SCB จับมือ NIA เปิดหลักสูตรติวเข้ม SMEs พร้อมช่วยหาพันธมิตรทางธุรกิจ | Techsauce

SCB จับมือ NIA เปิดหลักสูตรติวเข้ม SMEs พร้อมช่วยหาพันธมิตรทางธุรกิจ

ธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA เปิดหลักสูตร “NIA-SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)” เพื่อติวเข้ม เพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถขยายธุรกิจ พร้อมเป็นตัวเชื่อมทางด้านเครือข่ายธุรกิจด้วยโอกาสการเข้าถึง และนำเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการทำธุรกิจร่วมกับลูกค้าเอสเอ็มอีจากหลากหลายอุตสาหกรรม ผลักดันทั้ง SMEs และผู้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลให้เติบโตคู่กันแบบวิน-วิน

คุณพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารมีแนวนโยบายทางด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าพัฒนากระบวนการทำงานทั้งของธนาคาร และรวมไปถึงการมอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนากระบวนการทำงานของลูกค้าเอสเอ็มอีของเราด้วย ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ทำงานร่วมกับบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านต่างๆ ที่มีศักยภาพมากมาย ทำให้เข้าใจถึงบริบททางด้านขีดความสามารถและข้อจำกัดบางประการ โดยเฉพาะทางด้านการตลาดและขยายธุรกิจ ที่เห็นว่าธนาคารสามารถช่วยพัฒนาต่อได้ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA จัดหลักสูตรอบรม “NIA-SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)” โดยเน้นการเสริมความรู้เชิงผู้ประกอบการให้กับกลุ่มนี้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น ด้วยการเสริมแนวความคิดและประสบการณ์ทางด้านการตลาดและธุรกิจ เพื่อการนำเสนอและพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเตรียมโครงสร้างทางการเงินเพื่อดึงดูดนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนกับบริษัทด้วย ซึ่งนับเป็นระยะสำคัญที่จะส่งผลต่อการขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ เรายังต้องการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับการเสริมประสิทธิภาพการทำธุรกิจของเอสเอ็มอีในปัจจุบัน และด้วยจุดยืนของธนาคารที่ต้องการเป็นผู้มอบแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการเติบโตให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่ม ผู้ที่เข้าร่วมหลักสูตรนี้จะมีโอกาสเข้าร่วม Business Matching พบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของธนาคารฯ จากหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอและพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ทางด้านกระบวนการทำงานต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนให้กับเอสเอ็มอี ทั้งยังเป็นการขยายฐานลูกค้าของบริษัทอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายแบบวิน-วิน

ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า "ระบบนิเวศในไทยเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนในประเทศไทยเองและนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทยมากขึ้น สตาร์ทอัพในช่วง Early Stage สามารถหาแหล่งเงินทุนลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้ และหากเข้าสู่ช่วง Growth Stage แล้ว บริษัทมีทางเลือกที่จะจัดรูปแบบโครงสร้างบริษัทใหม่ โดยอาจจัดตั้งนิติบุคคลในต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาภายหลังได้ และในอนาคตมีแนวโน้มที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในบริษัทไทยมากขึ้น จากความพยายามทั้งจากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันผลักดันการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หุ้นส่วนบริษัทเพื่อยกระดับให้เป็นสากล”

NIA ได้จัดตั้งสถาบันวิทยาการนวัตกรรม หรือ NIA Academy ขึ้น โดยเป็นสถาบันเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการนวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ ให้ก้าวสู่ระดับสากล สนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งความร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ในครั้ง จะช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดของสตาร์ทอัพไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งโอกาสเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงขององค์กรธุรกิจ ความรู้และมุมมองแบบนักธุรกิจ และแหล่งเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการนวัตกรรมแบบเปิด โครงการนวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย และ NIA venture เป็นรูปแบบการสนับสนุนที่เหมาะสำหรับ Startup โดยจะเน้นการพิจารณาจากรูปแบบธุรกิจของโครงการ ซึ่งจะต้องมีลักษณะเติบโตอย่างก้าวกระโดด อีกทั้ง NIA ยังมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และส่งเสริมให้สตาร์ทอัพสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาและใช้ประโยชน์ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโต มี market innovation เพื่อให้ธุรกิจนวัตกรรมให้เติบโตไปตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย

หลักสูตร IBE เพื่อ SME

หลักสูตร “NIA-SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)” เป็นหลักสูตรการอบรมที่เน้นไปในทางการทำ Business Matching, Testing Ground และการช่วยหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อติดอาวุธและบ่มเพาะชั้นเชิงทางธุรกิจให้กับบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่อยู่ในระยะ Growth Stage พร้อมเดินหน้าแข่งขันและเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมจะผลักดันธุรกิจกลุ่มนี้ให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดผ่าน 4 องค์ประกอบในการทำธุรกิจ ได้แก่ องค์ความรู้ (Academy) ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน (Banking product and service) เครือข่ายธุรกิจ (Connection) และ ดิจิทัลโซลูชั่น (Digital solution) โดยใช้ระยะเวลาอบรม 26 สัปดาห์ จำนวนผู้เข้าอบรม 30 บริษัท

รายละเอียดที่สำคัญของหลักสูตร เช่น

  • ต้องเป็น Tech Company เท่านั้น และทำธุรกิจแบบ business to Business
  • มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
  • มีฐานลูกค้าตั้งแต่ 500 รายขึ้นไป และมีเป้าหมายทางธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจให้เดิบโตแบบก้าวกระโดด หรือมีแผนขยายธุรกิจออกไปนอกประเทศ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...