถูกกับวิธีใหม่ๆ และถอดบทเรียนเพื่อต่อยอดสู่การทำงานในชีวิตประจำวัน รวมถึงความเป็นไปได้ในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริงได้ในองค์กร

ความท้าทายคือการที่จะทำให้พนักงานทุกคนในองค์กรซึมซับวัฒนธรรมดังกล่าว กล้าคิด กล้าทำอย่างแตกต่าง แม้ว่ากระบวนการของนวัตกรรมจะเต็มไปด้วยเส้นทางของการลองผิดมากกว่าลองถูก แต่องค์กรไหนที่สามารถขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมนวัตกรรมได้จริง จะเป็นองค์กรที่สามารถสร้างสิ่งที่ยังไม่มีในปัจจุบัน หรือยัง 'เป็นไปไม่ได้' ในวันนี้ ให้ 'เป็นไปได้' ได้ในที่สุด


บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...