หากพูดถึงเกาหลีใต้ เราอาจนึกถึงประเทศที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิง แต่รู้หรือไม่ว่า เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่ผลักดัน Startup Ecosystem อย่างจริงจัง โดยปัจจุบันมี Startup ที่เป็น Unicorn ถึง 12 รายแล้ว ด้วยประชากรในประเทศเพียง 51 ล้านคนเท่านั้น
เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีจำนวนการใช้ Smartphone สูง และยังเป็นผู้พัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ตอันดับต้นของโลก มีเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT ครอบคลุมทั่วประเทศ และเริ่มใช้เครือข่าย 5G เป็นประเทศแรกๆ
จำนวนยูนิคอร์นของเกาหลีใต้ สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ด้วยจำนวน 12 ราย รองจากสหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และอินเดียเท่านั้น และที่สำคัญล้วนแล้วแต่ เป็น startup สัญชาติเกาหลีแท้ๆ ที่ได้รับการลงทุนส่วนใหญ่จาก VC ภายในประเทศ
Startup ที่โดดเด่นของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่อยู่ในวงการ Beauty & Fashion, Entertainment และ Food ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นเกาหลีมากๆ โดยเฉพาะ K-pop และแฟชั่นที่เป็นดาวเด่นของประเทศนี้
1. Coupang เว็บไซต์ E-commerce ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเกาหลี
2. Bluehole หรือ Krafton Game Union ผู้พัฒนาเกม PUBG เกมรูปแบบ Battle Royal ที่กำลังได้รับความนิยม
3. Yello Mobile บริษัทด้าน mobile business platform เป็น Unicorn ตัวแรกของเกาหลีใต้ แม้ภายหลังประสบปัญหาในตัวบริษัทเป็นอย่างมาก
4. Woowa Brothers หรือ แบดัลมินจก เป็น marketplace สำหรับร้านอาหาร
5. WeMakePrice อีกหนึ่ง E-Commerce แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมสูงอันดับ 3 รองจาก Coupang และ 11th Street
6. Viva Republica หรือ Toss บริการชำระเงินแบบ peer-to-peer ที่คนกลุ่มมิลเลนเนียลเกือบครึ่งประเทศเป็นลูกค้าประจำ
7. MUSINSA แพลตฟอร์มแฟชันออนไลน์ ขวัญใจวัยรุ่นเกาหลี
8. L&P Cosmetic ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชสำอาง ผลิตและจัดจำหน่าย Mask หน้า และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
9. GP Club startup ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องสำอาง และ skincare แบรนด์ JM Solution ขายในตลาดทั่วโลก
10. Yanolja แพลตฟอร์มจองที่พักและโรงแรมตาม budget
11. Aprogen สตาร์ทอัพด้าน BioTech ที่สามารถพัฒนาการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองได้
12. Socar สตาร์ทอัพด้านระบบขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ พึ่งเป็น Unicorn ไปหมาดๆ
นโยบายหลักของประเทศ คือ Growth on Innovation ที่ผู้นำอย่างประธานาธิบดีมุนแจอินได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาประเทศผ่านนวัตกรรม
โดยเกาหลีใต้มีกระทรวง SMEs และ Startup ที่จะสนับสนุนด้านเงินทุน ที่มีให้อย่างเหลือเฟือลงทุนใน startup ผ่าน VC และ CVC กว่า 200 ราย
นอกจากนี้ รัฐบาลเองก็มีบทบาทในการจัดโรงเรียนบ่มเพาะ startup ช่วยจับคู่กับนักลงทุน และเพิ่มโอกาสขยายไปสู่ต่างชาติด้วย Connection อันแข็งแกร่ง
ปัจจุบันเกาหลีใต้มีคนกลุ่มที่เป็น Talent กลับเข้ามาทำงานในประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคนที่เคยเติบโตจากต่างประเทศ เคยทำงานใน Startup ต่างประเทศ หรือผันตัวมาจากองค์กรใหญ่ๆ
รวมถึงมี Expertise ที่มาจากมหาวิทยาลัยและบริษัท Consulting ระดับโลก ด้วยค่านิยม และผลตอบแทนที่ทำให้คนเก่งๆ อยากกลับมาทำงานในประเทศ พร้อมโครงสร้าง Ecosystem ที่ผลักดันอย่างชัดเจน
คนเกาหลีนิยมใช้บริการ Startup ในประเทศ เรียกได้ว่าเป็นการทำกันเอง ใช้กันเอง สนับสนุนกันเอง ไม่ว่าจะเป็น Search Engine หรือ โปรแกรมแชท ที่ไม่สนับสนุนแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่ท้าทายเกินไปสำหรับ Startup เกาหลีในการเข้าถึงกลุ่มคนในประเทศ เพราะอย่างไรคนเกาหลีก็พร้อมสนับสนุนอยู่เสมอ
เกาหลีใต้เป็นประเทศตัวอย่างที่ผลักดันเรื่อง Soft Power ขับเคลื่อนประเทศอย่างจริงจัง ด้วยการปลูกฝังค่านิยมผ่านอุตสหกรรมบันเทิงของเกาหลี
อย่างเช่น เพลง รายการทีวี หรือ ซีรีส์ ที่มักจะมีการแทรกซึมความรู้ ความเข้าใจ การพัฒนาประเทศผ่านนวัตกรรม และยังมีการอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ๆผ่านคนดังเพื่อสร้างอิมแพคกับผู้คนเสมอ
ยกตัวอย่าง การปล่อยสัญญาน 5G ให้กับดาราผู้มีชื่อเสียงใช้ก่อน เพื่อเพิ่มแรงกระเพื่อมและความสนใจ
นอกจากนี้ ล่าสุดเพื่อปลดล็อคปัจจัยฉุดรั้ง Startup เกาหลี ที่คนรุ่นใหม่ยังมีค่านิยมทำงานในองค์ใหญ่ที่มีความมั่นคงมากกว่า รวมถึงไม่กล้าเสี่ยง กลัวความล้มเหลว และพึ่งพิงภาครัฐมากเกินไป ก็ยังได้สอนให้คนเข้าใจการทำธุรกิจ Startup ผ่านซีรีย์ Start-up ซึ่งยังได้สอดแทรกความรู้ให้คนดูเข้าใจนวัตกรรมง่ายๆ เช่น AI , Matchine Learning ที่คนกลุ่ม Mass ทั้งประเทศเข้าใจตรงกัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่
นอกจากความสำเร็จแล้ว ก็ใช่ว่าจะไม่มีอุปสรรค ด้วยการผลักดันภายในประเทศ ก้าวที่ยากของ Startup ในเกาหลี คือการ Scale สู่ตลาดภูมิภาค ซึ่งยังเป็นความท้าทายของเกาหลี ที่จะผลักดันต่อไป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด