mPOS นวัตกรรมการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต สำหรับธุรกิจ Startup | Techsauce

mPOS นวัตกรรมการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต สำหรับธุรกิจ Startup

Digio

ทุกวันนี้คงปฎิเสธไม่ได้ว่า การใช้บัตรเครดิตในการใช้จ่ายเพื่อรูดซื้อสินค้าและบริการ ถือเป็นเรื่องใกล้ตัว เนื่องจากความสะดวกในการพกพา และ กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตรมีมากขึ้นเช่น การสะสมแลกแต้ม หรือ การใช้จ่ายแบบผ่อนชำระ เป็นต้น เพื่อตอบสนองผู้บริโภค เจ้าของธุรกิจ ร้านค้าจึงเริ่มหันมารับชำระผ่านบัตรมากขึ้น

การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. Card Present (CP) การชำระเงินโดยการแสดงบัตรที่มี EMV Chip Card ให้แก่ร้านค้ารับบัตร ซึ่งต้องมีบัตรจริงในการทำรายการขณะนั้น ทางธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตสามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลรหัสบัตร (Cryptogram) ที่คำนวณจากการทำรายการ ณ เวลานั้น ๆ ข้อดีของการรับชำระด้วยบัตรจริง คือ อัตราค่าธรรมเนียมในการรับบัตรเครดิต ต่ำกว่าการทำรายการแบบ CNP โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมการรับบัตรเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 - 3.0% แล้วแต่ประเภทบัตรและผู้ให้บริการรับบัตร

2. Card Not Present (CNP) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าการซื้อของแบบ E-commerce หรือ Online คือการกรอกข้อมูลบัตรเครดิตด้วยการพิมพ์ Key-in ใช้กล้องถ่ายรูป หรือ Bluetooth ซึ่งไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลบัตรตามมาตรฐาน EMV แต่มีความสะดวกคือสามารถใช้ซื้อของผ่านเว็บ มือถือหรือการทำ Telesales โดยใช้พนักงานขายผ่าน Callcenter ได้โดยไม่ต้องแสดงบัตรจริง มีอัตราค่าธรรมเนียมการรับบัตรเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 - 6% แล้วแต่ประเภทบัตรและผู้ให้บริการ E-Commerce Payment Gateway

mPOS หรือ mobile Point of Sale เป็นเทคโนโลยีการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านโทรศัพท์มือถือแบบ CP โดยการใช้ฮาร์ดแวร์พิเศษร่วมกับแอพพลิเคชั่น และ ระบบสัญญานมือถือ 3G, 4G หรือ wifi  เท่านี้ก็พร้อมให้ลูกค้ารูดบัตรได้ทุกที่

ขั้นตอนการใช้งาน

Digio2

การรับชำระเงินผ่านอุปกรณ์ mPOS นั้นง่ายมาก เพียงใส่จำนวนเงินค่าสินค้าที่จะรับชำระแล้วเสียบ บัตรเพื่อดำเนินการ ระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของบัตร เมื่อเรียบร้อยให้ผู้ถือบัตรลงลายเซ็นแล้วระบบจะทำการส่งสลิปสินค้าให้ลูกค้าทาง Email และ SMS

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังหรือทำการยกเลิกรายการที่รับชำระภายในวันได้ที่เมนูประวัติการขาย

สำหรับการทำสรุปยอดรายการส่งธนาคารเพื่อนำเงินที่รับชำระเข้าบัญชี ระบบจะคำนวนยอดเงินทั้งหมดไว้ให้เรียบร้อย เพียงแค่กดปุ่มสรุปยอดเพียงปุ่มเดียวรายการทุกรายการจะถูกกวาดทั้งหมด ไม่เหมือนกับเครื่องรูดบัตรปัจจุบัน (EDC) ที่จะต้องเข้ามากดทีละรายการ เมื่อทำการสรุปยอดสำเร็จระบบจะส่งรายงานผลการสรุปยอดให้ร้านค้าทาง Email

การประยุกต์ใช้ mPOS

รูปแแบบการใช้งาน อาทิเช่น ธุรกิจที่ต้องไปออกบูธ หรือ งานส่งของ (Delivery) ล่าสุดที่เป็นฮือฮาในโลกออนไลท์ ในงานแต่งชมพู่ น็อต เจ้าบ่าวคว้าบัตรเครดิต ยื่นให้เพื่อนเจ้าสาว เพื่อรูดบัตรผ่านมือถือ (mPOS) ค่าผ่านด่านประตูเงินประตูทอง

บริษัทรายใหญ่อย่าง Amway, เมืองไทยประกันชีวิต, AIA, ไทยเบฟฯ, นกแอร์ และอื่น ๆ ให้ความสนใจ เกิดไอเดียพัฒนาแอฟพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อจัดการซื้อขายผลิตภัณฑ์ของตัวเองและสามารถรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้โดยเชื่อมต่อระบบ mPOS ผ่าน API (Application Programming Interface) ทั้ง iOS และ Android

Digio5

ค่าธรรมเนียมและการสมัครใช้บริการ

อัตราค่าบริการ ซึ่งในอดีตเมื่อเจ้าของธุรกิจหรือร้านค้า ต้องการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต จะต้องขอบริการเครื่องรูดบัตร EDC ที่ธนาคารผู้ให้บริการ  ก็จะพบปัญหาว่ามีต้นทุนในการดำเนินการที่สูง เช่น ต้องมียอดใช้จ่ายขั้นต่ำต่อเดือนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท หรือหากยอดชำระเงินไม่ถึงจะต้องจ่ายค่าบริการเดือนละ 1,000 บาท ด้วย อุปกรณ์ mPOS ทางร้านค้ารับบัตรสามารถซื้ออุปกรณ์ที่ธนาคารผู้ให้บริการในราคา 2,500 บาท มีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 1.8-2.5% ต่อรายการและไม่ต้องมีค่าบริการรายเดือนใด ๆ

ผู้ให้บริการเทคโนโลยี mPOS ในประเทศไทยปัจจุบันมีใครบ้าง

1. Kasikorn Bank ภายใต้ชื่อบริการ K-PowerPay

2. Thanachart Bank ภายใต้ชื่อบริการ Pay N Go 

3. Krungsri Bank ภายใต้ชื่อบริการ Plug N Pay

4. Krung Thai Bank ภายใต้ชื่อบริการ TapKTC Merchant

5. Paysbuy ภายใต้ชื่อบริการ PayXpress

editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จากนพพร ด่านชัยนามที่ผ่านประสบการณ์กับธุรกิจ Startup มาถึง 3 บริษัท ปัจจุบันเป็น Managing Director และผู้ก่อตั้งบริษัท Digio (Thailand) Startup สาย FinTech ที่ตั้งใจปฏิวัติธุรกิจสายการเงินในภูมิภาคนี้ บทความนี้ผู้เขียนส่งมาให้ กองบรรณาธิการ techsauce อัพโหลดขึ้นให้ชาว techsauceโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้เขียนเขียน ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิการ techsauce เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน 

บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งมี techsauce เป็นผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...