Market Kurly แพลตฟอร์มจัดส่งของสด ก้าวขึ้นสู่ยูนิคอร์นรายที่ 13 ของเกาหลีใต้ | Techsauce

Market Kurly แพลตฟอร์มจัดส่งของสด ก้าวขึ้นสู่ยูนิคอร์นรายที่ 13 ของเกาหลีใต้

เกาหลีใต้ ถือเป็นศูนย์รวมธุรกิจ Startup ระดับแถวหน้าของโลก และมีการเติบโตก้าวกระโดดอย่างน่าจับตามองที่สุดในยุคนี้ก็ว่าได้ โดยเมื่อปี 2020 เกาหลีใต้สามารถสร้างยูนิคอร์นได้ถึง 12 ราย และล่าสุดได้เกิดรายที่ 13 ขึ้นแล้ว ได้แก่  Market Kurly แพลตฟอร์มส่งของสด 

Market Kurly

สื่อท้องถิ่นของเกาหลีใต้รายงานว่า เมื่อวันที่  1 มิถุนายน 2564 Market Kurly แพลตฟอร์มบริการจัดส่งผลิตผลสดจากฟาร์ม ได้รับเงินระดมทุนในรอบล่าสุด 2.2-2.3 แสนล้านวอน หรือประมาณ 199-208 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,169-6,448 ล้านบาท) จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ได้แก่   DST Global, Sequoia Capital และ Aspex Management ดันมูลค่าธุรกิจ (Valuation) ทะลุ 2 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (55,800 ล้านบาท)  ก้าวขึ้นสู่การเป็นยูนิคอร์นรายที่ 13 ของเกาหลีใต้ 

สำหรับการระดมทุนในรอบนี้ เป็นรอบ Pre-IPO  ซึ่งไม่มีนักลงทุนรายใหม่เข้ามาเลย มีเพียงนักลงทุนรายเดิมเท่านั้น ซึ่งหลายฝ่ายยังคงมีมุมมองว่า Market Kurly เป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มสีแดง จากแนวโน้มของอัตราการขาดทุนที่ยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี  ซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมานั้นมีผลขาดทุนรวมกว่า 2.7 แสนล้านวอน หรือประมาณ 243.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,557 ล้านบาท) ในขณะที่เพื่อนร่วมอุตสาหกรรมอย่าง Coupang ที่เพิ่งจะ  IPO ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กนั้น มีแนวโน้มของอัตราการขาดทุนปรับตัวเป็นบวกมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีนักวิเคราะห์บางรายให้ความเห็นว่า การที่ Market Kurly ระดมทุนในรอบนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเก็งกำไรเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้นสูงเกินไป ก่อนที่จะมีการเสนอขายหุ้น IPO 

Market Kurly เป็นแพลตฟอร์มจัดส่งของสด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2015 โดย Sophie Kim ซึ่งในระยะแรกเริ่มได้ให้บริการจัดส่งสินค้าภายในกรุงโซลเท่านั้น ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ในการจัดส่งมาถึงเมืองแทจอนและชุงชองด้วย โดยร่วมมือกับบริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้อย่าง  CJ Logistics 

สำหรับยูนิคอร์น 12 รายของเกาหลีใต้ก่อนหน้า Market Kurly ประกอบไปด้วย

1. Coupang เว็บไซต์ E-commerce ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเกาหลี

2. Bluehole หรือ Krafton Game Union ผู้พัฒนาเกม PUBG เกมรูปแบบ Battle Royal ที่กำลังได้รับความนิยม

3. Yello Mobile บริษัทด้าน mobile business platform เป็น Unicorn ตัวแรกของเกาหลีใต้ แม้ภายหลังประสบปัญหาในตัวบริษัทเป็นอย่างมาก

4. Woowa Brothers หรือ แบดัลมินจก เป็น marketplace สำหรับร้านอาหาร

5. WeMakePrice อีกหนึ่ง E-Commerce แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมสูงอันดับ 3 รองจาก Coupang และ 11th Street

6. Viva Republica หรือ Toss บริการชำระเงินแบบ peer-to-peer ที่คนกลุ่มมิลเลนเนียลเกือบครึ่งประเทศเป็นลูกค้าประจำ

7. MUSINSA แพลตฟอร์มแฟชันออนไลน์ ขวัญใจวัยรุ่นเกาหลี

8. L&P Cosmetic ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชสำอาง ผลิตและจัดจำหน่าย Mask หน้า และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

9. GP Club startup ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องสำอาง และ skincare แบรนด์ JM Solution ขายในตลาดทั่วโลก

10. Yanolja แพลตฟอร์มจองที่พักและโรงแรมตาม budget

11. Aprogen สตาร์ทอัพด้าน BioTech ที่สามารถพัฒนาการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองได้

12. Socar สตาร์ทอัพด้านระบบขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ 

อ้างอิง thekoreaeconomicdaily , pickool 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุป 5 ประเด็น ไทยจะได้อะไร จากการเยือนไทยของ Satya Nadella ในงาน Microsoft Build: AI Day

บทความนี้ Techsauce จะพาไปย้อนดู ‘ประโยชน์ด้านเทคโนโลยี' ที่ไทยได้รับ จากการมาเยือนของ Nadella นับตั้งแต่ปี 2016 และการกลับมาไทยครั้งที่ 2 ในรอบ 8 ปีที่งาน Microsoft Build: AI Day ...

Responsive image

Elon Musk เยือนจีน หวังกู้สถานการณ์บริษัท จ่อเปิดใช้ฟีเจอร์ FSD ในจีน พร้อมแผนที่จาก Baidu

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งอย่างกระทันหัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการเปิดตัวซอต์ฟแวร์ขับเคลื่อนรถอัตโนมัติแบบ Full Self-Driving (FSD) ในจีน รวมถึงการขออนุญาตในก...

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...