กว่า 90 ปี ที่ 'MG' โลดแล่นอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ มาคราวนี้ในฐานะผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็
มร.จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงวิสัยทัศน์ในงาน “New Era New Growth for MG and thailand Automotive Industry" ว่า จากการที่วิกฤติโควิดส่งผลกระทบเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของประชาชน ส่งผลให้ทิศทางและแนวโน้มของอุ
ทั้งนี้โดยในปี 2021 ที่ผ่านมาได้มีการอัพเกรดพัฒนาระบบภายในในภาคการผลิต ระบบการทำการตลาดการขาย ระบบการให้บริการมากขึ้น รวมทั้งได้มีทำระบบอีคอมเมิรซ์ เพื่อรับจองรถให้กับลูกค้า เพราะมองว่ารถยนต์เป็นสินทรัพย์ที่เจ้าของถือครองค่อนข้างนาน จึงตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการถือครอง
ทั้งนี้ มร.จาง กล่าวต่อไปว่า ในหน้าที่ของผู้ผลิตรถยนต์ในไทย มีการผลักดันร่วมกับภาครัฐด้านข้อเสนอต่างๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเดินหน้า นอกจากนี้ได้มีการร่วมกับรัฐวิสาหกิจ และเอกชนสร้างอีโคซิสเต็มในการใช้ EV อาทิ การสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ การพัฒนากำลังคน หรือ Talent โดยร่วมกับ สวทช. และสถาบันการศึกษา ทำให้ MG กลายเป็นแบรนด์หลักในตลาดรถยนต์เมืองไทย ที่สำคัญยังเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคติดตามอย่างใกล้ชิด
ในขณะที่การรับผิดชอบต่อสังคมในช่วงที่ผ่านมาได้มีการการดำเนินการด้าน CRM การบริจาคเงิน และสิ่งของให้กับผู้ที่ประสบปัญหาสถานการณ์โควิด และด้านสิ่งแวดล้อม
สำหรับการดำเนินงานส่งออกตั้งแต่ 2020-2021 ได้มีการขยายสู่ตลาดอินโดนีเซียครั้งแรก และเวียดนาม และปีนี้มีโอกาสส่งออกไปมาเลเซีย และประเทศอื่นด้วย
สำหรับภาพรวมตลาดยานยนต์ทั่วโลกพบว่า ธุรกิจรถยนต์เริ่มปรับสู่การไฟฟ้า อัตโนมัติ และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้น จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก
ส่วนในอาเซียน มองว่า ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ เวียดนามมีการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้พลังงานแบบใหม่ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้มีการออกกฎชัดเจนว่าห้ามส่งออกวัตถุดิบแร่ที่ไว้ใช้ผลิตแบตเตอรี่ แต่จะมีการอนุมัติการสร้างโรงงานที่อินโดนีเซียแทนที่ รวมถึงมาเลเซียเช่นกัน
ส่วนทางด้านประเทศเวียดนามได้เปรียบในส่วนของค่าแรง จึงได้มีการเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในประเทศ ดังนั้นเมื่อมีการส่งออกไปที่เวียดนามก็จะเริ่มเห็นมาตรการกีดกันทางด้านภาษีมากขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อมองที่ประเทศจีน นอกจากนี้มีผู้ผลิตใหม่ๆจะทยอยเกิดขึ้นและเติบโตในตลาด ตอนนี้ในจีน มีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยมีการตั้งบริษัทและเริ่มผลิตสินค้า จนกลายเป็นแนวทางการรลงทุนที่ฮอตในจีน และเบื้องหลังการพัฒนาที่เกิดขึ้นคือการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง
ส่วนภาพรวมตลาดรถยนต์เมืองไทยมีการเปลี่ยนไปอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ อันดับแรกคือ ภายใต้สถานการณ์นิวนอร์มอล ผู้บริโภคเริ่มมีความเข้าใจการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เริ่มต้องการการเป็นส่วนตัว และเทคโนโลยีสำหรับสินค้าที่มีเทคโนโลยีไม่ได้แค่ทดลองใช้ แต่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต
2.รัฐบาลไทย พยายามลดบรรลุเป้าปล่อยคาร์บอน จึงได้มีการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลไทยเริ่มศึกษาทดลอง และวางแผนสำหรับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นแนวทางในการที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตาม นโยบาย 30/30
3.หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน หลายองค์กรเริ่มผลักดันการลงทุน EV ที่หลากหลายหมวดหมู่ ทั้งในภาพรวม อาทิ รถยนต์ แบตเตอรี่ สถานีชาร์จ และย่อยๆคือซัพพลายเออร์ที่ต้องซัพพลายทั้งสามส่วนหลักนี้ และเทคโนโลยีในการรีไซเคิลแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน
ขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์
โดยเราได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์
สำหรับ MG มีการวางแผนการทำงานปี 2022 ล่าสุดได้มีการยกระดับเทคโนโลยี ด้วยการเดินหน้าก่อตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ที่จังหวัดชลบุรี ด้วยจำนวนเงินลงทุน 2,500 ล้านบาท เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งปลั๊กอินไฮบริด และ MG พลังงานไฟฟ้า 100% ในอนาคต โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2566 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่บริษัทเริ่มผลิต EV ในไทยโดยที่จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศค่อนข้างมาก รวมทั้งโรงงานใหม่นี้ส่วนหนึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในการลงทุนของ BOI
ส่วนทางด้าน Tecnical รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นจะมีฟังก์ชั่น V2L ที่รถยนต์สามารถจ่ายไฟฟ้าไปยั
ขณะที่แผนดำเนินการต่อไปคือ จะผลักดันธุรกิจ Car Sharing ที่กำลังเป็นที่จับตา เนื่องจากรถยนต์ของ MG เป็นที่นิยมเริ่มมีบริษัทรถเช่า รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน มากขึ้น จากประสบการณ์ทั้งหมดที่มี MG จะช่วยสร้างอีโคซิสเต็มด้าน Sharing Economy ในไทยขึ้นมาได้
1.ใช้ทรัพยากรของบริษัทในจีน โดยผลักดันเทคโนโลยีเข้ามาในไทย เนื่องจาก MG มีพาร์ทเนอร์หลายรายในจีน จึงได้พยายามดึงเข้ามาร่วมทุน ร่วมมือกับบริษัทในไทย เพื่อทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยเติบโตเพิ่มขึ้น
รวมทั้งร่วมมือกับสถาบันศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อสร้าง Talent ในเมืองไทย ซึ่งจะเป็นบุคคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต และสามารถดันอุตสาสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโต รวมทั้งสร้างประสบการณ์ใช้งานลูกค้าใต้ความพึงพอใจในทุกระดับ โดยเตรียมที่จะลอนซ์ MG รุ่นใหม่ในเดือนมีนาคมนี้
2.ผลักดันอีโคซิสเต็มผ่านการรีไซเคิล ด้วยการก่อตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งตรงจุดนี้มองว่าการรีไซเคิลแบตเตอรี่เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีแผนเตรียมตัวทำรีไซเคิลแบตเตอรี่ แต่ขณะที่ปัจจุบันแบตเตอรี่ของ MG ยังไม่ถึงขั้นดึงกลับมารียูส แต่หลังจากโรงงานเสร็จจะมีการเปิดเผยรายละเอียดต่อไป โดยภาพรวมการลงทุนเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 2.5 พันล้านบาท
"ภาพรวมการลงทุนของ MG ต้องลงทุนด้านโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ และรถที่มีการผลิตทุกรุ่นที่จะเปิดตัวเข้ามาต้องมีการลงทุนด้วย ฉะนั้นเป็นธุรกิจที่ใช้เงินทุนมากพอสมควรและในโปรเจ็กต์ที่ลงทุนเป็นตัวเลขท่ีสูง คิดเป็นมูลค่าประมาณหน่วยพันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเป็นมูลค่าหมื่นล้านบาท"
ขณะที่การดำเนินการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้เองในประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ที่ซัพพลายได้ เพราะชิ้นส่วนหลายๆตัวรถยนต์ไฟฟ้ากับรถยนต์สันดาป ล้วนเหมือนกันเพียงแต่สิ่งที่ต่างคือมอเตอร์แบตเตอรี่ โดยคาดว่าประมาณปี 2023 จะเริ่มมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยที่มี local component ค่อนข้างมาก
ทั้งนี้เป้าหมายของ MG ในปี 2022 ด้วยความที่ปี 2021 ได้มีการตั้งเป้าการจำหน่ายอยู่ที่ 42,000 หมื่นคัน แต่ยอดรวมปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 31,005 คัน หรือมีอัตราการเติบโตที่ 9.5% ในปี 2022 นี้จึงได้ตั้งเป้าเป็นสองระบบ คือการดำเนินธุรกิจ และความท้าทายเราเองทั้งในประเทศ และส่งออก
สำหรับในประเทศปี 2565 MG เตรียมเปิดตัวรถยนต์ MG EV หลายรุ่น โดยตั้งเป้าขายมากกว่าปีที่ผ่านมา คาดแตะ 50,000 คัน ซึ่งในจำนวนนี้คือยอดขายรวมทุกรุ่น รวมท้ังให้ความสำคัญกับสัดส่วนทางการตลาดในส่วนของรถยนต์นั่ง และ SUV มากขึ้น โดยในปี 2021 ครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 90% จึงคาดว่าในปี 2022 จะกลายเป็น Top 5 ในตลาด
ทั้งนี้ ในปี 2022 คาดว่าตลาดรถยนต์ในประเทศจะเติบโตขึ้นโดยมียอดขายรวมอยู่ที่ 800,000 – 850,000 คัน โดยในส่วนของ MG จะเน้นพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมทั้งเครื่องยนต์สันดาปและรถยนต์พลังงานทางเลือกเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้รถของคนไทย มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในผลิตภัณฑ์และ การบริการควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
สุดท้ายนี้ปัจจัยความท้าทายในปี 2022 แตกต่างจากปีที่ผ่านมาอย่างไรนั้น มร.จาง ชี้ว่า ความท้าทายหลักมาจาก 2 ส่วนคือ สภาวะแวดล้อม คือผู้บริโภคจากที่เราวิจัยและศึกษาพบว่าลูกค้าต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และสามารถปรับแต่งได้มากขึ้น และอีกส่วนคือระบบการทำงานภายใน ที่จะต้องปรับปรุงตัวตามสถานการณ์โลกตลอดเวลา ดังนั้น MG มีแผนดำเนินการที่จะมาตอบโจทย์เรื่องนี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค และตอบโจทย์เทรนด์โลกอย่างทันท่วงที
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด